แต่งบ้าน แต่งบ้านใหม่ ให้งานจบไว งบไม่บายปลาย ทำได้อย่างไร?
เมื่อพูดถึงเรื่องของการ แต่งบ้าน หลายคนคงมีไอเดียอยู่ในใจว่าอยาก แต่งบ้านใหม่ ในสไตล์ไหน แต่กว่าจะแต่งให้สวยอย่างที่ตั้งใจไว้ บางทีก็ทำให้เราปวดหัวไม่ใช้น้อยเลย ไหนจะต้องมาคิดว่าทาสีบ้านโทนไหนดี เลือกเฟอร์นิเจอร์อย่างไรให้เข้ากับบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนจะใช้งานได้ดีคุ้มค่า แล้วจะทำยังไง ให้แต่งบ้านแล้วงบประมาณไม่บานปลาย KACHA มีเคล็ดลับง่าย ๆ มาฝากกัน
แต่งบ้านใหม่ งบไม่บานปลาย ทำได้อย่างไร?
หลาย ๆ คนคงเคยปวดหัวกับการ แต่งบ้าน ไม่น้อย เพราะหัวใจสำคัญที่ต้องคำนึง คือ เรื่องของงบประมาณ ไม่ว่าจะซื้อวัสดุก่อสร้าง ของตกแต่ง จ้างสถาปนิก มัณฑนากร ผู้รับเหมา ไหนจะค่าเดินทางในการติดต่อประสานงานต่าง ๆ อีก รวมแล้วเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเจอปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณได้ ข้อแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้การต่อเติมบ้านใหม่อยู่ในงบประมาณ ไม่มีงบบานปลายแน่นอน
1. ตั้งงบประมาณที่ตั้งใจ และเต็มใจจะจ่าย
เริ่มต้นจากสำรวจเงินในกระเป๋าว่า มีงบประมาณที่สามารถจ่ายได้อยู่เท่าไหร่ ตั้งงบที่เราเต็มใจจะจ่าย จากนั้นบวกเพิ่มไปอีก 15-20% สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเผื่อเหลือเผื่อขาด ซึ่งค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นมีอยู่ 3 ส่วน ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในการจ้างมัณฑนากร หรือสถาปนิกมาออกแบบ-ตกแต่ง และคุมงาน
- ค่าจ้างช่างก่อสร้าง หรือผู้รับเหมา
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งบ้านทั้งหลาย ซึ่งข้อนี้ สามารถเพิ่ม หรือลดได้ตามคุณภาพ หรือเกรดของสินค้าที่เลือกใช้
2. ออกแบบให้จบตั้งแต่อยู่ในกระดาษ
ควรปรึกษา และตกลงกับสถาปนิกให้เข้าใจตรงกัน ก่อนลงมือสร้างจริง จะได้ไม่เจอเหตุการณ์สร้างออกมาไม่ตรงแบบ แล้วมีค่าเสียหายในการรื้อสร้างใหม่อีก ทั้งเสียเวลา และเสียเงินโดยไม่จำเป็น ซึ่งการจ้างสถาปนิก มีทั้งที่เป็นรูปแบบบริษัท และที่เป็นนักออกแบบอิสระ หากเลือกใช้บริการกับบริษัทที่รับออกแบบบ้านโดยเฉพาะ ก็อาจมีข้อตกลงที่รัดกุมมากขึ้น เช่น สามารถปรับแก้งานได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เป็นต้น แต่ถ้าอยากประหยัดงบ การเลือกใช้นักออกแบบอิสระ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
3. เลือกวิธีดำเนินการให้เหมาะกับเรา
ในการตก แต่งบ้าน มีวิธีการดำเนินการอยู่หลายวิธี การเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเรา จะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากทีเดียว
- จ้างบริษัทออกแบบ ตกแต่ง และดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จ วิธีนี้ทางบริษัท จะจัดการให้หมดตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งออกแบบ หาสถาปนิกมาคุมงานผู้รับเหมา จัดหาวัสดุมาให้เลือก เหมาะกับผู้ที่มีเวลาน้อย ไม่สามารถลงมาคุมงาน หรือหาซื้อวัสดุเองได้ แต่ราคาก็จะค่อนข้างสูง
