การเลือกซื้อ หรือใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เรามักที่จะเห็นคำศัพท์เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วัตต์ (Watt) โวลต์ (Volt) หรือ แอมป์ (Amp) ซึ่งอาจจะทำให้คุณสงสัย ว่าค่าต่าง ๆ เหล่านั้น มีไว้เพื่ออะไร? เอาไว้ใช้ทำอะไร? และจะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการนำเอาไปใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างไร?
บทความนี้ KACHA ได้รวบรวมเอาความหมายของค่าดังกล่าวมาอธิบายให้คุณได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
วัตต์ คืออะไร?
วัตต์(Watt) นั้นได้จากการนำเอาค่า โวลต์ (Volt) X แอมป์ (Amps) = วัตต์(Watt) ซึ่งก็คือ ค่าที่จะใช้ในการอธิบายถึงจำนวนของพลังงาน ที่ได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยค่าวัตต์ที่มีค่ามาก ก็จะหมายถึงการที่มีกำลัง และ output ที่มากขึ้นจากการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อยกตัวอย่าง เปรียบเทียบกับน้ำภายในท่อ ก็จะหมายถึงปริมาณของน้ำที่ได้ ออกมาจากปลายท่อของสายยาง
โวลต์ (Voltage) คืออะไร?
โวลต์(Voltage) คือ ค่าที่ใช้ในการวัดค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ในการทำให้กระแสไฟฟ้า สามารถที่จะไหลไป ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ ก็คือค่าโวลต์ (Volt) จะสามารถเปรียบเทียบได้กับแรงดันของน้ำ ที่อยู่ภายในสายยาง ที่ทำให้น้ำไหล ยิ่งภายในสายยางมีแรงดันมาก ก็จะสามารถที่จะส่งกระแสไฟไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น
แอมป์ (Amps) คืออะไร?
แอมป์(Amps) ย่อมาจากคำว่า Ampere เป็นค่าที่ใช้วัด การไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถที่จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เหมือนกับการที่น้ำไหลอยู่ภายในสายยาง โดยปริมาณของน้ำนั้น จะเปรียบเทียบได้กับการไหลของกระแสไฟฟ้า ยิ่งน้ำในท่อสายยางมีจำนวนมาก ก็จะเปรียบเทียบได้กับความแรงของกระแสไฟฟ้านั้น
การคำนวณค่ากระแสไฟ วัตต์/ โวลต์/ แอมป์
โดยในการคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า วัตต์โวลต์แอมป์ ต่าง ๆ นั้น สามารถที่จะทำการคำนวณ หรือกลับค่า การคำนวณได้ด้วยสมการง่าย ๆ ดังนี้
- W = V * A การคำนวณค่าวัตต์ ได้จากการนำ ค่าโวลต์ คูณ ด้วยค่าแอมป์ ก็จะได้เป็นวัตต์ ออกมา
- V = W / A การคำนวณค่า V นั้น ได้จากนำเอา ค่าวัตต์ หาร ด้วยค่าแอมป์ ก็จะได้โวลต์ ออกมา
- A = W / V การคำนวณค่าแอมป์นั้น จะได้จากการนำเอา ค่าวัตต์ หารด้วย ค่าโวลต์ ก็จะได้ค่าแอมป์ออกมา
ตัวอย่างการคำนวณ วัตต์(Watt), โวลต์(Volt) หรือแอมป์(Amps)
เช่น ถ้าเรามีหัวชาร์จ หรือเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถืออยู่ ซึ่งเป็นหัวชาร์จแบบ 5โวลต์ 1แอมป์ ที่สามารถใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับมือถือสมาร์ทโฟน บางรุ่นเราสามารถ ที่จะนำมาคำนวณค่า W ได้จากสมการที่อยู่ด้านบน ดังนี้
- ค่าวัตต์ ของหัวชาร์จ W = 5 (โวลต์) x1 (แอมป์) = 5วัตต์
- ค่าโวลต์ ของหัวชาร์จ V = 5 (วัตต์) / 1 (โวลต์) = 5โวลต์
- ค่าแอมป์ ของหัวชาร์จ A = 5 (วัตต์) / 5 (โวลต์) = 1แอมป์
โวลต์ แอมป์ และวัตต์ แตกต่างกันอย่างไร?
- โวลต์ (volt หรือ V)
คือ หน่วยที่ใช้เรียก เพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้า เท่ากับ 220 โวลต์ ซึ่งประเทศไทย ก็ใช้ไฟระบบนี้อยู่นั่นเอง
- แอมแปร์ หรือ แอมป์ (ampere หรือ A)
คือ หน่วยที่ใช้เรียก สำหรับบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านตัวนำ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง เช่น 5 A หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเท่ากับ 5 แอมแปร์
- วัตต์(Watt หรือ W)
คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที1 W = 1 J/s = 1 นิวตันเมตร ต่อวินาที = 1 kg·m2·s−3
เป็นอย่างไรกันบ้างกับบทความที่เรานำมาแชร์วันนี้ หลายคนก็คงจะรู้จัก และเข้าใจถึงชื่อเรียกของหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้ากันมากขึ้นแล้วใช่ไหม แต่อย่าลืมว่า เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้านั้น ไม่ว่าจะเป็นในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ หรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อนเสมอด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง :
- สัญลักษณ์ไฟฟ้า พื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
- บัลลาสต์ คืออะไร? พร้อมวิธีเช็คบัลลาสต์เสีย ทำได้อย่างไร?
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- Checklist “เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน” ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!