สูตรคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก สร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้า ทำได้อย่างไร?
สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงานต่าง ๆ ที่กำลังจะออกแบบสร้างโกดัง โรงงาน หรืออาคารโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป สิ่งที่ควรคำนึงอีกหนึ่งสิ่ง คือ การออกแบบงานพื้นให้เหมาะสมกับการใช้งานตามจริง และตามงบประมาณด้วย
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ระบบพื้นวางบนดิน สูตรคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก ก่อนสร้างโกดัง โรงงานว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
พื้นโกดัง พื้นโรงงานมีกี่แบบ?
พื้นโกดัง โรงงานอุตสาหกรรม มีวัสดุหลายแบบที่แตกต่างกันออกไปให้เลือกใช้ โดยพื้นที่นิยมใช้ มีดังนี้
พื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy)
เป็นประเภทพื้นอุตสาหกรรม ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นพื้นความแข็งแกร่งสูง ใช้งานได้นาน ดูแลง่าย มีคุณสมบัติยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันรอยเปื้อน และของเหลวหกใส่ เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม หรืออุตสาหกรรม มี 3 แบบ คือ
- แบบกันลื่นหลายชั้น สำหรับบริเวณที่ชื้นอยู่ตลอดเวลา บริเวณที่ต้องใช้ของเหลว หรือไขมัน
- แบบปรับระดับเองได้ (Self-leveling) สำหรับบริเวณที่ยานพาหนะ และผู้คนต้องสัญจรไปมา และบริเวณปลอดเชื้อ
- แบบผิวเปลือกส้ม นิยมใช้กับบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมแห้ง โดยเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ
อ่านบทความ: พื้นอีพ็อกซี่ คืออะไร? มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
กระเบื้องยาง
มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี สามารถรองรับการเดินสัญจรที่แน่นหนา แต่มีข้อเสีย คือ ต้องทำความสะอาด บำรุงรักษาผิวหน้าอยู่บ่อย ๆ เหมาะสำหรับโรงยิม หรือบริเวณกลางแจ้ง เพราะมีคุณสมบัติกันลื่นตามธรรมชาติ
พื้นคอนกรีต
อีกหนึ่งตัวเลือกที่มักใช้กัน มีความแข็งแกร่ง มีความทนทานสูงสุดในงานก่อสร้าง เช่นเดียวกับพื้น Epoxy เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมปฏิบัติงานที่ต้องใช้สารอันตราย สามารถแบ่งประเภทตามผิวหน้าพื้นที่ได้หลังเสร็จงาน ดังนี้
- พื้นคอนกรีตขัดเงา (Polished) คือ ผิวหน้าคอนกรีตคุณภาพสูงสุด มีความแข็งแกร่งมาก ทำความสะอาดง่าย สามารถใช้กับทางเข้าโกดัง คลังสินค้าที่มีรถบรรทุกหนักต้องวิ่งผ่านไปมา มักใช้นอกสถานที่ มีพื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ และเป็นเนื้อเดียวกัน
พื้นที่โกดัง โรงงาน ควรรับน้ำหนักเท่าไหร่?
สูตรคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก ตามกฎกระทรวงได้กำหนดให้โกดัง คลังสินค้า หรือโรงงาน รับน้ำหนักปลอดภัยขั้นต่ำได้ไม่น้อยกว่า 500 กก./ตรม. ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม และการใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานสิ่งพิมพ์ต้องการให้มีพื้นที่วางม้วนกระดาษวัตถุดิบ เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 1.2 เมตร น้ำหนักม้วนละ 1,200 กก. วางซ้อนกัน 5 ม้วน สามารถคำนวนพื้นที่รับน้ำหนักได้ ดังนี้
พื้นโรงงานที่วางม้วนกระดาษ น้ำหนักทั้งหมด คือ 5×1,200 เท่ากับ 6,000 กก. วางบนพื้นที่จริง 1.2×1.2 เมตร พื้นที่เท่ากับ 1.44 ตรม. น้ำหนักที่กระทำกับพื้น เท่ากับ 6,000/1.44 เท่ากับ 4,167 กก./ตรม.
จึงควรออกแบบพื้นโรงงาน ให้รับน้ำหนักที่ 4,500 กก./ตรม. หรือเผื่อไว้ที่ 5,000 กก./ตรม. จึงจะเหมาะสมกับการใช้งานจริงให้ปลอดภัยนั่นเอง
- ในโรงงาน มีเครื่องจักรหนัก 20 ตัน ขนาดเครื่อง กว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร สามารถคำนวนพื้นที่รับน้ำหนักได้ ดังนี้
น้ำหนักเครื่องจักร ที่กระทำกับพื้นโรงงาน เท่ากับ 20,000 หารกับ (2×6=12) เท่ากับ 1,667 กก./ตรม. และออกแบบเทพื้นโรงงาน โกดัง ให้รับน้ำหนักที่ 2,000 กก./ตรม.
หากมีเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก ๆ หรือมีการสั่นสะเทือน ควรจะออกแบบอาคารส่วนนั้น ๆ แยกออกจากพื้นโรงงานทั่วไป เพื่อความปลอดภัยด้วย
ทิ้งท้ายสักนิด ระบบพื้นวางบนดิน มีแบบไหนบ้าง?
ระบบพื้นวางบนดิน (Slab on ground system) การออกแบบงานพื้นให้เหมาะสมกับการใช้งานตามจริง และตามงบประมาณ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับพื้นบนดิน เพื่อเป็นความรู้ ในการจ้างผู้รับเหมา วิศวกรสร้างบ้าน หรือโกดังโรงงาน สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- Typical slab เหมาะกับพื้นลาน หรือพื้นบ้านทั่วไป
- Raft slab เหมาะกับพื้นที่ต้องรับน้ำหนักหนักโครงสร้างอาคารขนาดเล็ก เพิ่มความแข็งป้องกันการแอ่นตัวของพื้น
- Waffle slab คล้าย ๆ กับ Raft slab แต่จะมีค่าความแข็งมากกว่า ทำให้รับน้ำหนักได้ดีกว่า หากมีพื้นที่ขนาดเท่ากัน
จบไปแล้ว สูตรคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก ที่นำมาฝากกัน คงพอจะเป็นแนวทางให้ไปลองคำนวณพื้นที่ ก่อนตัดสินใจสร้างโกดัง หรือจ้างผู้รับเหมาต่าง ๆ หวังว่า บทความนี้ จะพอให้ความรู้แก่ผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ อย่าลืมติดตามข่าวสาร สาระดี ๆ จากเราได้อีก ในบทความถัดไป
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- โครงสร้างเหล็ก vs โครงสร้างปูน เลือกสร้างแบบไหนดีและต่างกันอย่างไร?
- BOQ คืออะไร จำเป็นไหมในการก่อสร้างบ้าน?
- เรื่องต้องรู้ ระยะร่นโกดัง ระยะร่นโรงงาน ก่อนวางแปลนสร้าง มีอะไรบ้าง?
- “กฎหมายผังเมือง” ที่ควรรู้สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆ มีอะไรบ้าง?
- การวางผังโรงงาน คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
- โกดังสำเร็จรูป VS โกดังสร้างเอง แบบไหนดีกว่ากัน?
- รู้จักกับ มาตรฐานโรงงาน มีอะไรบ้าง?
- ประตูโกดัง ประตูโรงงาน มีกี่แบบ เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย