บันได ทำหน้าที่เชื่อมต่อทางเดิน ระหว่างแต่ละชั้นภายในบ้าน ด้วยความที่เป็นทางเชื่อม ที่ใช้เดินขึ้นลง ความปลอดภัยในการใช้งาน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องพิจารณา นอกเหนือจากความสวยงามด้วย

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ลูกตั้งบันได ลูกนอนบันได ว่าคืออะไร? ออกแบบบันได ให้เดินสบาย ทำได้อย่างไร ไปดูกัน

ลูกตั้งบันได ลูกนอนบันได คือ?

  • ลูกตั้งบันได คือ ส่วนฐานแนวตั้ง เป็นความสูงของบันได แต่ละขั้น จำนวนลูกตั้งทั้งหมด รวมกันเข้าเป็นความสูง ของบันไดแต่ละอัน ใช้กันตั้งแต่ 0.15-0.20 เมตร
  • ลูกนอนบันได คือ ส่วนระนาบแนวนอน ที่เท้าของเรา เหยียบสัมผัส ขณะเดินขึ้นลงบันได ส่วนที่เป็นพื้น ยกพื้นเป็นระดับต่อ ๆ กันขึ้นไป จากพื้นชั้นล่าง ถึงพื้นชั้นบน จำนวนของลูกนอน รวมกันเข้าเป็นความยาว ของบันไดแต่ละอัน ใช้กันตั้งแต่ 0.20-0.30 เมตร หรือมากกว่านั้น ความหนา 1.5-2 นิ้ว บันไดภายนอก มักใช้กว้างกว่าบันไดภายใน

เคยไหมบางบ้าน ขณะเดินขึ้นบันไดแล้วรู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า และขณะเดินลงบันไดรู้สึกหวั่น ๆ กลัวจะตกลงมา อาการเหล่านี้ ล้วนเกิดจากการออกแบบขนาดบันได ที่ไม่เหมาะสมต่อหลักการเคลื่อนไหวของมนุษย์ การออกแบบบันไดบ้านที่ดี จะต้องเดินขึ้นลงอย่างสะดวก มีความชันของลูกตั้งบันได และความกว้างลึกของลูกนอนบันไดอย่างพอเหมาะ ผู้ใช้งาน จะรู้สึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอนั่นเอง

ขนาดบันไดบ้าน ตามกฎหมายบังคับใช้ เป็นแบบไหน?

ขนาดบันไดบ้าน ตามกฎหมายกำหนด บันไดของอาคาร ที่อยู่อาศัย ถ้ามี ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันได ที่มีความกว้างสุทธิ ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่ง สูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งบันได สูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนบันได เมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้ว เหลือความกว้างไม่ น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันได มีความกว้าง และยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

220729-Content-เรื่องควรรู้!-ลูกตั้งบันไดลูกนอนบันได-เลือกขนาดเท่าไหร่-ถึงจะพอดี02

???? บันไดของอาคารอยู่อาศัย ถ้ามี ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันไดที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งบันได สูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนบันได เมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้ว เหลือความกว้างไม่ น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันได มีความกว้างและยาว ไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

???? บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันได ต้องมีความกว้าง และยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันได หรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคาร ที่อยู่เหนือขึ้นไป ต้องสูงไม่ น้อยกว่า 1.90 เมตร

ขนาดของลูกตั้งบันได และลูกนอนบันได 

บันไดบ้าน ที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น เป็นเพียงความเหมาะสมตามมาตรฐานข้างต้นเท่านั้น ขนาดที่เหมาะสมที่สุด และตรงกับขนาดที่ สถาปนิก นิยมใช้กัน โดยขนาดที่เหมาะสม คือ ลูกตั้งบันไดและลูกนอนบันได ต้องมีขนาดเท่ากับ 45 เซนติเมตร

220729-Content-เรื่องควรรู้!-ลูกตั้งบันไดลูกนอนบันได-เลือกขนาดเท่าไหร่-ถึงจะพอดี03

กำหนดให้ลูกตั้งบันได มีขนาดในช่วง 15-18 เซนติเมตร ส่วนลูกนอนบันได อยู่ในช่วง 27-30 เซนติเมตร ตัวอย่าง กรณีลูกตั้งบันได มีความสูง 15 เซนติเมตร ลูกนอนจะต้องมีความกว้าง 30 เซนติเมตร หรือกรณีลูกตั้ง มีความสูง 18 เซนติเมตร ลูกนอน จะต้องมีความกว้าง 27 เซนติเมตร

