ประตูโกดัง ประตูโรงงาน มีกี่แบบ เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
ประตู ถือเป็นสิ่งจำเป็นอีกหนึ่งสิ่งในงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะสร้างบ้าง อาคาร โรงงาน หรือสร้างโกดัง คลังสินค้าต่าง ๆ ก็จะต้องมีประตูกันทั้งนั้น บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ประตูโกดัง ประตูโรงงาน สำหรับคนที่กำลังจะสร้างโรงงาน สร้างโกดัง ว่าควรเลือกวัสดุแบบไหนให้เหมาะสม จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ประเภทของประตูสำหรับโรงงาน และโกดัง
ประตูที่ใช้ในอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการใช้งานหนัก บำรุงรักษาง่าย และต้องตอบโจทย์การใช้งานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี เช่น ประตูที่ใช้ในการ สร้างโรงงาน ประเภทโกดังเก็บของ จะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสินค้าเข้า-ออก หรือโรงงานที่มีพื้นที่จำกัด ควรใช้ประตูเลื่อนเก็บ เพื่อให้ประหยัดพื้นที่ ซึ่งประตูแต่ละประเภท มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกัน ดังนี้
-
ประตูเลื่อนอัตโนมัติ
เป็นประตูเลื่อนที่ใช้หลักการวางเซนเซอร์บริเวณด้านบนประตู เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหว และควบคุมการเปิด-ปิดของประตูแบบอัตโนมัติ
การติดตั้ง: เหมาะกับการติดตั้งในบริเวณอาคารสำนักงาน ที่มีการเข้าออกบ่อย ๆ จะช่วยให้มีความสะดวกมากกว่าการใช้ประตูแบบมือเปิดนั่นเอง
(อ่านบทความ: ประตูอัตโนมัติ คืออะไร? ระบบการทำงานเป็นแบบไหน?)
-
ประตูม้วนอัตโนมัติ
เป็นประตูความเร็วสูง สามารถเปิด-ปิดได้อย่างรวดเร็ว ที่มีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่น และสามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิภายใน-ภายนอก ได้อย่างดีเยี่ยม
การติดตั้ง: ประตูชนิดนี้ เหมาะกับการติดตั้งในห้องเย็น ที่ต้องการกักเก็บอุณหภูมิ เพราะวัสดุที่ออกแบบมาอย่างดี จะทำให้มีความคงทนสูงต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
-
ประตูม้วน
เป็นแผ่นโลหะในรูปแบบระแนงแนวนอน สามารถม้วนเก็บขึ้นด้านบนได้ นอกจากนี้ สามารถควบคุมการเปิด-ปิด โดยเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว ประตูประเภทนี้ ถือเป็นลักษณะการออกแบบทางเข้าที่ปลอดภัยที่สุด เนื่องจากสามารถวางระบบได้หลากหลาย ไม่กีดขวางการเข้า-ออก และมีความกว้างสุดประตูถึง 10 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์ที่จำหน่าย
การติดตั้ง: สามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ของโรงงาน เช่น โซนการผลิต โกดังสินค้า สามารถออกแบบขนาด และคุณสมบัติให้เหมาะสมกับกับการใช้งาน ในแต่ละประเภทได้ดีอีกด้วย
(อ่านบทความ: ประตูม้วน มีกี่แบบ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน)
-
ประตูบานเฟี้ยม
ประตูบานเลื่อน ออกแบบโดยการวางรางไว้ด้านบน สามารถควบคุมขนาดทางเข้าออกได้ตามความต้องการ เป็นประตูที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง น้อยกว่าประตูไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ อีกด้วย
การติดตั้ง:ประตูชนิดนี้ เหมาะกับส่วนที่ต้องใช้พื้นที่ แต่จะมีรูปแบบการเลื่อนเก็บประตูไว้ด้านข้าง
(อ่านบทความ: รู้จักกับ ประตูบานเฟี้ยม ข้อดี-ข้อเสีย เป็นอย่างไร?)
-
ม่านพลาสติก
เป็นม่านที่ทำจาก วัสดุ PVC น้ำหนักเบา ราคาไม่สูง มีลักษณะที่เป็นการแขวนแผ่นพลาสติกผ่าซี่ ลงมาตั้งแต่คานประตูจนถึงพื้น ซึ่งจะช่วยกั้นพื้นที่การผลิตกับส่วนอื่น ๆ และช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนได้ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
การติดตั้ง: นิยมติดตั้งในบริเวณที่ต้องการป้องกันการสูญเสียความร้อน เช่น ห้องเย็น หรือห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า พร้อมกันนี้ยังสามารถติดตั้งร่วมกับประตูประเภทอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิได้อีกระดับ
-
ประตูสัญจรแบบสวิง
หรือเรียกว่า ประตูสวิงขับ ประตูที่เคลื่อนด้วยน้ำหนักประตู โดยใช้อุปกรณ์สปริง หรือบานพับอิสระ เมื่อมีคน รถเข็น หรือสิ่งอื่น ๆ ผลักตามที่เป็นอยู่ เฉพาะพื้นที่ที่จำเป็นเท่านั้นที่เปิดออก และเมื่อวัตถุผ่านไป ประตูจะกลับสู่ตำแหน่งเดิมตรงกลาง จึงช่วยปิดกั้นมลพิษภายนอก เช่น ฝุ่น ลม และแมลง ได้
การติดตั้ง: เหมาะสำหรับติดตั้งระหว่างห้องที่กั้นเป็นสัดส่วน มีการสัญจรเข้าออกบ่อย ๆ เช่น โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ห้องครัว โรงพยาบาล และสายการผลิตอื่น ๆ ที่ต้องการสุขลักษณะที่ดี
-
ประตูกันไฟ
เป็นประตูที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติกันไฟ มีรูปแบบให้เลือกที่หลากหลาย แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุด จะเป็นรูปแบบบานพับเปิดออกนั่นเอง
การติดตั้ง: นิยมใช้ในอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ความร้อนสูง หรือใช้เป็นประตู สำหรับทางหนีไฟ
จบไปแล้วกับการเลือก ประตูโกดัง ประตูโรงงาน ให้เหมาะสม ล้วนมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลในการเลือกใช้ประตูแต่ละประเภท ก่อนการติดตั้งอย่าลืม เลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงาน สร้างโกดัง ให้ดีก่อนด้วย เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ ประตูบานเฟี้ยม ข้อดี-ข้อเสีย เป็นอย่างไร?
- มาตรฐาน ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม!
- ประตูม้วน มีกี่แบบ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน
- รู้จักกับ ประตูบานเลื่อน พร้อมวิธีติดตั้ง เลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย