สีกันสนิม เป็นสีรองพื้นที่ใช้ทาลงบนวัสดุเพื่อให้สีเคลือบติดกับวัสดุนั้น มีคุณสมบัติช่วยปกป้องการเกิดสนิม สีกันสนิมที่ดีจะช่วยไม่ให้เหล็กเกิดสนิมหรือช่วยชะลอระยะเวลาการเกิดสนิทให้ยืดออกไป ซึ่งในปัจจุบันเหล็กนั้นมีราคาแพงมากขึ้นทุกวัน การใช้งานเหล็กอย่างคุ้มค่า คุ้มราคา คือการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมจะดีที่สุด และสีกันสนิมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานเหล็กนั่นเอง ????
เมื่อรู้จัก “สีกันสนิม” แล้ว ถึงเวลาที่ต้องเลือกซื้อสีกันสนิม สิ่งสำคัญที่ควรต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ สารที่เป็นส่วนประกอบในสี ว่ามีคุณสมบัติในการกันสนิมได้ดีมากน้อยแค่ไหน วันนี้ KACHA จะพาทุกคนไปดูและเลือกใช้ให้เหมาะสมกัน . . .
► ประเภทของสีกันสนิม มีอะไรบ้าง?
???? สีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่ (Epoxy Coating)
สีรองพื้นกันสนิมชนิดนี้เป็นสีที่มีคุณภาพสูงมาก สามารถทนทานต่อแรงเสียดทานและการขูดขีดได้เป็นอย่างดี แต่มีราคาค่อนข้างสูง มีส่วนผสมที่เป็นสารหลายชนิด แม้จะมีคุณภาพดี แต่ขั้นตอนการทำงานจะซับซ้อนขึ้นไปเนื่องจากผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้ผสมสีเอง แม้แต่เรื่องของส่วนผสมต้องเป็นยี่ห้อเดียวกันและอัตราส่วนในการผสมต้องเป็นไปตามที่กำหนด ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะมีผลทำให้สีเกิดการผิดเพี้ยนหรือคุณสมบัติในการกันสนิมลดลง สีอีพ็อกซี่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานของสีเป็นพิเศษ ไม่ต้องคอยมาทาสีใหม่อยู่บ่อย ๆ ลักษณะงานที่ใช้สีอีพ็อกซี่ เช่น เครื่องบิน สิ่งก่อสร้างที่อยู่ใกล้ทะเล เสาเหล็กที่อยู่สูงหรืองานเหล็กที่มีราคาสูง เป็นต้น
ผู้ที่จะใช้งานสีรองพื้นชนิดนี้จึงเป็นผู้ที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ หากผสมในอัตราส่วนที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้สีไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีพอ
???? สีรองพื้นกันสนิมอัลคิดเรซิน (Alkyd Resin)
เป็นสีรองพื้นกันสนิมชนิดที่นิยมใช้กันมาก เป็นผงสีเรดออกไซด์ กันสนิมได้ดีพอควร เนื้อสีมีความยืดหยุ่นดี ทนต่อแรงเสียดทานและการขูดขีดได้ดี สามารถใช้งานได้ตั้งแต่งานสีทั่วไปจนถึงงานคุณภาพปานกลาง ในขั้นตอนของการผสมสีนั้น ควรระวังไม่ผสมน้ำมันมากเกินไปเพราะจะทำให้สีที่ได้นั้นจางและแทบไม่เหลือสารกันสนิมอยู่เลย ไม่ควรใส่ส่วนผสมหลายอย่าง หากใช้ทินเนอร์หรือน้ำมันสน ให้เลือกผสมอย่างใดอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้องการให้สีกันสนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรทาสีจริงทับอีกครั้ง
???? สีรองพื้นกันสนิมเรดเลด (Red Lead)
