ปัจจุบันมีวัสดุใหม่ ๆ ในวงการก่อสร้าง ที่เข้ามาทดแทนวัสดุแบบเดิม รวมถึง ปูนซีเมนต์ ก็มีการพัฒนา เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อปรับปรุง ออกแบบให้เหมาะกับวัสดุใหม่ ๆ เพิ่มความสะดวกสบาย ลดระยะเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ปูนสำเร็จรูป หรือปูนมอร์ตาร์ คือหนึ่งในนั้น
บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ปูนสำเร็จรูป และการเลือกไปใช้งานให้มากขึ้นกัน
ปูนสำเร็จรูป คืออะไร?
ปูนสำเร็จรูป คือ ปูนซีเมนต์ผง ที่ผสมทราย หรือหินบด และมีน้ำยาเคมีรูปแบบผง ผสมมาให้เรียบร้อยภายใน 1 ถุง เรียกทับศัพท์ว่า “ปูนมอร์ตาร์” หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกว่า “ปูนสำเร็จรูป”
ประโยชน์ของการใช้ปูนสำเร็จรูป มีอะไรบ้าง?
ประโยชน์ของการใช้ปูนสำเร็จรูป มีข้อดีมากมาย ดังนี้
- สะดวกสบาย เพียงผสมน้ำ ก็สามารถใช้งานได้ทันที
- ลดสถานที่สำหรับกองเก็บทราย
- ควบคุมคุณภาพ ความสะอาด ขนาดทราย หรือหินบดจากโรงงาน
- ลดขั้นตอน และระยะเวลาการทำงานลง
- สามารถใช้กับวัสดุใหม่ ๆ ที่เข้ามาในตลาดได้ เช่น อิฐมวลเบา ผนัง pre-cast
- ช่วยลดความเสียหาย ที่อาจจะเกิดจากความผิดพลาด ในการทำงานของช่างลง เพราะมีส่วนผสมตามมาตฐาน
ปัจจุบันในท้องตลาดที่ปูนมอร์ตาร์อยู่หลากหลายประเภท แต่ละยี่ห้อก็ใช้ชื่อเรียกปูนมอร์ตาร์แตกต่างกันออกไป สร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานไม่น้อย จึงควรอ่านคำแนะนำข้างถุง หรือขอคำแนะนำในการใช้งานกับผู้แทนขาย หรือบริษัทผู้ผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้งาน แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ ดังนี้
1. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อ โดยทั่วไปแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ สำหรับงานก่ออิฐมอญ อิฐบล็อก และสำหรับงานก่ออิฐมวลเบา เพราะมีรายละเอียดการทำงานที่แตกต่างกัน
2. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบ ส่วนใหญ่แบ่งได้อีก 4 ประเภท ตามวัสดุที่ใช้
- สำหรับงานฉาบทั่วไป อิฐมอญ อิฐบล๊อก
- สำหรับงานฉาบอิฐมวลเบา
- สำหรับงานฉาบผิวคอนกรีต
- สำหรับงานฉาบผิวบางพิเศษ
3. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานเทปรับระดับ ใช้ปรับระดับพื้น โดยคัดขนาดหิน หรือทรายให้เหมาะสม เพราะงานประเภทนี้ ต้องการการรับน้ำหนักได้ระดับหนึ่ง
4. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานกาวปูกระเบื้อง เป็นลักษณะเหมือนกาว ใช้คู่กับเกรียงหวี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปูการยึดเกาะ และควบคุมการใช้ปริมาณปูนให้เหมาะสม
5. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานโครงสร้าง เรียกอีกอย่างว่า คอนกรีตแห้ง ที่จะมีระบุว่าสามารถรับกำลัง หรือรับน้ำหนักได้เท่าไรเมื่อแห้งตัว
6. ปูนสำเร็จรูปนอนชริ้งเกร้าท์ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับงานซ่อมแซม งานปิดร่องรอยต่อ เป็นต้น จะมีความแข็งแรง และมีแรงยึดเกาะสูง
เลือกซื้อปูนสำเร็จรูป ให้เหมาะกับงาน
-
ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อ
ปูนสำเร็จรูปชนิดนี้มีคุณสมบัติรับน้ำหนักได้ดีกว่าปูนสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ และมีน้ำหนักในตัว ใช้สำหรับงานก่อผนังอิฐ เช่น อิฐมอญ อิฐบล็อค คอนกรีตบล็อค
-
ปูนฉาบสำเร็จรูป
การฉาบจำเป็นต้องฉาบ 2 ชั้น ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบจึงแตกต่างกันในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็นปูนสำหรับงานฉาบหยาบและงานฉาบละเอียด
- ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบหยาบ เหมาะสำหรับนำมาฉาบปกปิดวัสดุก่อต่าง ๆ เป็นขั้นแรก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดของเนื้อปูนมาก
- ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบละเอียด เรียกอีกอย่างว่า “Skim Coat” เป็นปูนสำหรับฉาบรอบที่ 2 ซึ่งมีส่วนผสมของทรายที่ละเอียดมากกว่า และแพงกว่าปูนฉาบหยาบ จึงเหมาะที่นำมาฉาบให้พื้นผิวเรียบเนียนเสมอกัน
-
ปูนเทพื้นสำเร็จรูป
ปูนสำเร็จรูปชนิดนี้ ทำให้พื้นมีผิวหน้าเรียบเสมอกัน ใช้ในการเทพื้นได้ทั้งภายในบ้าน หรือว่าโรงจอดรถ และปรับพื้นสำหรับปูวัสดุปูพื้น เช่น กระเบื้อง ปาร์เก้
-
ปูนสำเร็จรูปสำหรับซ่อมแซมโครงสร้าง
มีความพิเศษที่เนื้อปูนผสมเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในการยึดเกาะที่ดี และมีการรับแรงอัดสูงกว่าปูนสำเร็จรูปทั่วไป เหมาะสำหรับซ่อมผนังร้าว แตก แยก ได้ดี
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : รอยแตกร้าว ซ่อมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง!
ข้อควรรู้ : อิฐมวลเบา จำเป็นต้องมีปูนสำเร็จรูปสำหรับฉาบและก่อโดยเฉพาะ เพราะอิฐมวลเบามีคุณสมบัติการซึมน้ำไม่ดีเท่าอิฐบล็อคทั่วไป การยึดเกาะ จึงน้อยกว่าอีกด้วย ถ้าหากใช้ปูนสำเร็จรูปทั่วไปในการฉาบ หรือก่อ จะทำให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปูนเฉพาะทางสำหรับอิฐมวลเบา ที่มีส่วนผสมของกาวทำให้ยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น
ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท vs ปูนสำเร็จรูป ต่างกันอย่างไร?
ปูนซีเมนต์ผสมสำหรับงานก่อ ฉาบ เท กับ ปูนสำเร็จรูปนั้น ใช้สำหรับงานก่อฉาบผนัง และเทหล่อได้เหมือนกัน จะต่างที่ขั้นตอนและวิธีการใช้งาน ซึ่งช่าง หรือผู้รับเหมา จะพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม
ในงานก่อฉาบผนัง หรือแม้แต่งานเทหล่อส่วนประกอบตกแต่ง หรือโครงสร้างเล็ก ๆ ซึ่งไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก วัสดุที่จะต้องพูดถึงคงหนีไม่พื้น “ปูนซีเมนต์ผสมสำหรับงานก่อ ฉาบ เท” ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวลื่น ยึดเกาะเนื้ออิฐและผนังได้ดี แห้งตัวพอเหมาะ ไม่ยืด หรือหดตัวมาก ช่วยลดการแตกร้าวที่ผิวผนังได้ เหมาะสำหรับงานก่ออิฐ ฉาบปูน เทปรับระดับพื้นก่อนติดตั้งวัสดุปิดผิว งานเทคอนกรีตโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น ตอม่อ เสา คาน พื้น ของบ้านชั้นเดียว พื้นลานหน้าบ้าน เป็นต้น รวมถึงงานปูนปั้น เช่น งานปั้นบัว อ่างซีเมนต์ เป็นต้น
ในขั้นตอนการทำงาน ช่างจะใช้ปูนซีเมนต์ผสมสำหรับงานก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายและน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละแบบ เช่น
ใช้ปูนซีเมนต์ และทรายหยาบ (ทรายหยาบตามคุณภาพมาตรฐาน มอก. 598) ผสมกันในอัตราส่วน ประมาณ 1 : 2.5 ถึง 1 : 3 |
ใช้ปูนซีเมนต์ และทรายละเอียด (เม็ดทรายขนาด 0.5-1.5 มม. คุณภาพมาตรฐาน มอก. 1776) ในอัตราส่วน ประมาณ 1 : 2.5 ถึง 1 : 3 ช่างปูนประเภทนี้ ช่างปูนนิยมเรียกว่า “ปูนเค็ม” เพราะมีสัดส่วนของปูนซีเมนต์อยู่มาก ทำให้ยึดเกาะกับผนังได้ดี แต่ก็จะหดตัวได้มาก และแต่งผิวยากเช่นกัน |
ใช้ปูนซีเมนต์ และทราย ในอัตราส่วนประมาณ 1 : 3 ถึง 1 : 4 หรือที่เรียกกันว่า “ปูนจืด” เนื่องจากมีทรายมากกว่า จึงหดตัวน้อย และแต่งผิวง่ายกว่าปูนเค็ม จึงเหมาะกับการฉาบผิวหน้า เพราะไม่ค่อยแตกร้าว หรือแตกลายงา |
สำหรับงานเทพื้น จะต้องมีหินเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ทั้งนี้ อัตราส่วนผสมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับปูนซีเมนต์ของผู้ผลิตแต่ละราย และคุณภาพของทราย นอกจากนี้ปริมาณการผสมน้ำ ยังต้องสัมพันธ์กับความชื้นของทรายด้วย ปัจจัยทั้งหมดล้วนมีผลต่อคุณภาพงานก่อสร้าง ดังนั้น การใช้ ปูนซีเมนต์ ผสมสำหรับงานก่อ ฉาบ เท จึงต้องควบคุมส่วนผสมให้ได้มาตรฐาน ทั้งสัดส่วน และคุณภาพของสิ่งที่นำมาผสม เม็ดทรายต้องมีขนาดเหมาะสม ไม่ผุกร่อน สะอาด ไม่มีวัชพืช สารอินทรีย์ (เมล็ดพืช ซากพืช ซากสัตว์) หรือสารเคมีเจือปน ไม่มีสภาพเป็นกรด ด่าง หรือเกลือปนอยู่ และน้ำที่นำมาผสมต้องสะอาด
เป็นอย่างไรกันบ้างกับปูนสำเร็จรูป หรือ ปูนมอร์ตาร์ นอกจากนี้ยังมี ปูนสำเร็จรูปสำหรับตกแต่งอีกหลายชนิดให้เลือกใช้งาน ซึ่งจะทำให้บ้านสวยงาม ดูดีขึ้น นอกเสียจากใช้ปูนสำเร็จรูปสำหรับโครงสร้าง แต่ทั้งนี้ราคาก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณภาพ อย่างไรก็ตามอย่าลืมเลือกใช้งานตามความเหมาะสมกันด้วย
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
ขอแนะนำสินค้าจาก KACHA
เลือกซื้อสินค้า เครื่องลอกสี ลอกสีผนัง ???? คลิกเลย รับรองสินค้าดี มีคุณภาพอย่างแน่นอน!