เหล็กเส้น มีกี่ชนิด มีกี่ขนาด เหมาะกับงานก่อสร้างอะไรบ้าง

เหล็กเส้น มีกี่ชนิด มีกี่ขนาด เหมาะกับงานก่อสร้างอะไรบ้าง Kacha มีคำตอบ ใครเป็นเจ้าของบริษัท
ก่อสร้างหรือ ผู้รับเหมา แล้วอยากรู้ว่า ควรใช้เหล็กเส้นชนิดไหน ขนาดอะไรแล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

เหล็กเส้น คือ

เหล็กเส้น

เหล็กเส้น คือ เหล็กที่มีรูปทรงเป็นเส้นแบนหรือเส้นกลม มีลักษณะเป็นเส้นยาว ทำจากเหล็กคาร์บอนหรือเหล็กกล้า มักใช้ในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้านพักที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม งานถนน งานสะพาน ต่าง ๆ ตลอดจนใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ งานรั้ว – ประตู เครื่องกล เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน

เหล็กเส้น มีกี่ชนิด

เหล็ก

1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)

หรือที่มักเรียกกันง่าย ๆ ว่า RB มีลักษณะเป็นเส้นกลมยาว หน้าตัดกลม ผิวเรียบตลอดทั้งเส้น มีคุณสมบัติรับแรงกด แรงดึง และ น้ำหนัก ได้ต่ำถึงสูง ขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้น นิยมใช้ในงานเสริมคอนกรีต เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง ปลอกเสา ปลอกคาน รวมถึง งานก่อสร้างขนาดเล็ก และ ขนาดกลาง เช่น บ้านพัก อาคารพาณิชย์ ฯลฯ

2. เหล็กเส้นแบน (Flat Bar)

มีลักษณะเป็นเส้นแบนยาว หน้าตัดเหลี่ยม ผิวเรียบตลอดทั้งเส้น มีความแข็งแรงน้อยกว่าเหล็กเส้นชนิดอื่น ๆ จึงไม่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง แต่จะนิยมนำมาใช้ในงานผลิตและงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก เช่น งานเชื่อม งานฝาท่อ งานกลึง งานชิ้นส่วนเครื่องจักร หรือ งาน DIY เฟอร์นิเจอร์ เพื่อเสริมความแข็งแรง

3. เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)

ลักษณะเป็นเหล็กเส้นกลมยาว มีริ้วเป็นปล้อง ๆ คล้ายกับข้ออ้อยตลอดทั้งเส้น มีคุณสมบัติทนแรงดึง และ ยึดเกาะคอนกรีตได้ดี เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ที่ต้องการรองรับแรงแผ่นดินไหว ถนน สะพาน รันเวย์สนามบิน เขื่อนกั้นน้ำ เป็นต้น

เหล็กเส้น มีกี่ขนาด

เหล็กเส้น

1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)

เหล็กเส้นกลม มี 6 ขนาด ได้แก่ RB6, RB9, RB12, RB15, RB19, RB25 โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 6 – 25 มิลลิเมตร และ มีความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เมตร

เหล็กเส้นกลม ขนาด น้ำหนัก
เหล็กเส้น 2 หุน (RB6) 6 mm. X 10 m. 2.22
เหล็กเส้น 3 หุน (RB9) 9 mm. X 10 m. 4.99
เหล็กเส้น 4 หุน (RB12) 12 mm. X 10 m. 8.88
RB15 15 mm. X 10 m. 13.87
RB19 19 mm. X 10 m. 22.26
RB25 25 mm. X 10 m. 38.53

2. เหล็กเส้นแบน (Flat Bar)

เหล็กเส้นแบน มีความกว้างตั้งแต่ 3 – 100 มิลลิเมตร โดยขนาดที่นิยมใช้งานมากที่สุด ก็คือ 3 มิลลิเมตร x 6 เมตร

ความกว้าง 3.0 mm. 4.5 mm. 6.0 mm. 9.0 mm. 12.0 mm. 15.0 mm. 19.0 mm. 25.0 mm.
25 mm. 3.53 530 7.07 10.6 14.13 17.66 22.37 —-
32 mm. 4.52 6.78 9.04 13.56 18.09 22.61 28.64 37.68
38 mm. 5.37 8.05 10.74 16.11 21.48 26.65 34.01 44.75
65 mm. 7.07 10.6 14.13 212 28.26 3533 44.75 58.88
75 mm. 9.18 13.78 18.37 27.55 36.74 45.92 58.17 76.54
100 mm. 10.6 15.9 212 31.79 42.39 52.99 67.12 88.31
50 mm. 14.13 212 28.26 42.39 56.52 70.65 89.49 117.75

3. เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)

โดยทั่วไป เหล็กเส้นข้ออ้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 – 40 มิลลิเมตร ความยาวประมาณ 10 – 12 เมตร และมีค่าความเค้นและความเครียดของวัสดุ หรือ ค่า SD เฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50

ขนาดเส้นข้ออ้อย น้ำหนัก
10 mm. X 10 m. SD 40 6.16
10 mm. x 12 m. SD 40 7.39
12 mm. X 10 m. SD 40 8.88
12 mm. X 12 m. SD 40 10.66
16 mm. X 10 m. SD 40 15.78
16 mm. X 12 m. SD 40 18.94
20 mm. X 10 m. SD 40 24.66
20 mm. X 12 m. SD 40 29.59
25 mm. X 10 m. SD 40 38.53
25 mm. X 10 m. SD 40 46.24
28 mm. X 10 m. SD 40 48.34
28 mm. X 12 m. SD 40 58.00
28 mm. X 10 m. SD 50 48.34
28 mm. X 12 m. SD 50 58.00
32 mm. X 10 m. SD 50 63.13
32 mm. X 12 m. SD 50 75.75

เหล็กเส้น เหมาะกับงานก่อสร้างอะไรบ้าง

เหล็ก

1. อาคารขนาดเล็ก – ขนาดกลาง

เช่น บ้านพักที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม ที่มีความสูงไม่มากนัก โดยเหล็กเส้นที่เหมาะกับงานก่อสร้างชนิดนี้ คือ เหล็กเส้นกลม ซึ่งถ้าหากเป็นส่วนที่รองรับแรงและน้ำหนักต่ำ ไม่มีแรงกด หรือ แรงดึง มากนัก เช่น ปลอกเสา ปลอกคาน ควรใช้ เหล็กเส้น 2 หุน และ เหล็กเส้น 3 หุน แต่ถ้าเป็นส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสาเข็ม อาจต้องใช้เหล็กเส้น RB15 RB19 RB25 หรือ เหล็กเส้นข้ออ้อย สำหรับเสริมคอนกรีตให้มีความแข็งแรง

2. อาคารสูง หรือ อาคารที่รองรับแรงแผ่นดินไหว

ควรใช้ เหล็กเส้นข้ออ้อย ในงานก่อสร้างชนิดนี้ เพื่อเสริมฐานราก โครงสร้างต่าง ๆ ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนมีความยืดหยุ่นสูง สามารถทนรับต่อแรงกด แรงดึง หรือ แม้แต่แรงแผ่นดินไหวได้ โดยการเลือกเหล็กข้ออ้อยมาใช้งาน ให้ดูที่ค่า SD หรือ ค่าความเค้นและความเครียดของเหล็ก ยิ่ง SD สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งทนต่อแรงกดแรงดึงมากเท่านั้น โดยเฉลี่ย เหล็กข้ออ้อย มีค่า SD อยู่ที่ 30 – 50

3. งานถนน สะพาน

นำเหล็กเส้นมาวางเรียง เป็นตะแกรงเหล็กเส้น สำหรับเทพื้นคอนกรีต เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับพื้นถนน หรือ พื้นสะพาน โดยเหล็กเส้นที่ใช้ นิยมใช้ทั้ง เหล็กเส้นกลม RB19 RB25 และ เหล็กเส้นข้ออ้อย แต่ถ้าหากอยากให้มีความแข็งแรง ควรใช้เหล็กข้ออ้อยจะดีที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติยึดเกาะกับคอนกรีตดีกว่าเหล็กเส้นกลมนั่นเอง

4. งานคอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากงานถนน สะพาน ยังสามารถใช้เหล็กเส้น กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น เสารถไฟฟ้า เสาอาคาร ผนังอาคาร เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ มีความมั่นคงแข็งแรง โดยเหล็กเส้นที่เหมาะกับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก คือ เหล็กเส้นกลม และ เหล็กเส้นข้ออ้อย

รู้จัก เหล็กเส้น แต่ละชนิด แต่ละขนาด กันไปแล้ว หากใครเป็นเจ้าของบริษัทก่อสร้าง หรือ ผู้รับเหมา แล้วอยากรู้ว่า ควรใช้เหล็กเส้นแบบไหน ถึงจะเหมาะกับงานก่อสร้างของตนเองแล้วละก็ ลองอ่านแล้วนำไปประกอบการตัดสินใจได้เลย รับรองว่า จะช่วยให้คุณเลือกเหล็กเส้นที่เหมาะกับงานก่อสร้างนั้น ๆ ได้อย่างแน่นอน


บทความที่น่าสนใจ