สีรองพื้นกันสนิมชนิดนี้เป็นสีที่ป้องกันการเกิดสนิมได้ดีมาก ราคามีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงสูง มักมีการใส่ส่วนผสมประเภทตะกั่วและดีบุกในรูปของสารละลายลงไปด้วยเพื่อทำให้สีสามารถกันสนิมได้มากขึ้น และมีการผสมสารเพิ่มคุณภาพอื่น เช่น สารต่อต้านการเกิดสนิม ผงสีชนิดเรดเลดสีส้ม สารเพิ่มความแข็งแรงความฟิล์มสี สารเพิ่มการยึดเกาะของสี ทำให้สีชนิดนี้มีประสิทธิภาพดีเหมาะในการใช้งานอุตสาหกรรม งานโครงสร้างขนาดใหญ่และงานจักรกล
ความพิเศษของสีกันสนิมประเภทนี้ คือ มีการเพิ่มส่วนผสมพิเศษลงไปด้วยเช่น ดีบุกและตะกั่ว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกันสนิมให้ดียิ่งขึ้น
สีกันสนิมยังมีอีกหลากหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันจะเป็น 3 ประเภทข้างต้น การเลือกสีกันสนิมอย่างถูกต้องและให้เหมาะกับงานนั้น ควรเลือกที่มีประสิทธิภาพในการกันสนิมได้สูงสุดจึงจะป้องกันการเกิดสนิมได้จริง จึงจะคุ้มค่ากับงบประมาณ ค่าแรงและเวลาที่ต้องเสียไปกับการทำงาน สิ่งสำคัญคือ ควรผสมและใช้สีตามขั้นตอนที่ระบุไว้บนฉลากเท่านั้น เพื่อให้สีที่ได้มีคุณภาพดีตรงกับการใช้งานด้วย
ข้อแนะนำในการใช้สีกันสนิม |
---|
► เตรียมพื้นผิวให้แห้งและไม่มีสนิม สีเก่า หรือคราบน้ำมัน |
► ทาหรือพ่นให้บางในชั้นแรก ตามด้วยการทาสีทับหน้า เว้นระยะการทาหรือพ่นทับในแต่ละชั้นตามที่ฉลากกำหนด จึงจะได้สีที่เรียบเนียนเสมอกัน |
► สีกันสนิมต่างยี่ห้อกัน ห้ามใช้ผสมกัน ยกเว้นสีจริงที่ทาทับหน้าใช้คนละยี่ห้อได้ แต่ไม่ควรนำมาผสมกัน |
► สำหรับสีที่เตรียมผสมไว้ใช้งาน ควรใช้ให้หมดในครั้งเดียว ไม่เก็บไว้สำหรับงานต่อไป |
► สีกันสนิมที่หมดอายุแล้ว ไม่ควรนำมาใช้ เพราะสารเคมีที่ผสมอยู่จะเสื่อมสภาพไป |
► ห้ามนำสีไปผสมกับส่วนผสมอื่นที่ผู้ผลิตไม่ได้กำหนดไว้ เลือกส่วนผสมตามเบอร์ที่กำหนด เช่น เบอร์ทินเนอร์ เป็นต้น |
► เลือกใช้สีรองพื้นกันสนิมสีอ่อน ในกรณีที่ต้องการทาสีจริงเป็นสีอ่อน เพื่อป้องกันการผิดเพี้ยนหรือสีจริงดูหมอง |
► สีกันสนิมที่ดีจะไม่ตกตะกอนหรือมีลักษณะแข็ง เมื่อผสมน้ำมันควรผสมง่ายเข้ากันได้เร็ว |
การเลือกสีรองพื้นกันสนิม สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกสีกันสนิม คือ สารที่ประกอบ ส่วนผสมของสี ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติการยึดเกาะแตกต่างกัน ควรเลือก คุณภาพของเนื้อสีควรติดทนนาน ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นอันเป็นปัจจัยทำให้เกิดสนิม มีความปลอดภัยสูง เช่น ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 2625-2557) ไร้สารตะกั่วและไม่มีโลหะหนักผสม อันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อที่จะไม่ได้มาซ่อมแซมใหม่ในภายหลังนั่นเอง
► ขั้นตอนการทาสีเหล็กอย่างมืออาชีพ ทำได้อย่างไร?
1. การเตรียมพื้นผิว
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานเหล็กนั้น คล้ายกับการเตรียมพื้นผิวงานทาสีน้ำ คือ ต้องทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด โดยการทำความสะอาดนั้นเราจะใช้ ทินเนอร์ 3A หรือน้ำมันสนในการเช็ด หากพื้นผิวมีคราบสนิม ต้องใช้กระดาษทรายหรือเครื่องเจียร กำจัดคราบสนิมออกให้มากที่สุดหรือออกให้หมดได้เลยยิ่งดี จากนั้นเตรียมตัวทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็กต่อไป
2. การทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก
ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะต้องรีบทำ หลังจากทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากคราบสิ่งสกปรก คราบน้ำมันเเล้ว ต้องทาสีรองพื้นกันสนิมภายใน 4 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นจะมีโอกาสเกิดคราบสนิมอีก อาจจำทำให้เสียเวลามานั่งขัดทำความสะอาดอีก ซึ่งเป็นงานที่ซ้ำซ้อนมาก
3. การทาสีทับหน้า
สีทับหน้าที่ใช้ทาส่วนใหญ่เเล้วจะเป็นสีน้ำมัน เพราะพื้นผิวเหล็กจะมีความเรียบมันมาก เมื่อทาด้วยสีน้ำมันเเล้ว จะดูสวยงาม สดใส เมื่อเจอเเสงเเดดยิ่งดูสวยงามขึ้นไปอีก
???? สีกันสนิมในท้องตลาด มีอะไรบ้าง?
ผลิตภัณฑ์สีรองพื้นกันสนิมในท้องตลาดนั้น ส่วนใหญ่เลยจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ สีรองพื้นกันสนิมเหล็กทั่วไป เเละ สีรองพื้นกันสนิมเหล็กอุตสาหกรรม
สีรองพื้นกันสนิมเหล็กทั่วไป | สีรองพื้นกันสนิมเหล็กอุตสาหกรรม |
---|---|
สีรองพื้นชนิดนี้นิยมใช้มากตามงานก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นสีเเดงเลือดหมูหรือสีเทา สีชนิดนี้เป็นประเภทอัลคิดเรซิน ระยะเวลาการเเห้งตัวประมาณ 6-8 ชั่วโมง เเละใช้ทินเนอร์หรือน้ำมันสน เป็นตัวเจือจางทำละลาย จะสามารถป้องกันสนิมเหล็กได้ดี | สีรองพื้นประเภทนี้นิยมใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมหรือตามชายฝั่งทะเล ที่มีสภาวะเเวดล้อมที่รุนเเรง เป็นสีประเภทอีพ็อกซี่ (Epoxy Coating) ซึ่งมีความเเข็งเเรง ทนทานต่อสารเคมีได้ดี จะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ ส่วน A เเละ ส่วน B เวลาใช้งานต้องนำทั้ง 2 ส่วนมาผสมกัน จากนั้นผสมทินเนอร์ตามที่ผู้ผลิตเเนะนำ ห้ามนำทินเนอร์อื่นมาผสมเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สีไม่เเห้งได้ และจะต้องกำหนดความหนาฟิล์มสีเเห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศทะลุผ่านฟิล์มสีไปโดนเหล็กได้ ดังนั้นความหนาของฟิล์มสีเหล็กมีผลอย่างมาก |
❝ เห็นไหมว่า . . .การรู้จักเลือกซื้อสีกันสนิมอย่างถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานและมีขั้นตอนในการใช้งานที่ถูกวิธี จะทำให้สีกันสนิมนั้นเกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันวัสดุอย่างเหล็กที่มีราคาแพงไม่ให้เกิดสนิมและให้ใช้งานได้ยาวนานและคุ้มค่าด้วยเช่นกัน ???? ❞