ความกว้างของบันไดบ้าน

ส่วนความกว้างของบันได ตามกฎหมายกำหนดไว้ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร หากพื้นที่บ้าน มีอย่างจำกัด สามารถออกแบบในระยะดังกล่าวได้ แต่หากต้องการให้เดินสบาย และสวนทางกันได้อย่างสะดวก บันไดบ้าน ควรมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เมตร และหากบันไดมีความสูงเกิน 3 เมตร หรือไม่เกินก็ได้ ควรเว้นระยะพักไว้ ระยะพัก เป็นเสมือนจุดพักหายใจ จะช่วยให้การเดินขึ้น รู้สึกเหนื่อยน้อยลงนั่นเอง

220729-Content-เรื่องควรรู้!-ลูกตั้งบันไดลูกนอนบันได-เลือกขนาดเท่าไหร่-ถึงจะพอดี04

ราวจับบันได ราวกันตก สูงเท่าไหร่ดี

ราวบันได หรือราวจับ เป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยปกติ การออกแบบราวจับ ควรมีความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงในระดับ ที่มือสามารถจับได้อย่างพอเหมาะขณะยืน ทั้งนี้ หากบ้านไหนมีผู้อยู่อาศัย ที่มีความสูงเป็นพิเศษ อาจออกแบบให้สูงกว่า 90 เซนติเมตรได้เช่นกัน

ส่วนประกอบอื่น ๆ ของบันได ที่ควรรู้

นอกจากในส่วนของลูกตั้งบันได และลูกนอนบันได ที่เราได้รู้กันไปแล้ว ยังมีส่วนอื่น ๆ อีก ดังนี้

  • แม่บันได คือ ส่วนที่เป็นคานรับน้ำหนักบันได วางในแนวเอียง มุมของแม่บันได ขึ้นอยู่กับการกำหนดลูกตั้งบันได
  • พุกบันได คือ ส่วนของบันได ที่ทำหน้าที่ รับถ่ายทอดน้ำหนัก จากลูกนอนบันได แต่ละขั้นลงสู่แม่บันได
  • เสาบันได ทำหน้าที่ รับน้ำหนักของชานบันได ซึ่งแม่บันได ไปพาดอยู่ หรือหมายถึง เสาค้ำยัน ตรงปลายล่าง และบนของบันไดนั่นเอง
  • ราวบันได คือ ส่วนที่ใช้สำหรับเกาะพยุงตัว ในการขึ้น-ลงบันได จำเป็นต้องมีในช่วงบันไดสูง ๆ อย่างน้อย 1 ข้าง ใช้เสารับ เป็นระยะ ความสูงของราวบันได วัดตั้งแต่พื้น ไม่เกิน 0.80 เมตร
  • ลูกกรงบันได คือ ส่วนของบันได ที่ทำหน้าที่กันตก ใช้ยึดกับราวบันไดตลอดแนว
  • ช่วงบันได คือ บันไดในตอนหนึ่ง ๆ บันไดยาว ๆ อาจแบ่งออกเป็นหลายช่วง ช่วงหนึ่ง ไม่ควรเกิน 11-12 ขั้น และแต่ละช่วง ต้องมีชานบันได หรือพื้นห้องคั่นไว้ เป็นที่พักด้วย
  • พักบันได คือ ที่มีบันไดหลายช่วง และส่วนเชื่อมช่วงบันได แต่ละช่วงพักบันไดเป็นตัวเชื่อม พักบันได จะกว้างเท่ากับความกว้างของบันได
  • จมูกบันได คือ ขอบของลูกนอนบันได ที่ยื่นออกมาจากแนวลูกตั้งบันได ถ้าเป็นไม้ประมาณ 1 นิ้ว และจะมีมนโดยรอบ ๆ

เป็นอย่างไรกันบ้าง ลูกตั้งลูกนอนบันได ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจหลักการ และเลือกใช้ให้เหมาะสม ซึ่งการออกแบบบันไดบ้าน นอกจากเน้นความสวยงาม เพื่อให้เข้ากับสไตล์การตกแต่งบ้านแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย การออกแบบบันไดบ้านให้ได้มาตรฐาน และคำนึงถึงความปลอดภัยของคนในบ้านเป็นหลักด้วยนะ ????

อ่านบทความ : บันไดบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ย ควรเป็นอย่างไร?

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก : banidea.com