“งานก่อสร้าง” คืออะไร? แต่ละประเภทเป็นอย่างไรบ้าง?
หลาย ๆ คน ต้องรู้จักกับ งานก่อสร้าง กันดีอยู่แล้ว เป็นงานที่จัดประกอบ ก่อตั้งโครงสร้างพื้นฐานจนก่อขึ้นมาเป็นตัวอาคาร บ้านเรือน และระบบสาธารณูปโภค บทความนี้ KACHA จะพาไรู้จักกับ ประเภทงานก่อสร้าง งานก่อสร้าง คืออะไร มีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน
การก่อสร้าง (Construction) คือ งานที่ทำให้เกิดการประกอบ ติดตั้งให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบก่อสร้างต่าง ๆ เป็นงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย งานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก เป็นต้น และช่างที่ปฏิบัติงาน จะเรียกตามประเภทของงาน เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างทาสี เป็นต้น หรือเรียกโดยรวม คือ ช่างก่อสร้าง ส่วนผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้าง เรียกว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน นั่นเอง
ประเภทของงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง?
เมื่อพูดถึงงานก่อสร้างก็จะมีหลากหลายรูปแบบมากมาย แบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. งานก่อสร้างถนนและระบบสาธารณูปโภคด้านขนส่ง
- งานก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมแรง ถนนลาดยางมะตอย
- งานก่อสร้างระบบทางด่วน ด่านเก็บเงิน
- งานก่อสร้างทางรถไฟ รางรถไฟ
- งานก่อสร้างสนามบิน รันเวย์ ขึ้น-ลง
- งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ท่าเรือขนส่งสินค้า
2. งานก่อสร้างอาคาร
- งานก่อสร้างบ้านพักอาศัย บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม
- งานก่อสร้างบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ เช่น แฟลต หรือคอนโด
- งานก่อสร้างโรงเรียน โรงอาหาร โรงยิม
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
- งานก่อสร้างทางด้านอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โรงเก็บของต่าง ๆ
- งานก่อสร้างอาคารทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ เมรุเผาศพ ศาลเจ้า เป็นต้น
- งานก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอสมุด อาคารที่พักผู้โดยสาร สนามกีฬา เป็นต้น
3. งานระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ
- งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า
- งานก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปา
- งานก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย
- งานก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะ และระบบกำจัดขยะแบบอื่น ๆ
- งานก่อสร้าง ท่อส่งน้ำ ท่องส่งแก๊ส ท่อส่งน้ำมัน
4. งานก่อสร้างระบบชลประทาน
- งานก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ
- งานก่อสร้างคลองชลประทาน
- งานก่อสร้างอาคารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชลประทาน
ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง คืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งทำงานประสานกัน คือ เจ้าของ ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยที่แต่ละกลุ่มมีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้
1. เจ้าของ
เป็นผู้ที่ทำให้เกิดงานหรือโครงการขึ้น เป็นผู้ที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้าง หน้าที่หลักสรุปได้ ดังต่อไปนี้
- รับผิดชอบในการระบุรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ให้แก่โครงการ เช่น ความต้องการในการใช้อาคาร ปริมาณน้ำมันดิบต่อวันที่จะต้องกลั่น ปริมาตรก๊าซที่จะต้องส่งตามท่อในหนึ่งชั่วโมง ปริมาณเหล็กเส้นที่จะต้องผลิตต่อวัน
- กำหนดว่าจะเกี่ยวข้องกับโครงการในระดับใด เช่น กระบวนการตรวจทาน (Review Process) รายละเอียดของรายงานที่ต้องการ (Required reports) งานที่จะต้องอนุมัติ (Levels of Approval)
- รับผิดชอบในการกำหนดต้นทุนโดยรวม การจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กำหนดเวลาของงานหลัก (Major Milestones) และวันสิ้นสุดโครงการ
2. ผู้ออกแบบ
ประกอบด้วย สถาปนิก และวิศวกรด้านต่าง ๆ เป็นผู้ที่แปลความต้องการของเจ้าของให้อยู่ในรูปของแบบรูป และรายการข้อกำหนด เพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง สามารถทำการก่อสร้างได้ตามที่เจ้าของต้องการ โดยมีหน้าที่ ดังนี้
- รับผิดชอบในการคำนวณออกแบบทางเลือกต่าง ๆ เช่น จัดทำแบบรูป และรายการข้อกำหนดตามความต้องการของเจ้าของการออกแบบต้องทำตามบทบัญญัติ ข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการออกแบบต้องมีกำหนดเวลาที่สอดคล้องกับกำหนดเวลาหลักของเจ้าของ และกำหนดเวลาในการก่อสร้างของผู้รับเหมา
- ตรวจงาน ก่อสร้างเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
- ตรวจแบบรายละเอียดก่อสร้าง (Shop drawing)
- ประมาณราคาค่าก่อสร้างคร่าว ๆ ให้แก่ทางเจ้าของงาน เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
- ให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง
- กลั่นกรองการขออนุมัติใช้วัสดุจากผู้รับเหมา
การออกแบบ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพ และราคาค่าก่อสร้างอย่างมาก ดังนั้น ผู้ออกแบบต้องทำงานประสานกับฝ่ายเจ้าของงานอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถออกแบบให้ตรงกับความต้องการของทางเจ้าของงานให้มากที่สุด
3. ผู้รับเหมาก่อสร้าง
มีหน้าที่ทำงานให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา ประกอบไปด้วย แบบรูป รายการข้อกำหนด ขอบเขตงาน และเงื่อนไขสัญญาอื่น ๆ ขั้นตอนก่อสร้างเป็นขั้นตอนที่สำคัญค่อนข้างมากเพราะมีผลต่อ งบประมาณ ระยะเวลาก่อสร้าง ที่อาจจะบานปลายได้ อีกทั้งการใช้งานโครงการและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามีผลอย่างมากจากคุณภาพของงานที่ทำในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะต้องประมาณราคาโครงการให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด จัดทำกำหนดเวลาทำงานให้เป็นไปได้ จัดระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสำหรับควบคุมต้นทุน กำหนดเวลา และคุณภาพงาน
อ่านบทความ:
วัสดุและอุปกรณ์จำเป็นในงานก่อสร้าง
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่
- วัสดุพื้นฐาน คือ วัสดุที่เป็นฐานในการผลิตวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ กรวด หิน ทราย ซีเมนต์ พลาสติก กระจก เป็นต้น
- วัสดุผลิตภัณฑ์ คือ วัสดุที่ผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีตสำเร็จรูป อิฐ เหล็กรูปพรรณ เหล็กเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กอัดแรง ไม้แปรรูป ชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ชิ้นส่วนสำเร็จรูปหลังคา ผนังภายในอาคาร วงกบประตู หน้าต่าง วัสดุงานตกแต่งพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคาต่าง ๆ เป็นต้น
เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- งานดิน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ (Tractors) รถตัก (Loader), รถขุดแบบตักหน้า (Power Shovel), ปั้นจั่นแบบขุดลาก (Drag line), ปั้นจั่นขุดแบบกาบหอย (Clamp Shell), รถขุด (Backhoe), รถบรรทุก (Truck) รถเกลี่ยดิน (Grader) เป็นต้น
- งานขนส่งในงานก่อสร้าง เช่น รถเข็น, รถขน-เทวัสดุ, รถยก, รถบรรทุก, รอก, สายพานลำเลียง, ปั้นจั่น เป็นต้น
- งานคอนกรีต เช่น โรงผสมคอนกรีต โม่ผสมคอนกรีต รถคอนกรีตผสมเสร็จ รถขนเทวัสดุ สายพานลำเรียง ถังหิ้วคอนกรีต ถังพักคอนกรีต รางเทคอนกรีต เครื่องสูบคอนกรีต เครื่องสั่นคอนกรีต เครื่องยิงคอนกรีต แบบเลื่อน แบบไต่ เป็นต้น
- งานไม้ เช่น เลื่อย สิ่ว สะหว่านเจาะรู เครื่องไสไม้ เป็นต้น
- งานโลหะ เช่น เลื่อย สว่าน เครื่องเชื่อม เป็นต้น
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
ข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
เรื่องความปลอดภัยของงานก่อสร้าง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ทั้งบุคคลภายใน และบุคคลภายนอก
- บุคคลภายใน คือ ทีมผู้รับเหมา อย่างวิศวกรของโครงการ คนงานก่อสร้าง และทีมงานส่วนอื่น ๆ ที่ทำงานในไซต์ก่อสร้าง
