เสาเอก คือ?
เสาเอก เป็นเสาที่สำคัญที่สุดของบ้าน และเป็นเสาต้นแรก ของบ้านด้วยเช่นกัน ตามความเชื่อโบราณ จึงต้องมีการทำ พิธีลงเสาเอก เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้าน และผู้อยู่อาศัย ทั้งนี้บางคนมีความเชื่อว่า เป็นการบอกกล่าว ขอขมาต่อเจ้าที่เจ้าทาง ในบริเวณนั้น ทั้งนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่า จะทำให้การก่อสร้างบ้าน หรืออาคารในช่วงนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั่นเอง
ดังนั้น ในการสิ่งปลูกสร้าง หรือสร้างบ้าน หลาย ๆ คน จึงมีการทำ พิธีลงเสาเอก ตามฤกษ์งามยามดี ที่เราได้วางไว้ ซึ่งแต่ละบ้าน ก็จะมีวิธีการทำงาน หรือขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือความเชื่อของแต่ละคนนั่นเอง
พิธีลงเสาเอก ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
1. วันมงคล ฤกษ์การลงเสาเอก
โดยปกติแล้ว คนที่กำลังจะสร้างบ้าน มักมีการปรึกษากับพระผู้ใหญ่, พราหมณ์, โหร หรือหมอดู ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ฤกษ์งามยามดี สำหรับการลง เสาเอก เพื่อให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข โดยจะมีการบอกเวลาที่เหมาะสมในการทำพิธี เมื่อถึงเวลา ก็ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ทุกอย่างเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม เรื่องฤกษ์ สำหรับการลงเสาเอก ที่ใช้กัน จะนิยมปลูกสร้างบ้านในช่วง เดือน 1 (เดือนอ้าย), เดือน 2 (เดือนยี่), เดือน 4, เดือน 5, เดือน 9 และเดือน 12 ของแต่ละปี โดยใช้การนับเดือนแบบไทยตามหลักจันทรคติ เมื่อได้เดือนสำหรับการลงเสาเอก ก็เลือกเอาวันธงชัยในเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินที่ระบุไว้ เพื่อความมั่นใจ เจ้าบ้าน อาจไปให้คนที่มีความรู้ด้านนี้ ช่วยตรวจสอบอีกครั้งได้
ฤกษ์มงคลในการลงเสาเอก ของแต่ละวัน มีดังนี้
- ถ้าปลูกเรือนวันอาทิตย์ ถือเอาเสียงไก่เป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันจันทร์ ถือเอาเสียงผู้หญิงเป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันอังคาร ถือเอาเสียงม้าเป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันพุธ ถือเอาเสียงสังข์เป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันพฤหัสบดี ถือเอาเสียงถาดเป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันศุกร์ ถือเอาเสียงฆ้องเป็นฤกษ์
- ถ้าปลูกเรือนวันเสาร์ ถือเอาเสียงคนแก่เป็นฤกษ์
2. ตีผังบ้าน และปรับระดับดิน
ตีผังบ้าน และปรับระดับดินให้พร้อม เพื่อเตรียมทำพิธี จากนั้น ขุดหลุมเสาเอกก่อน เป็นหลุมแรก เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย
3. จัดเตรียมของมงคล
การจัดเตรียมของมงคล ที่จำเป็นต้องใช้ในพิธี เพื่อให้เป็นไปตามธรรมเนียมอันเหมาะสม โดยหลัก ๆ แล้วของมงคลที่จำเป็น ใน พิธีลงเสาเอก จะประกอบไปด้วย สิ่งของต่าง ๆ ดังนี้
- จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าต้องการให้มี)
- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณี นิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)
- เครื่องบูชาฤกษ์ หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
- สายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก
- ผ้าสามสี ผ้าแพรสีแดง ผ้าห่มเสา ผ้าหัวเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน ขนาด 4×6 นิ้ว
- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น
- เหรียญทอง เหรียญเงิน อย่างละ 9 เหรียญ
- ทองคำเปลว 3 แผ่น
- หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ
- ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน
- น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)
- ทรายเสก 1 ขัน
- แป้งหอม
- ไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ ไม้ราชพฤกษ์, ไม้ขนุน, ไม้ชัยพฤกษ์, ไม้ทองหลาง, ไม้ไผ่สีสุก, ไม้ทรงบาดาล, ไม้สัก, ไม้พะยูง, ไม้กันเกรา ไม้มงคลทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องใช้งานอย่างครบถ้วน เพราะจะทำให้มีสิริมงคล และเรื่องดี ๆ เกิดกับบ้านหลังนี้ ไม่ควรขาดชนิดใดเป็นอันขาด
4. พิธีลงเสาเอก
สำหรับการทำพิธีลงเสาเอกนั้น ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ประกอบด้วยลำดับพิธีต่าง ๆ ดังนี้
- นำหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสามสี ผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในพิธี ควรผูกให้เรียบร้อยก่อนถึงวันตั้งเสาเอก
- สำหรับบ้านไหนที่ไม่เชิญพราหมณ์ หรือพระมาช่วยทำพิธี สามารถให้ญาติผู้ใหญ่ หรือเจ้าของบ้านเป็นคนทำพิธีเองได้ ผู้อยู่อาศัยทุกคน ควรมาร่วมพิธีให้ครบ โดยเริ่มแรกให้วางสายสิญจน์ ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชา ไปจนถึง เสาเอก
- เจ้าภาพจุดธูปเทียน ที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐาน และกราบพระ เจ้าภาพจุดธูป ที่โต๊ะสังเวยบูชาเทวดา ให้ช่วยคุ้มครอง
- ใส่ดอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก
- วางแผ่นทอง แผ่นนาก แผ่นเงิน และเหรียญเงิน ลงไปในหลุม
- นิมนต์พระสงฆ์ มาพรมน้ำมนต์ และโปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก พร้อมเจิม และปิดทองที่เสาเอก ที่ผูกผ้าสามสี หน่อกล้วย และอ้อย เอาไว้
- เจ้าภาพ และผู้ร่วมพิธี ถือสายสิญจน์ และยกเสาเอกให้เรียบร้อย
- เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอก หรือแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก
ในกรณีที่เชิญพราหมณ์ หรือพระมาช่วยทำพิธี อาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปบ้าง แต่ต้องจัดเตรียมตั้งโต๊ะ และจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด รวมถึงอาหารสำหรับฉันเพลด้วย
5. เสริมมงคลเสาเอก
การตั้งเสาเอก คือ การเสริมมงคลตามปีที่ปลูกบ้าน โดยจะใช้ปีราศีเป็นเกณฑ์ แล้วทำพิธีเสริมมงคลเข้าไป ลองมาดูกันว่าแผนที่คุณกำลังวางไว้ว่า จะปลูกบ้าน คือช่วงปีใด และมีขั้นตอนในการเสริมมงคล อย่างไรบ้าง?
นำไม้ราชพฤกษ์ ปักเสามุมแรก ก่อนยกเสาเอก เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย จากนั้น โปรยดอกไม้ 3 สีที่เป็นสิริมงคล (ดอกกุหลาบ ดอกรัก และดอกพุทธ) แล้วบวงสรวงด้วยกล้วยที่เป็นมิ่งขวัญปีเกิด จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และทำมาหากินเจริญขึ้น |
ใช้กล้วยกับผ้าขาวพันให้รอบเสาเอก จากนั้น ให้นำกิ่งมะตูม 3 กิ่ง ปักลงไปตรงเสาเอก ใช้ขนมฝอยทอง กับลูกตาลในการทำพิธี จะช่วยให้มีแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาภายในบ้าน ทุกคนมีความสุข |
ใช้น้ำ 3 ขัน ต้องเป็นขันทอง, ขันเงิน, และขันนาก พร้อมข้าวสุกอีก 3 กระทง เททั้งหมดลงไปตรงโคนเสาเอก โปรยดอกไม้ 3 สี คือ ดอกรัก, ดาวเรือง, และบานไม่รู้โรย เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความร่ำรวย ร่มเย็นเป็นสุข |
ใช้ใบพร้าหอม, ใบเฉียง, และใบตะเคียน พร้อมต้นกล้วย 1 ต้น จับพันรวมกันให้รอบตรงส่วนปลายเสาเอก ใช้หมูย่างกับปลายำในการทำพิธี ช่วยให้เกิดความรุ่งเรือง |
ใช้กำยาน กับใบมะกรูด พันบริเวณยอดเสาเอก ยกเสาขึ้น โปรยไม้มงคล 7 ชนิด คือ ดอกรัก, ดาวเรือง, บัว, กุหลาบ, บานไม่รู้โรย,พุด, และมะลิ จะทำให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในบ้านและชีวิตของคนในครอบครัว |
ใช้ใบสิงห์ผูกปลายเสาเอก เลือกมา 2 กิ่ง ข้าว 3 กระทง บูชาด้วยการจุดธูปเทียน มีดอกกุหลาบ พวงมาลัยมะลิ ดอกรัก น้ำ 6 ขันเย็น ๆ จากนั้น กล่าวว่า มั่ง มี ศรี สุข ก่อนยกเสาเอกจะช่วยให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า |
ใบขี้เหล็กปัดเป่า ตั้งแต่ปลายถึงโคนเสา 3 รอบ รดน้ำตรงปลายเสาเอก ใช้มะพร้าว กล้วย ส้ม ในการทำพิธี จะช่วยให้ชีวิตสงบสุข ร่มเย็น |
ใช้ใบเงิน หมากผู้ หมากเมีย อย่างละ 3 ใบ พร้อมใบกล้วย ใบอ้อย ใส่ทั้งหมดลงหลุม ยกเสาเอกขึ้น ใช้มะพร้าว และอ้อย ในการทำพิธี ขอสิ่งดี ๆ กับชีวิต จะช่วยให้มีโชคลาภ |
ใช้เทียน 3 แท่ง แปะทองคำเปลว ผูกด้านข้างเสาเอกตามแนวนอน ใบเงิน ทอง นาก หย่อนลงหลุม จากนั้น ยกเสาเอกขึ้น เชื่อว่าจะเจริญรุ่งเรือง มั่งมีในชีวิต |
ข้าวตอกใส่ในใบบัวบก แล้วหย่อนลงไปรองก้นหลุมให้ครบ 4 ทิศ ใช้ ข้าว แกง แอปเปิล ดอกบัวหลวงในการทำพิธี ช่วยเสริมความร่ำรวย ความร่มเย็นให้กับชีวิต |
ข้าวตอกใส่ในใบบัวบก แล้วหย่อนลงไปรองก้นหลุมให้ครบ 4 ทิศ นำดอกบัวหลวงมาบูชา จะมีแต่คนอุปถัมภ์ |
นำดอกบัว ดอกชบา อย่างละ 1 ดอก ใส่ไปในหลุม จากนั้นพอถึงเวลา 09.09 น. ให้ทำการลงเสาเอก ช่วยสร้างความเจริญกับชีวิต |
เป็นอย่างไรกันบ้าง คงทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจเรื่อง เสาเอก พิธีลงเสาเอก กันมากขึ้นแล้วใช่ไหม การลงเสาเอกเปรียบเสมือนการเสริมสิริมงคลให้กับบ้าน อีกทั้งยังเป็นการขอขมาต่อเจ้าที่ เจ้าทาง ตามความเชื่อของคนโบราณด้วย อย่างไรก้ตาม อย่าลืมนำลำดับพิธีตั้งเสาเอกแบบง่าย ๆ ที่เรารวบรวมมาฝากไปปรับใช้ให้เหมาะสมกันด้วยนะจ๊ะ
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก : baania.com, home.kapook.com, สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, กระทรวงวัฒนธรรม และ กรมการศาสนา