บ้านสั่น ปัญหาและสาเหตุ เกิดจากอะไร? แก้ไขได้อย่างไร?
ปัญหาที่เจ้าของบ้าน หลาย ๆ คน ที่มีบ้าน หรืออาคารติดถนนใหญ่ มีรถสัญจรไปมาตลอดทั้งวัน ที่พบเจอ นั่นคือปัญหา “บ้านสั่น” โดยเฉพาะเวลาที่รถบรรทุกขนาดใหญ่ วิ่งผ่าน หากอยู่ ๆ ไป หากเป็นแค่การสั่นไหวไม่มาก ก็อาจจะพอเบาใจได้ แต่ถ้าหากมีการสั่นสะเทือนจนเกินไป ต้องรีบหาสาเหตุ และแก้ไข
บทความนี้ KACHA จะพาไป รู้ถึงสาเหตุ บ้านสั่น พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้นกัน ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
บ้านสั่น เกิดจาก?
สาเหตุที่ทำให้บ้านสั่น เกิดจาก 2 สาเหตุ ดังนี้
- คอนกรีตมีอายุมาก และมีความเสื่อมสภาพ จึงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ทำให้บ้าน อาคารสั่นได้
- เกิดจาก ฐานราก ของบ้าน อาคารนั้น มีความสั้นเกินไป ตัวอย่างเช่น ตึกอาคารใหญ่ ๆ สูง ๆ มักจะไม่มีปัญหา อาคารสั่น เพราะว่าฐานรากของอาคารเหล่านั้นอยู่ลึก แต่สำหรับบ้านที่อยู่อาศํย หรือออฟฟิตเตี้ย ๆ เสาเข็ม อาจอยู่ไม่ลึกมาก ทำให้ปลายเข็ม ยังวางอยู่บนชั้นดินอ่อน พอเกิดการสั่นสะเทือนจากการจราจร ก็อาจทำให้อาคารสั่นได้นั่นเอง
วิธีแก้ไขบ้านสั่น
วิธีแก้ปัญหาบ้านสั่น ต้องหาทาง สร้างกำแพงกั้นคลื่นการสั่นสะเทือน จากถนน ที่เข้ามากระทบกับบ้าน หรืออาคาร ทำได้ง่าย ๆ 2 วิธี คือ
- การใช้เสาเข็มไม้ หรือเข็มคอนกรีต ลึกประมาณ 4 เมตร ปักให้ห่างจากตัวอาคารเท่าที่ทำได้ เพราะหากปักกว้างมากเกินไป อาจทำให้เข้าไปในเขตพื้นที่สาธารณะได้
- การขุดดิน ความกว้างประมาณ 1 เมตร ลึก 2 เมตร แล้วใส่ทรายลงไปในหลุม ในทิศที่มีแรงสั่นสะเทือนเข้ามา วิธีนี้ จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับ การตอกเสาเข็ม ป้องกันการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียง ก็ใช้วิธีเช่นเดียวกันนั่นเอง
ส่งท้ายสักนิด สร้างบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยต่อแรงสั่นสะเทือน
การทำโครงสร้างบ้านให้แข็งแรง และรองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว หรือแรงสั่นสะเทือนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้านน้อยที่สุด ทำได้ดังนี้
- ตรวจสอบต้นไม้ใหญ่รอบ ๆ บ้านว่า เว้นระยะห่างจากตัวบ้าน มากกว่ารัศมีการล้มทับของต้นไม้ กรณีเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวหรือไม่
- เลือกทำโครงสร้างบ้านจากโครงเหล็กกล้าเคลือบป้องกันสนิม หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้เสริมเหล็กปลอกพันเป็นวงรอบแกนเหล็กโครงเสา
- ติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ระบบแยกฐาน เพื่อรองรับแผ่นดินไหว แรงสั่นสะเทือน เป็นตัวรองรับโครงสร้างบ้าน เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ไม่ให้ไปถึงตัวบ้านโดยตรง
- รอยเชื่อม และข้อต่อระหว่าง เสา คาน ควรมีการถ่ายเทน้ำหนักได้ดี โดยใช้เหล็กปลอกพันรอบเหล็กแกนในบริเวณข้อต่อ
- ผนังก่ออิฐ ควรติดตั้งตะแกรงตาข่าย เพื่อป้องกันการพังถล่มของชั้นอิฐ ควรใช้ผนังพรีคาสต์ หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก
- การก่อผนังอิฐ ควรเต็มตลอดความสูงของเสา ไม่ให้มีช่องว่าง เพื่อลดความเสี่ยงของการถล่มจากแรงสั่นสะเทือน
- ใช้โครงสร้างหลังคาน้ำหนักเบา เช่น ไม้ หรือเหล็ก เพราะถ้าหากเกิดแรงสั่นสะเทือน โครงสร้างน้ำหนักเบา จะถล่มลงมาทับตัวบ้านได้ยากกว่าโครงสร้างที่น้ำหนักมากนั่นเอง
จบไปแล้วกับ ปัญหา และสาเหตุของบ้านสั่น ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่า เป็นปัญหาที่เราไม่ควรมองข้ามกัน เมื่อเริ่มรู้สึกว่าบ้านของเรา มีอาการสั่น ลองนำวิธีแก้ไขเบื้องต้น ที่เรานำมาแชร์นี้ ไปลองศึกษา และแก้ไขกันดู อาจจะช่วยลดปัญหาบ้านสั่นเบื้องต้นได้ บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันเหมือนเดิมนะจ๊ธ
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ :
- บ้านทรุด สัญญาณเตือนภัย แก้ไข ซ่อมแซมได้อย่างไรบ้าง?
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- “เสาบ้าน” แตกร้าว แก้ไข ซ่อมแซมด้วยตัวเองเบื้องต้นง่ายๆ
- รอยแตกร้าว ซ่อมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง!
- งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????
อ้างอิงข้อมูลจาก changmuns.blogspot.com, beelievesourcing, sanook.com