ปัจจุบันการก่อสร้างบ้านหลายรูปแบบ จะเลือกใช้ “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” กันมากขึ้น เพราะพื้นสำเร็จรูปนั้นใช้เวลาไม่นาน ทำให้ประหยัดเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างด้วย งานของแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น ออกแบบให้สามารถรับน้ำหนัก และมีความแข็งแรงทนทานได้ดี ในการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูป ว่าเป็นแบบไหน? จะมีวิธีวางอย่างไร? ตาม KACHA มารู้จักไปพร้อมกันเลย


แผ่นพื้นสำเร็จรูป คืออะไร?

แผ่นพื้นสำเร็จรูปคือ แผ่นพื้นที่ทำการผลิตจากโรงงาน ซึ่งแผ่นพื้นที่ผลิตออกมานั้น เป็นแผ่นพื้นสำเร็จที่พร้อมใช้งาน โดยในการผลิตจะใช้คอนกรีตที่เสริมด้วยลวดอัดแรงกำลังสูง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักให้กับแผ่นพื้น

210421-Content-แผ่นพื้นสําเร็จรูปมีกี่แบบ-ใช้งานอย่างไร02


ซึ่งจำนวนเหล็กที่ใช้ในการเสริม จะมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด หลายจำนวน โดยในการเลือกใช้ จะเลือกใช้ตามน้ำหนักที่ต้องทำการแบกรับของพื้นที่ที่ต้องการสร้างขึ้นตามตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (Safe superimposed service load) ที่ทางผู้ผลิตได้จัดทำไว้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ตามความต้องการ

แผ่นพื้นสำเร็จรูปหรือแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบ (Pre-Stressed Concrete Slab) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีขนาด ความกว้าง 35 ซม., หนา 5 ซม., ความยาวตั้งแต่ 0.5 – 5 ม., หรือเรียกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูป ขนาด 0.35 × 0.05 ม. ใช้เหล็กลวดอัดแรง PC Wire ขนาดของเส้นศูนย์กลางเหล็กลวด 4 มิลลิเมตร ชนิดรับแรงดึงสูง

210421-Content-แผ่นพื้นสําเร็จรูปมีกี่แบบ-ใช้งานอย่างไร03


ชนิดของแผ่นพื้นสำเร็จรูป

แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบ (Plank Panel)

คือ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรงแบบตันที่ด้านล่างมีลักษณะเรียบ แม้ไม่ต้องฉาบก็ดูสวยงาม สำหรับด้านบนจะมีลักษณะที่ขรุขระ เพื่อให้สามารถประสานกับคอนกรีตที่เททับลงมาเป็นเนื้อเดียวกัน

** แผ่นเรียบชนิดนี้นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้าน ทาวเฮ้าส์ หรืออาคารขนาดเล็ก และขนาดกลาง **

2. แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดกลวง (Hollow core Slab)

คือ แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงแบบมีรูกลวงยาวตลอดทั้งแผ่น ซึ่งรูกลวงจะเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อของหน้าตัด แผ่นคอนกรีตชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบากว่าแผ่นคอนกรีตชนิดแรก แต่มีสามารถรองรับน้ำหนักได้เช่นเดียวกัน นิยมใช่ในงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ตัวอาคารมีน้ำหนักเบาลง


ขั้นตอนการวางแผ่นคอนกรีต

สำหรับขั้นตอนในการวางแผ่นคอนกรีตนั้น มีดังนี้

1. เตรียมพื้นที่

การเตรียมพื้นที่จะเป็นการเตรียมคานสำหรับใช้วางแผ่นพื้นสำเร็จนั่นเอง ซึ่งการเตรียมคานจะต้องทำให้เสร็จก่อน ถึงจะสามารถนำแผ่นพื้นสำเร็จมาวางได้ ซึ่งขั้นตอนการเตรียมคานสำหรับจัดวาง มีดังนี้

  • เตรียมคานให้มีความกว้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เนื่องจากการวางแผ่นพื้นสำเร็จ จะต้องมีส่วนซ้อนกันระหว่างคานกับแผ่นพื้นอย่างน้อย 5 – 7.5 เซนติเมตร และความยาวของคานจะต้องพอดีกับความยาวของแผ่นสำเร็จต่อกัน เพื่อที่เวลาวางแล้วแผ่นจะได้ไม่เกิดการซ้อนกัน
  • เคลียร์พื้นคานด้านบนให้เรียบ และสูงเท่ากันทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหัว กลาง และท้ายคาน เพื่อที่เวลาวางแผ่นพื้นสำเร็จแล้ว แผ่นพื้นสำเร็จจะแนบชิดกันสวยงาม
  • เตรียมไม้ค้ำยันชั่วคราวที่บริเวณด้านล่างแผ่นพื้นสำเร็จ เพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักของคอนกรีต เวลาที่ทำการเททับด้านบนแผ่นพื้นสำเร็จ ซึ่งไม้ค้ำยันจะช่วยรองรับน้ำหนักคอนกรีตที่เทลงมา ทำให้แผ่นพื้นสำเร็จไม่เกิดการแตกร้าวขึ้นได้
  • เตรียมเหล็กขนาด 9 มม. 2 เส้น เสียบฝั่งลงในคานที่จุดเดียวกัน โดยการฝั่งเหล็กจะต้องทำการฝั่งทุก 35 หรือ 40 เซนติเมตร โดยเหล็กนี้จะเป็นตัวเพิ่มแรงยึด และลดการแตกร้าวของพื้น


2. วางแผ่นพื้นสำเร็จรูป

  • การวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะใช้เครื่องมือสำหรับยกแผ่นพื้น เช่น เครน, รถเฮี้ยบ เป็นต้น โดยทำการคล้องสลิงที่หูหิ้วเหล็กที่ติดมากับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
  • นำแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาวางบนคาน โดยมีระยะนั่งคานอยู่ระหว่าง 5 – 7 เซนติเมตร
  • ทำการจัดเรียงแผ่นพื้นสำเร็จรูปให้เป็นระเบียบ และวางแนบสนิทกัน โดยไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น


3. เทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จรูป

การเทคอนกรีตทับหลังจากวางแผ่นพื้นสำเร็จเพื่อประสานแผ่นพื้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น โดยก่อนที่จะเทคอนกรีต ต้องทำการวางเหล็กเสริมพิเศษและเหล็กกันร้าวก่อน จึงค่อยทำการเทคอนกรีตลงไป

ในการเทคอนกรีต จะต้องทำการเกลี่ยคอนกรีตให้มีความหนาเท่า ๆ กันทุกส่วน และทำการบ่มคอนกรีต เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ???? สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ คอนกรีต ได้ที่นี่


ลักษณะของแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดี

  1. มีเหล็กหูหิ้วที่ยึดติดมากับแผ่นพื้น สำหรับใช้ในการขนย้าย และเป็นตัวช่วยในการยึดเกาะกับคอนกรีตที่เททับด้วย
  2. ไม่มีรอยแตกร้าวบนแผ่น
  3. จำนวนเหล็กแรงดึงสูงตรงตามที่กำหนด
  4. ขนาดความยาว และความหนาของแผ่น ต้องตรงตามที่กำหนด เพราะหากมีขนาดที่ไม่ตรงกัน การรับน้ำหนักของแผ่นพื้นสำเร็จจะเปลี่ยนตามไปด้วย
210421-Content-แผ่นพื้นสําเร็จรูปมีกี่แบบ-ใช้งานอย่างไร04


จะเห็นว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น นับว่าเป็นตัวช่วยในการก่อสร้างที่ได้ผลดี ทำให้งานก่อสร้างเสร็จรวดเร็ว ช่วยประหยัดทั้งเงิน และเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี ดังนั้นควรทำความเข้าใจ ให้ดีก่อนเลือกใช้งาน เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของเรานั่นเอง

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<