ปูพื้นด้วย “กระเบื้องยาง” มีข้อควรระวังอะไรบ้าง?

วัสดุปูพื้นอีกหนึ่งประเภท ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กระเบื้อง คือ “กระเบื้องยาง” หากเป็นเมื่อก่อนหลายคนคงไม่เลือกใช้กระเบื้องยางมาปูพื้น เพราะมีกลิ่นแรง แต่ปัจจุบันด้วยคุณภาพวัสดุที่เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้กระเบื้องยางมีคุณภาพ มีลวดลายให้เลือกหลากหลาย และกระเบื้องยางยังเป็นวัดสุปูพื้นที่คุณสามารถติดตั้งได้ด้วยตนเอง หลาย ๆ คนคงจะมีคำถามว่า จะใช้กระเบื้องยางดีไหม จะมี ข้อดี-ข้อเสีย อะไรบ้าง?

ในบทความนี้ KACHA อาจจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ทันที ก่อนจะเลือกซื้อหรือไม่ ไปดูกัน . . .

กระเบื้องยาง คืออะไร?

กระเบื้องไวนิล หรือกระเบื้องยาง คือ วัสดุปูพื้นที่ผลิตจาก PVC (PolyVinyl Chloride) มีความยืดหยุ่นสูง เนื้อวัสดุเหนียว รองรับแรงกดทับ หรือแรงกระแทกได้ดี ทนต่อความชื้น มีผิวสัมผัสที่หนืด ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้เป็นอย่างดี เก็บเสียงเดินได้ ทำความสะอาดง่าย และติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือเยอะ ใช้แรงงานน้อย สามารถติดตั้งได้ด้วยตนเอง

210612-Content-ปูพื้นด้วย-กระเบื้องยาง-02

ปัจจุบันกระเบื้องยาง นิยมใช้งานได้หลากหลายพื้นที่ เช่น คอนโด, บ้าน, สำนักงาน หรือโรงพยาบาล ซึ่งตามบ้านพักอาศัยจะใช้กระเบื้องยางแบบแผ่น ส่วนกระเบื้องยางแบบม้วน นิยมปูในโรงพยาลบาล หรือสำนักงาน ที่มีพื้นกว้าง

กระเบื้องยางนั้น มีทั้งแบบผลิตจากยางพาราที่มีความยืดหยุ่นตัวสูง เหนียว ทนทานต่อการใช้งาน ไม่ฉีกขาดง่าย และผลิตจากโพลีเมอร์ อย่างโพลียูรีเทนและพีวีซี ที่มีความเหนียว ทนทานต่อรอยขีดข่วน ทำความสะอาดง่าย และราคาถูกกว่ากระเบื้องยางพารา

โครงสร้างของกระเบื้องยาง เป็นแบบไหน?

  • PU Coating ป้องกันน้ำและยูวี

ชั้นบนสุดของกระเบื้องยาง เคลือบด้วยโพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane หรือ PU) เพื่อกันน้ำและปกป้องสีจากแสงแดด ไม่ทำให้ซีดเร็ว สีกระเบื้องยังคงสีสดใหม่อยู่เสมอ

  • Wear Layer ชั้นกันสึก

แผ่นโพลีเมอร์ ที่มีคุณสมบัติปกป้องสี และลวดลายของกระเบื้องยางให้มีความทนทานต่อรอยขีดข่วน เพื่อป้องกันส่วนผิวหน้าไม่ให้สึกหรอหรือได้รับความเสียหายจากการใช้งาน

  • Print Layer ชั้นฟิล์มลาย

พิมพ์ลายคมชัด สวยงาม เสมือนจริง มีหลายลายให้เลือก เช่น ลายไม้ ลายหินอ่อน ลายพรม

  • Middle Layer ชั้นกลาง

ส่วนชั้นวัสดุหลักที่กำหนดความหนาของกระเบื้องยาง เพิ่มความทนทาน ป้องกันแรงกระแทก ยืดหยุ่น และรองรับการกดทับ หรือการยืดหดตัวของกระเบื้องยาง ซึ่งวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้ผลิต เช่น ไวนิล หรือ PVC ชั้นไวนิลที่กำหนด

  • Base Layer ชั้นฐาน

ชั้นล่างสุดของกระเบื้องยาง ที่มีความยืดหยุ่น เพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะ ระหว่างกระเบื้องยางกับพื้นผิวที่ติดตั้ง ไม่หลุดร่อนง่าย บางทีมีการเคลือบสารป้องกันการเกิดเชื้อราด้วย

รู้ไหม? ทำไมกระเบื้องยางถึงทนทาน เนื้อเหนียว แถมกันน้ำได้อีก เพราะว่ากระเบื้องยางนั้นมีเลเยอร์ประกอบเข้าด้วยกันหลายชั้น แต่ละชั้นก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป นับว่าเป็นวัสดุปูพื้นที่ออกแบบมาอย่างดี ใช้งานได้ทั้งพื้นที่เปียก และพื้นที่แห้ง ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย แถมยังติดตั้งง่าย หาซื้อตามท้องตลาดได้ง่าย ราคาไม่แพง

ข้อดี-ข้อเสีย ของกระเบื้องยางแต่ละประเภท

กระเบื้องยางลายไม้

เป็นพื้นไม้ระบบคลิกล็อค มีความหนา 4-5 มิลลิเมตร ผลิตจากไวนิล เรียกว่า พื้นกระเบื้องยาง LVT (Luxury Vinyl Tile) มีคุณสมบัติป้องกันน้ำ และปลวกได้ 100% ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพราะมีราคาลดลงอย่างมาก เหมาะกับพื้นห้องนอน พื้นห้องนั่งเล่น พื้นสำนักงาน และพื้นโรงแรม

ข้อดี

  • ทนน้ำ และทนรอยขีดข่วน
  • หายห่วงเรื่องปลวก
  • ซ่อมแซมได้ง่าย
  • ทนต่อไฟได้

ข้อเสีย

  • เกิดการหดตัว
  • ขนาดของกระเบื้องอาจไม่เท่ากัน
210612-Content-ปูพื้นด้วย-กระเบื้องยาง-03

กระเบื้องยางหินอ่อน

กระเบื้องยาง ลายหินอ่อน มีน้ำหนักที่เบา การติดตั้งก็ง่าย  ไม่จำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในการติดตั้งหินอ่อนก็สามารถติดตั้งได้ ถึงแม้กระเบื้องชนิดนี้จะไม่ใช่สินค้าที่ผลิตจากหินอ่อนจริง ๆ แต่ก็ให้อารมณ์เหมือนกับหินอ่อน อีกทั้งยังสามารถยกขึ้นไปปูบนชั้นสูง ๆ ได้สะดวกและง่ายมากกว่าอีกด้วย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกมากทำไรนักก็สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย

ข้อดี

  • มีความแข็งแรง ทนทาน แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ ช่วยให้อายุใช้งานนานมากขึ้น
  • ต้านทานต่อสารเคมี และน้ำ ช่วยในเรื่องการทำความสะอาด โดยที่เราไม่ต้องกังวลว่าจะมีความเสียหาย
  • มีความยืดหยุ่นสูง เวลาที่เราสัมผัสจะมีความนุ่ม
  • ทนทานต่อสภาวะอากาศ และสิ่งแวดล้อมได้
  • มีอายุการใช้งานที่นานถึง 10-15 ปี ถ้าเราหมั่นดูแลรักษา ใส่ใจในความสะอาดกระเบื้องยาง
  • ราคาไม่แพง
  • ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  • ปูง่าย ใครก็ปูได้ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องง้อช่างอีกแล้ว ปูกระเบื้องได้เอง

ข้อเสีย

  • ในการติดตั้งจะต้องติดตั้งกับพื้นที่เรียบ และมีความสะอาดเท่านั้น
  • ถ้าติดตั้งทับพื้นกระเบื้องเซรามิก ต้องใช้ยาแนวให้เรียบซะก่อน ถึงจะปูได้
  • ไม่ได้ให้ความสัมผัสถึงหินอ่อนจริง
210612-Content-ปูพื้นด้วย-กระเบื้องยาง-04

กระเบื้องยาง แบบคลิ๊กล็อค (Vinly Click Lock)

มีความหนาประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีระบบคลิ๊กเพื่อล๊อคได้ในตัว โดยไม่ต้องใช้กาวปู ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถรื้อไปใช้ที่อื่นได้ภายหลัง โดยไม่ทำให้พื้นเดิมเสียหาย

ข้อดี

  • ปูกระเบื้องง่าย ทำเองได้ ง่าย และรวดเร็ว
  • ทำความสะอาดง่าย ไม่จับฝุ่น หายกังวลได้เลย
  • ปัญหาเรื่องของรอยต่อ กระเบื้องยางจะสวยงามไม่เกิดร่องห่างตลอดอายุการใช้งาน
  • ทนต่อแรงกดทับ มีความคงทน
  • โดนน้ำ กันความชื้นได้ดี
  • ซ่อมแซมเองได้
  • ใช้งานนาน ๆ พื้นไม่บวม

ข้อเสีย

  • ต้องปรับระดับผิวให้เท่ากันก่อนทำการปูพื้น
210612-Content-ปูพื้นด้วย-กระเบื้องยาง-05

กระเบื้องยางแบบม้วน

จะเป็นกระเบื้องที่ขายเป็นม้วน จะมีความกว้างประมาน 1.0-1.20 เมตร ด้านความยาว 10-15 เมตร ในแต่ล่ะรุ่นอาจมีความยาวไม่เท่ากัน เป็นกระเบื้องที่ติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว รอยต่อเชื่อมด้วยความร้อน ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค สิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้

ข้อดี

  • การทำความสะอาด เป็นเรื่องง่ายไปเลย หากมีปัญหาในการทำความสะอาด กระเบื้องชนิดนี้ทำความสะอาดง่าย
  • ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว สามารถติดตั้งด้วยตัวเองได้ ไม่ยาก
  • การยึดเกาะอย่างดี หายกังวลว่าจะลื่นล้มเวลาเดิน และพื้นผิวมีความนุ่มเดินสบาย ไม่เกิดเสียง
  • ราคาไม่แพง ถูกใจคุณได้อย่างแน่นอน ราคาสบายกระเป๋า
  • ช่องระหว่างรอยต่อของกระเบื้อง จะปิดสนิท ลดปัญหาเรื่องฝุ่น และสิ่งสกปรกตามรอยต่อได้มาก
  • ตกแต่งบ้านได้หลากหลายแนว ด้วยมีลวดลายหลากหลายแบบ

ข้อเสีย

  • ไม่ทนต่อกรดและด่าง
  • เกิดรอยขีดข่วนง่าย
  • กระเบื้องยางไม่ทนต่อล้อยาง ควรหลีกเลี่ยงที่เป็นล้อยาง อาจทำให้ผิวหน้ากระเบื้องเสียง่าย

คงจะทราบกันแล้วใช่ไหม ว่ากระเบื้องยางนั้น มีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนที่เราจะเลือกซื้อกระเบื้องยาง ควรตรวจสอบก่อนว่ามีคุณภาพรึเปล่า เหมาะกับบ้านเราไหม ทั้งในเรื่องของการใช้งาน และปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง สำหรับขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่ยากอย่างที่คิด สามารถทำได้เอง เพียงค่อยๆ ทำ และทำอย่างระมัดระวัง ทำตามขั้นตอน แค่นี้ห้องของคุณก็มีพื้นห้องที่สวยงามได้ไม่ยากเลย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<