- บุคลลภายนอก คือ บุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อสร้าง หรืองานก่อสร้างแต่อาศัยอยู่ใกล้เคียงบริเวณโครงการก่อสร้าง หรือเป็นบุคคลที่เดินทางผ่านโครงการก่อสร้างนั่นเอง
ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล
- ควรมีการสวมหมวกนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในไซต์ก่อสร้าง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของ หรือวัสดุที่อาจตกหล่นลงมาได้
- ควรแต่งตัวให้มิดชิด สวมชุดที่ปกป้องร่างกาย กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ไม่ควรใส่รองเท้าแตะในงานก่อสร้าง เพราะอาจเกิดการเหยียบเศษวัสดุก่อสร้างจนบาดเจ็บได้
- ควรสังเกตว่ามีป้ายเตือนบริเวณต่าง ๆ หรือไม่ เพราะบางโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มาก และแรงงานเยอะ จึงมีการแบ่งสัดส่วนการทำงาน ทำให้แรงงานทุกคนอาจไม่รู้ถึงขั้นตอนการทำงานในส่วนอื่น อาจเกิดอุบัติเหตุได้
- เมื่อมีการใช้เครื่องมือเสร็จแล้ว ควรมีการเก็บให้เป็นที่ เครื่องมือหลาย ๆ อย่างเป็นเครื่องมีที่มีความคม ควรจะเก็บในพื้นที่ที่ปลอดภัย หรือกล่องอุปกรณ์ก่อน พอถึงเวลาใช้งานค่อยนำออกมาใช้
- บริษัทรับเหมาก่อสร้างควรมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในกระบวนการต่าง ๆ และตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันตนเองและเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้บริษัทควรออกกฎเป็นข้อบังคับให้ชัดเจน และควรมีบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนด้วย จะเป็นอีกตัวช่วยเรื่องความปลอดภัยต่อบุคคลภายในงานก่อสร้างได้
ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้าง
- ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง ไว้ตามจุดต่าง ๆ และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เผื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีหน่วยงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือกรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
- ทำรั้วกั้นบริเวณที่ก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณ
- ควรแบ่งสัดส่วนของสถานที่ก่อสร้างให้ชัดเจน แบ่งบริเวณพักอาศัย แบ่งบริเวณที่ใช้ขนส่งวัสดุก่อสร้าง แบ่งบริเวณสำหรับเก็บวัสดุอุปกรณ์
- ส่วนไหนของอาคารที่กำลังก่อสร้างมีช่องเปิด ควรมีแผงกั้นกันตก เพื่อความปลอดภัย
- รอบอาคารควรมีแผ่นกั้น เพื่อกันวัสดุตกลงมา
- บริเวณไหนของไซต์งานก่อสร้างที่มีความเสี่ยง ก็ควรทำสัญลักษณ์แจ้งให้คนอื่นรับรู้ด้วย เช่น บริเวณนี้รับน้ำหนักได้ไม่เกินกี่คน หรือบริเวณนี้ห้ามผ่าน เป็นต้น เพราะบางโครงการขนาดใหญ่มาก แรงงานเยอะ ไม่ได้รู้รายละเอียดขั้นตอนการทำงานในส่วนอื่น
- ไซต์งานก่อสร้างต้องให้ความสำคัญ เรื่องแสงสว่างในการทำงาน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ กรณีมองไม่เห็นจุดบอด หรือส่วนที่กำลังก่อสร้าง
- มีการกำหนดเวลา เข้า-ออก แต่ละส่วนของไซต์อย่างชัดเจน
เป็นอย่างไรบ้าง งานก่อสร้าง ประเภทงานก่อสร้างต่าง ๆ ที่นำมาฝากกัน เนื่องจากงานรับเหมาก่อสร้างเป็นการทำงานในที่โล่งแจ้ง เป็นงานที่ไม่ได้มีขั้นตอนชัดเจนเหมือนกันในทุก ๆ งาน เพราะความแตกต่างของขั้นตอนการทำงาน ขึ้นอยู่กับแต่ละรูปแบบของประเภทโครงการ และที่สำคัญงานก่อสร้างยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ข้อควรรู้ และข้อควรปฏิบัติต้องชัดเจน และแจ้งให้ทุกคนรับทราบ เพื่อลดความเสี่ยง และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ หินก่อสร้าง ที่ควรรู้ งานเล็ก งานใหญ่ เลือกใช้ได้อย่างมั่นใจ
- BOQ คืออะไร จำเป็นไหมในการก่อสร้างบ้าน?
- วัสดุก่อสร้าง ที่ควรรู้จัก สำหรับงานตกแต่ง รีโนเวทบ้าน มีอะไรบ้าง?
- รู้จักกับ ค.ส.ล. คืออะไร? มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
- ราคาก่อสร้างโกดังต่อตารางเมตร 2566 เท่าไหร่ เช็กให้ชัวร์ ก่อนสร้างโกดัง
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
อ้างอิงข้อมูลจาก dconstruction2021.weebly.com, builk.com