ไฟในห้องนอน มีกี่แบบ ? เลือกแบบไหนให้สว่าง สบายตา

การเลือก หลอดไฟ สำหรับใช้งานในบ้าน นอกจากเลือกที่ชนิดของหลอดไฟแล้ว การเลือกแสงสีของหลอดไฟ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะแสงจากหลอดไฟ สามารถส่งผลไปถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พบเห็น หลอดไฟที่มีแสงสีต่างกัน จึงสามารถปรับอารมณ์ และเสริมสร้างบรรยากาศในห้องให้แตกต่างกันได้นั่นเอง

บทความนี้  KACHA จะพาไปรู้จักกับ ไฟในห้องนอน และวิธีการ เลือกไฟในห้องนอน อย่างไร? ให้ความรู้สึกเหมือนนอนในโรงแรม หลับสบาย ไม่แสบตา ไปดูกันเลย

รู้จักกับ แสงสีของหลอดไฟ 

แสงสีของ หลอดไฟ หากเป็นศัพท์ทางเทคนิคจะเรียกว่า อุณหภูมิของสี มีหน่วยเป็นองศาเคลวิน หรือเคลวิน (K) ยิ่งอุณหภูมิต่ำ แสงสีที่เปล่งออกมาจากหลอดไฟ ก็จะออกไปในสีโทนร้อน เช่น สีส้ม สีแดง หรือสีเหลือง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น แสงไฟก็จะออกมาในสีโทนเย็น  เช่น สีขาวหรือสีฟ้า ซึ่งหลอดไฟในปัจจุบัน สามารถแบ่งอุณหภูมิของสี ได้ 3 ชนิด ได้แก่ วอร์มไวท์ (Warm white), คูลไวท์ (Cool white) และเดย์ไลท์ (Daylight) นั่นเอง

ไฟในห้องนอน
  • หลอดไฟวอร์มไวท์ (Warm white)

หลอดไฟวอร์มไวท์ (Warm white) มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,000-3,000 เคลวิน ให้แสงสีเหลืองเข้ม ไปจนถึงสีส้ม ช่วยสร้างบรรยากาศอบอุ่น โรแมนติก ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ทั้งยังเป็นแสงไฟที่สบายตาที่สุด

  • หลอดไฟคูลไวท์ (Cool white)

หลอดไฟคูลไวท์ (Cool white) มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 4,000-5,000 เคลวิน ให้แสงสีขาว ในโทนอุ่น มีความนวล ความสว่าง จะอยู่กึ่งกลางระหว่าง หลอดไฟวอร์มไวท์ กับหลอดไฟเดย์ไลท์ เป็นแสงไฟ ที่ให้ความสบายตา ทั้งยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา

  • หลอดไฟเดย์ไลท์ (Daylight)

หลอดไฟเดย์ไลท์ (Daylight) มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 6,000 เคลวิน ให้แสงสีขาว ที่เหมือนแสงในธรรมชาติ ถือเป็นแสงสีที่สว่างมากที่สุด ช่วยให้มองเห็นได้ชัด ทั้งยังให้ความรู้สึกสดใส กระปรี้ประเปร่า ช่วยให้กระฉับกระเฉง และรู้สึกตื่นตัว 

อ่านบทความ: หลอดไฟ มีกี่ประเภท ใช้งานอย่างไรบ้าง?

เทคนิคเลือก ไฟในห้องนอน ทำได้อย่างไร?

1. ตำแหน่งไฟ ไม่ควรส่องตรงตำแหน่งเตียงนอน

จุดติดตั้งแสงไฟ หากจัดตำแหน่งปรับมุมองศาไฟไม่ลงตัว ห้องที่คิดว่าจะอยู่สบายที่สุดกลับทำให้ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ในห้องทั่วไป มักจะออกแบบไฟหลักไว้ในตำแหน่งที่ตรงกับเตียง ซึ่งจะทำให้องศาของแสงไฟส่องลงมาตรง ๆ บริเวณที่นอน ผู้อยู่อาศัย จะรู้สึกแสบตา จึงควรวางตำแหน่งติดตั้งไฟ เอาไว้ในจุดอื่นที่ไม่กระทบสายตา เช่น  บริเวณด้านข้างของเตียง หรือบริเวณบนหัวนอนข้างเตียง 2 ด้าน

2. ซ่อนหลอดไฟบนฝ้าเพดาน

เทคนิคการจัดตกแต่ง ไฟในห้องนอน แบบ Indirect Lighting หรือไฟซ่อน ไฟหลืบ แบบที่ใช้ในหลุมฝ้าเพดาน หลังเตียง เริ่มที่เป็นที่นิยมในบ้านเรือนทั่วไปกันมากขึ้น เพราะนอกจากความสวยงามแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณส่วนกลางของห้องได้ดี ห้องดูกว้างขึ้นมีมิติน่าสนใจ โดยที่คุณภาพแสงไม่ทำลายสุขภาพตา เพราะเป็นแสงที่เกิดจากการสะท้อนแสงจากหลอดไฟ ส่องกระทบไปบนพื้นที่ระนาบให้ต้องการมีการส่องสว่าง จึงสามารถกระจายแสงได้อย่างสม่ำเสมอ แต่หากยังรู้สึกว่าแสงจ้าเกินไป ให้ใส่อะคลีลิคครอบปิดตัวหลอดไฟไว้อีกชั้นหนึ่ง จะได้แสงที่ soft ขึ้น

ไฟห้องนอน

3. ไฟส่องเฉพาะจุด

ภายในช่องเก็บของ ชั้นวางของ หรือจุดสำคัญต่าง ๆ ที่ใช้แสงสว่างเป็นครั้งคราว แทนที่จะเปิดไฟทั้งห้อง ให้เลือกเปิดเฉพาะจุด อย่างเทคนิคการใช้ไฟส่องเฉพาะจุด นิยมใช้หลอด LED ซ่อนไว้ในจุดดังกล่าว ซึ่งจะได้แสงสว่างแบบนวลตา และจะไม่ส่งผลกระทบกับคนข้าง ๆ ที่นอนร่วมกันด้วย

4. ไฟหลังทีวี ยิ่งมี ยิ่งถนอมดวงตา

ห้องนอนหลาย ๆ ห้อง มักติดตั้งทีวีไว้บริเวณปลายเตียง เพื่อจะได้นอนดูสบาย ๆ และส่วนใหญ่ขณะดูทีวี มักจะปิดไฟในห้อง ทำให้สายตา โฟกัสไปยังจอทีวีเพียงที่เดียว ซึ่งแสงสว่างจากหน้าจอที่สว่างจ้า ในขณะที่ภายในห้องมืด เป็นต้นเหตุให้สายตาเสียอย่างไม่รู้ตัว แนะนำให้ติดตั้ง LED TV Backlight ไว้หลังทีวี จะช่วยลดความเปรียบต่างระหว่างความมืด และสว่างได้ดี ช่วยให้การดูทีวีผ่อนคลายสบายตายิ่งขึ้น

การติดตั้งไฟหลังทีวี สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งเทคนิคไฟซ่อนไฟ หรือทำได้เองด้วยการซื้อหลอด LED แบบเส้นมาติดไว้รอบ ๆ หลังทีวี ใช้งบประมาณเพียงร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง แค่นี้ก็สามารถเพิ่มไฟหลังทีวีได้ง่าย ๆ แล้ว

5. ติดไฟเซนเซอร์ ระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติใต้ขอบเตียง

แสงไฟ ไม่ได้มีตำแหน่งติดไฟส่องสว่างบริเวณเพดาน หัวนอน หลุมฝ้าเท่านั้น แต่ยังสามารถติดที่ขอบล่างเตียงได้ด้วย ช่วยเพิ่มแสงสว่าง เวลาที่ลุกมาทำธุระตอนกลางคืน โดยไม่ต้องเปิดไฟให้สว่างทั้งห้อง หลอดไฟ ที่แนะนำ คือ หลอดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีการเคลื่อนไหว ไฟจะเปิดอัตโนมัติ เหมาะกับห้องนอนที่มีผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ ช่วยลดปัญหาการประสบอุบัติเหตุ อีกทั้งแสงไฟที่สว่างเฉพาะจุดนี้ ยังไม่เป็นการรบกวนคนข้าง ๆ ที่กำลังนอนหลับอยู่ด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้าง ไฟในห้องนอน เลือกไฟในห้องนอน เทคนิคทั้งหมดนี้ จะช่วยเปลี่ยนจากไฟห้องนอนจืดชืด ให้กลายเป็นไฟห้องนอนที่ดูสบาย น่านอนทันที เพียงเท่านี้ การพักผ่อนในวันหยุด ก็ได้อารมณ์ผ่อนคลาย เหมือนได้พักในโรงแรมสุดหรูทุกวันอย่างแน่นอน หากใครกลัวกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ลองเข้าไปอ่านบทความ >> How to ประหยัดค่าไฟ ในช่วง WFH อย่างไรไม่ให้สูงปรี๊ด! << แล้วนำไปทำตามกันดูนะจ๊ะ

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????

ขอบคุณข้อมูล banidea.com