- จ้างนักออกแบบอิสระ จ้างผู้รับเหมาและให้หาซื้อวัสดุให้ด้วย ต้องบอกรายละเอียดของวัสดุที่ต้องการให้กับผู้รับเหมา อาจเผื่อตัวเลือกไว้ให้ด้วย กรณีวัสดุที่ต้องการหมด ซึ่งวิธีนี้ ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จะบวกค่าดำเนินการรวมอยู่ในค่าวัสดุที่ซื้อมาด้วย ทำให้ราคาของวัสดุอาจแพงกว่าท้องตลาดนิดหน่อย
- จ้างนักออกแบบอิสระ จ้างผู้รับเหมา แต่หาซื้อวัสดุเอง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลา และมียานพาหนะ เพราะต้องเดินทางไปเลือกซื้อวัสดุ และขนกลับมาที่บ้านเอง เราจะได้ของที่ราคาไม่บวกกำไรเพิ่ม และได้ตามลักษณะ คุณภาพที่ต้องการ แต่ก็แลกกับต้นทุนการเดินทางขนส่งที่เพิ่มขึ้นด้วย
4. เลือกวัสดุให้เหมาะสม
หลายครั้งที่เราใช้งบประมาณเกินจากที่วางไว้ เพราะเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม หรือนำไปใช้ไม่ถูกวัตถุประสงค์ โดยอาจจะเกิดจากความไม่รู้ ควรคำนวณระดับการใช้งานของแต่ละพื้นที่ และเลือกวัสดุที่เหมาะสมมาใช้ เช่น ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่นที่ต้องใช้งานบ่อย ควรเลือกใช้วัสดุที่ทนทาน เหมาะกับการใช้งาน และราคาสมเหตุสมผล
5. วางแผนการเดินทางให้ดี
การวางแผนการเดินทางให้ดี สามารถช่วยประหยัดไปได้มากเลย ทางที่ดีควรศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก่อนออกเดินทาง ค้นหาร้านค้าที่ขายอุปกรณ์ก่อสร้างแบบครบวงจร จะได้ไม่ต้องแวะหลาย ๆ ร้าน ซื้อได้ในที่เดียวจบ และควรศึกษาเส้นทางที่จะไป และที่ตั้งของร้านให้ดี จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเสียน้ำมันขับรถหลงทางอีกด้วย
ทำอย่างไรเมื่องบบานปลาย แต่ไม่อยากกู้เงิน
- ลดสเปกวัสดุ การลดสเปกของวัสดุที่เลือกใช้ จะช่วยให้คุณสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ เช่น เปลี่ยนจากใช้กระเบื้องนำเข้า เป็นกระเบื้องที่ผลิตในประเทศ ผนังที่จะปูกระเบื้องเปลี่ยนเป็นทาสีแทน หรืออื่น ๆ ตามที่สถาปนิก หรือมัณฑนากรแนะนำโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน
- ลดปริมาณงาน หากลดสเปกวัสดุแล้วยังเกินงบที่ตั้งไว้อีก คุณอาจจะกลับมาดูรายการต่อเติมตกแต่งบางอย่าง อาจจะต้องตัดใจหยุดพักงานบางส่วน ที่ยังไม่จำเป็นต้องทำจริง ๆ ออกไปก่อน เมื่อหาเงินได้จึงค่อย ๆ ทำต่อทีหลัง จะได้ไม่เป็นการรบกวนกระเป๋าสตางค์มากไปแถมไม่ต้องเป็นหนี้อีกด้วย
เพียงแค่วางแผน แต่งบ้านใหม่ แต่งบ้าน ให้ดี และควบคุมตัวเองให้ทำตามแผน งบประมาณให้ได้ ก็ช่วยให้เราประหยัดงบประมาณในการแต่งบ้านไปได้เยอะ จนบอกลาปัญหางบประมาณบานปลายได้ง่าย ๆ แล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง :
- การรีโนเวทบ้าน กฎหมายต่อเติมบ้าน ที่ไม่ควรมองข้าม!
- วางแผน (ก่อน) ซ่อมแซมบ้าน เรื่องง่าย ๆ ต้องรู้อะไรบ้าง?
- “ผู้รับเหมา” เลือกอย่างไร? ไม่ให้โดนทิ้งงาน!
- Checklist จุดสำคัญการ ตรวจบ้าน ก่อนโอนทำได้ไม่ยาก!
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้!
- ประเภทของ “งานก่อสร้าง” มีกี่แบบ?
- รู้จักกับ สถาปนิก คืออะไร? แตกต่างกับวิศวกรอย่างไร?
สำหรับใครที่สนใจตัวช่วยเก็บอุปกรณ์ เราขอแนะนำ ที่แขวนเครื่องมือช่าง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน