ก่อนสร้าง สระว่ายน้ำ ควรรู้อะไรบ้าง?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังจะสร้างบ้าน ก็มักอยากจะมี “สระว่ายน้ำ” ภายในบ้านอย่างแน่นอน ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และติดตั้งอุปกรณ์ สำหรับสระว่ายน้ำมีราคาถูกลง เจ้าของสามารถกำหนดขนาดและรูปทรงได้เองตามต้องการ สระว่ายน้ำยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้บ้านและสวนดูสวยงามโดดเด่นยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการเสริมฮวงจุ้ยของบ้านได้อีกด้วย แต่ก่อนคิดลงมือสร้างสระว่ายน้ำในบ้าน มีอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อน สร้างสระว่ายน้ำ ตาม KACHA จะพาไปดูกันดีกว่า
วัตถุประสงค์การใช้งาน สระว่ายน้ำ เป็นอย่างไร?
ก่อนตัดสินใจสร้างสระว่ายน้ำในบ้าน เจ้าของบ้านควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการมีสระว่ายน้ำก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันสระว่ายน้ำนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อออกกำลังกาย หรือเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่สระว่ายน้ำยังเปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชื้นงามภายนอกบ้าน ที่ช่วยเพิ่มมุมมองอันสวยงามจากภายในสู่ภายนอก หรือเจ้าของบ้านก็ต้องการสระว่ายน้ำที่อยู่คู่ไปกับบ้านแสนรักให้นานที่สุดอีกด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการใช้งาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบนั่นเอง
สิ่งควรรู้ก่อน สร้างสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำอาจไม่ใช่องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการอยู่อาศัย แต่สระว่ายน้ำ คือ ความฝันของใครหลายคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างสระว่ายน้ำ จะมีอะไรบ้าง
-
การเลือกตำแหน่งของสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้บ้านได้ กรณีที่เจ้าของบ้านต้องการเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวบ้าน ตำแหน่งของสระว่ายน้ำ ควรอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น หน้าบ้าน หรือห้องรับแขก ในทางกลับกัน หากเจ้าของบ้านต้องการความเป็นส่วนตัว อาจวางตำแหน่งของสระว่ายน้ำให้อยู่ในบริเวณที่เป็นส่วนตัวที่สุด เช่น หลังบ้าน เป็นต้น เพื่อสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา แม้มีกิจกรรมอื่น ๆ ภายในบ้าน
ข้อแนะนำ :
|
-
รูปทรงของสระว่ายน้ำ
การเลือกรูปทรงสระว่ายน้ำนั้น ไม่มีข้อกำหนด หรือกฎหมายบังคับ ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล คอนเซ็ปต์ของผู้ออกแบบ และความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ รูปทรงของสระว่ายน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
- สระว่ายน้ำรูปทรงเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือวงกลม หากเป็นสระว่ายน้ำตามมาตรฐานของผู้ผลิตทั่วไป มักเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 8 เมตร หรือ 5 x 10 เมตร และมีความลึกประมาณ 1.20 เมตร ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะกับบ้านทั่วไปที่มีพื้นที่จำกัด หรือผู้ที่ต้องการระยะว่ายน้ำที่เหมาะกับการออกกำลังกาย เนื่องจากบ้านทั่วไปมักเป็นรูปสี่เหลี่ยม การใช้รูปทรงเรขาคณิต จะดูลงตัวกับผังอาคารมากกว่า
- สระว่ายน้ำทรงอิสระ การสร้างและการออกแบบสระที่มีความหลากหลาย ให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่ และน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ แต่ข้อควรระวังในการออกแบบทรงอิสระก็คือ การสร้างสระแบบที่มีซอก มีมุมมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้สระใช้งานไม่ได้จริงและยากต่อการทำความสะอาดด้วย
-
ขนาดของสระว่ายน้ำ
นอกจากต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกรูปแบบสระว่ายน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับรองลงมา คือ ขนาดพื้นที่ที่จะสร้างสระว่ายน้ำ ทั้งนี้ขนาดสระว่ายน้ำควรให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งานหรือสมาชิกในบ้านด้วย
รูปแบบการใช้งานสระบ้านส่วนตัว กว้าง x ยาว (เมตร) ความลึก (เมตร)
- สำหรับเด็ก 3 x 5 เมตร (ลึก 0.60-0.90 เมตร)
- สำหรับผู้ใหญ่ 4 x 8, 5 x 10, 6 x 12 เมตร และ 7 x 14 (ลึก 1.20-1.50 เมตร)
- สำหรับออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า 3 x 10 (ลึก 1.20-1.50 เมตร)
- สำหรับติดตั้งสปริงบอร์ด ไม่น้อยกว่า 6 x 12 (ลึก 2.50 เมตรขึ้นไป)
ข้อแนะนำ :
|
-
วัสดุบุพื้น โมเสค vs กระเบื้อง
การใช้กระเบื้องโมเสค ทำให้สระดูมีมิติ ความกว้างความลึกมากกว่า และตกแต่งเล่นสี เล่นลาย ได้มากกว่า มองเห็นการพลิ้วไหวที่เกิดจากผิวน้ำ ทำให้เห็นลวดลายสวยงาม แต่กระเบื้องโมเสค มีต้นทุนค่าวัสดุ และค่าแรงสูงกว่ามาก ส่วนการปูกระเบื้องเซรามิก มีการปูและซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่ายกว่า แต่ไม่สามารถเล่นสีเล่นลายได้เหมือนกระเบื้องชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยม
-
ราคา
ราคาของการก่อสร้างสระว่ายน้ำ ขึ้นอยู่กับขนาด ระบบ และการบำบัดน้ำ ระบบสระน้ำ มี 2 แบบ คือ แบบน้ำล้นและแบบ skimmer ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และพื้นที่ติดตั้งสระ เช่น มีพื้นที่น้อย งบประมาณน้อย อาจเลือกสระสำเร็จรูป เพราะมีราคาและค่าดูแลรักษาถูกกว่า แต่มีข้อจำกัด เรื่องของรูปทรง ระบบและการบำบัดน้ำ
วิธีดูแลสระว่ายน้ำ
1. เตรียมพร้อมก่อนเปิดสระ
หากคุณปิดสระว่ายน้ำชั่วคราวในบางฤดูกาลที่ไม่มีคนลงใช้ ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบสระทั้งคราบสกปรก และกวาดเศษใบไม้ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเปิดผ้าคลุมสระว่ายน้ำออกอีกครั้ง จากนั้นใช้สายยางเติมน้ำลงไปในสระจนถึงระดับน้ำปกติ เดินเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยปิดไว้ เพื่อให้น้ำไหลเวียนผ่านเข้าไปในระบบ เปิดช่องสกิมเมอร์ เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่ผิวน้ำ วัดระดับค่า pH ในน้ำ ซึ่งอาจใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ หรือมากกว่านั้นจนกว่าน้ำในสระจะถึงจุดสมดุลที่คนสามารถลงเล่นได้ เปิดให้ปั๊มทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และลดความเร็ว 1-2 ชั่วโมงต่อวันจนกว่าน้ำจะสมดุล
2. เฝ้าระวังสระหากอาศัยอยู่ในพื้นที่หนาวติดลบ
หากคุณมีบ้านอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวติดลบด้วย สระว่ายน้ำของคุณก็จะมีเรื่องที่ต้องระวังเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย เพราะการแข็งตัวของน้ำที่ค้างอยู่ในท่อท่ามกลางอากาศที่หนาวจัด สามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้ วิธีแก้ คือ ให้ใช้เครื่องอัดอากาศเป่าไล่น้ำออกจากปั๊มออกให้หมด เมื่อคุณปิดสระ รวมทั้งกำจัดน้ำออกจากเครื่องกรองด้วย ถอดปลั๊กปั๊มน้ำ ปั๊มสารเคมีและอื่น ๆ จากนั้นให้ทำความสะอาดสระว่ายน้ำด้วยการขัดผนัง ทำความสะอาดตะกร้าสกิมเมอร์ ปิดวาล์ว ลดระดับน้ำลงมาให้ต่ำกว่าเครื่องผลิตคลอรีน 45 เซนติเมตรโดยประมาณ และคลุมสระว่ายน้ำ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกลงไป
3. หารอยรั่วให้เจอแล้วทำการแก้ไข
บางครั้งมันก็ยากที่จะแยกว่าน้ำในสระที่หายไปเกิดจากการระเหยหรือว่าสระรั่วกันแน่ คุณสามารถทำการทดสอบได้โดยเติมน้ำลงในถังพลาสติก 3 ใน 4 ของความจุ แล้วขีดเครื่องหมายที่ตำแหน่งระดับน้ำภายในถังไว้ จากนั้นนำถังลงไปใส่ในสระแล้วทำเครื่องหมายของระดับน้ำภายในสระไว้ที่ตัวถังด้านนอกแล้วปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วัน หากน้ำในถังและน้ำในสระหายไปพอกัน ๆ แปลว่ามันเกิดจากการระเหย แต่หากระดับน้ำในสระหายไปมากกว่าระดับน้ำในถังแปลว่าสระของคุณมีรอยรั่ว ได้เวลาโทรตามช่างมาได้เลย
4. ฆ่าเชื้อน้ำในสระ
แอมโมเนียและไนโตรเจน เป็นสิ่งปนเปื้อนตามธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำได้ตลอดเวลา คุณสามารถฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำได้ ด้วยการใช้คลอรีน บางสระอาจจำเป็นต้องทำสัปดาห์ละครั้ง แต่บางสระอาจอยู่ได้นานมากกว่านั้น
5. รักษาค่า pH
ค่า pH ของน้ำในสระที่ 7.2-7.8 ถือว่าอยู่ในช่วงกำลังดีและปลอดภัยต่อการลงเล่นน้ำ คุณสามารถเช็คค่า pH ของสระว่ายน้ำได้ด้วยตัวเองโดยการใช้ชุดอุปกรณ์การวัดค่า จากการนำตัวอย่างน้ำในสระมา แล้วหยดน้ำยาทดสอบลงไป เพื่อเทียบสีหรือว่าจะใช้เป็นอุปกรณ์ที่ต้องจุ่มลงไปในสระโดยตรง แล้วค่อยนำออกมาเทียบกับชาร์ตสีข้างนอกก็ได้
6. ตรวจสอบระดับน้ำในสระ
โดยปกติแล้วน้ำในสระ สามารถหายไปได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการระเหยตามธรรมชาติและการกระฉอกออกจากการลงเล่นน้ำ ทุกครั้งที่คุณทำความสะอาดสิ่งสกปรกจากสกิมเมอร์ ให้ลองสังเกตระดับน้ำว่าไม่ควรต่ำกว่าระดับของสกิมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ ไม่เช่นนั้นปั๊มอาจเกิดความเสียหายได้ หากเห็นว่าน้ำเริ่มต่ำลงให้ใช้สายยางฉีดเติมน้ำลงไป
7. เครื่องทำน้ำอุ่นสระว่ายน้ำ
เครื่องทำน้ำอุ่นสระว่ายน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการการดูแลน้อยที่สุดจากเหล่าบรรดาอุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งหมด เครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊ส สามารถใช้งานได้ไปยาว ๆ ถึง 2 ปีโดยไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นแบบไฟฟ้ายิ่งใช้งานได้นานกว่านั้น แต่ถ้าหากเกิดปัญหาขัดข้องใดกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยตรงมากกว่าพยายามที่จะซ่อมเอง
8. ทำความสะอาดตัวกรอง
จริงอยู่ที่เมื่อมีสิ่งสกปรกมาติดที่ตัวกรองเยอะ ๆ แล้วคุณควรทำความสะอาดมัน แต่จุดเล็ก ๆ ที่ควรระวัง คือ ไม่ควรทำความสะอาดตัวกรองบ่อยจนเกินไป เนื่องจากสิ่งตกค้างที่มีอยู่ในตัวกรองสามารถช่วยดักจับอนุภาคสกปรกอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน จุดสังเกตง่าย ๆ ว่าเมื่อใดได้เวลาทำความสะอาดตัวกรองแล้วให้ดูที่การไหลเวียนระหว่างเกจวัดแรงดันกับ flow meter หากมีค่าต่างกัน 4.5-6.8 กิโลกรัมต่อตารางนิ้วแล้วก็ให้ทำความสะอาดได้เลย
9. ดูดและขัด
ควรดูดทำความสะอาดสระว่ายน้ำทุกสัปดาห์ เพื่อให้น้ำใสและลดระดับสารเคมีในน้ำ รวมทั้งขัดผนังสระ เพื่อลดการสะสมตัวของแคลเซียม การเลือกแปรงขัดก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำผนัง แปรงแน่น ๆ ใช้กับขอบสระคอนกรีต และแปรงขนนุ่มใช้กับไวนิล หรือไฟเบอร์กลาส ในส่วนของพื้นกระเบื้องให้ใช้แปรงขนอ่อนเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน
10. ตักสิ่งสกปรกจากผิวน้ำ
ตักสิ่งสกปรกจากผิวน้ำทุก ๆ 2-3 วัน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการรักษาสระว่ายน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะหากปล่อยนานไป เศษซากต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ อาจจมลงและยากต่อการจัดการ ใช้กระชอนด้ามยาวตักใบไม้ แมลง และสิ่งไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ออกจากผิวน้ำ และอย่าลืมทำความสะอาดตะกร้ากรองขยะสัปดาห์ละครั้ง เพียงเท่านี้สระว่ายน้ำของคุณก็จะดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อควรรู้ก่อนที่จะ สร้างสระว่ายน้ำ ดังนั้นก่อนจะสร้างสระว่ายน้ำ ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนทุกครั้งด้วย เพื่อความราบรื่นในการก่อสร้าง แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในระยะยาว หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง สระว่ายน้ำ ไม่มากก็น้อย