มาตรฐาน ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม!

เมื่อพูดถึง “ประตู หน้าต่าง” จัดว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของบ้านเลยทีเดียว เพราะเป็นส่วนที่สะท้อนหน้าตาของตัวบ้าน ซึ่งประตูและหน้าต่างนั้น สามารถทำให้เรามองเห็นได้จากทั้งด้านนอก และจากภายในบ้าน ซึ่งการเลือกใช้ที่เหมาะสมจะต้องเลือกให้เหมาะกับพื้นที่การใช้งานแต่ละส่วน ประตูจัดเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับทางเข้า-ออก จากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งได้ ส่วนหน้าต่างมีไว้เพื่อรับแสงธรรมชาติ เปิดรับลม และช่วยระบายให้อากาศถ่ายเท หมุนเวียนได้สะดวก และยังใช้เป็นช่องเปิดมุมมองออกไปโดยรอบตัวบ้าน และคอนโดมิเนียมให้เห็นบรรยากาศ หรือวิวทิวทัศน์ภายนอกได้นั่นเอง KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับทั้ง 2 สิ่งนี้ให้มากขึ้นกัน

ประตูคืออะไร?

ประตูเป็นส่วนสำคัญของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรืออาคารต่าง ๆ และถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้า-ออกจากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่หนึ่งได้ ดังนั้นการเลือก ประตู นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีหลากหลายชนิดที่สามารถเลือกให้เข้ากับหน้างาน เราจึงควรให้ความสำคัญ และเรียนรู้กับประตูชนิดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยเฉพาะการเลือกประตูบ้าน ให้เข้ากับบ้านที่เราอาศัยอยู่นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากเลือกผิด อาจเกิดปัญหาการใช้งานที่ขัดข้อง ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงไปอีกด้วย

ประเภทของประตู มีอะไรบ้าง?

  • ประตูบานเปิด

มีทั้งบานเปิดเดี่ยว และบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ใช้สอยที่เอื้ออำนวย สามารถเปิดได้เพียงด้านเดียว เป็นที่นิยมติดตั้งในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป แถมยังเปิดได้กว้างถึง 180 องศา โดยเลือกเปิดเข้าหรือออกที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของผนัง ซึ่งการเปิดลักษณะนี้จะกินเนื้อที่ที่บริเวณที่ ประตู เปิดออกไป จึงต้องเผื่อเนื้อที่สำหรับการเปิด ประตู ในลักษณะนี้ด้วย เหมาะสำหรับใช้กั้นห้องต่าง ๆ

  • ประตูบานสวิง

สามารถผลักเข้า-ออกได้ทั้งสองด้าน ใช้ในพื้นที่สาธารณะที่มีคนเข้าออกเป็นประจำ มีลักษณะคล้ายกับ ประตูบานเปิด แต่แตกต่างกันที่บานเปิดสามารถผลักเข้าได้อย่างเดียวเท่านั้น ประตูชนิดนี้มักจะใช้กรอบบานอลูมิเนียม และลูกฟักเป็นกระจก ส่วนที่กรอบบานด้านล่าง และด้านบนจะมีเดือยติดอยู่กับวงกบทั้งบนและล่าง

  • ประตูบานเฟี้ยม

เป็นประตูพับซิกแซก นำเอาประตูบานเล็ก ๆ มาต่อกันเป็นบานพับ ถูกใช้ในสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งยังประหยัดพื้นที่และสามารถเปิดกว้างได้เหมือนกับปราศจากประตู จึงทำให้ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน มีให้เลือกกันหลายรูปแบบ ใช้เป็นการกั้นพื้นที่หรือเป็นฉากกั้น เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มาก หรือต้องการดัดแปลงพื้นที่ภายนอกและภายในให้กลายเป็นพื้นที่หนึ่งเดียวกัน โดยใช้วัสดุที่เบาและแข็งแรง จึงเหมาะสมที่จะใช้กับที่พักอาศัยเป็นอย่างมาก

  • ประตูบานเลื่อน

ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับบ้านขนาดเล็ก เพราะไม่ต้องดันเข้าดันออก ไม่เกะกะพื้นที่ มีความนิยมใช้ในตัวบ้าน ส่วนมากจะเห็นเป็นกระจกเต็มบาน และเลื่อนออกข้าง ๆ เท่านั้น

ข้อดี คือ ช่วยให้แสงส่องเข้ามาในบ้านได้มาก และสามารถเปิดรับอากาศบริสุทธิ์ ทำให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทได้สะดวก จะช่วยประหยัดพื้นที่ในการเปิด-ปิด มีความสวยงาม ตามยุคสมัย และแบบครึ่งบานที่ใช้วัสดุอย่างเช่น ไม้ อะลูมิเนียม โดยทั่วไปมีการใช้ประตูกระจกบานเลื่อน ราคาถูก เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านหรือพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยต่ำ

  • ประตูบานหมุน

จะติดตั้งจุดหมุนไว้กลางบาน การเปิด-ปิดจึงเป็นอิสระจากกัน ใช้แบ่งพื้นที่ภายในบ้าน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่มาก ต้องการระบายลม และความโปร่งสบาย แต่ส่วนมากนิยมใช้เป็นประตูหมุนอัตโนมัติที่สามารถติดตั้งได้แบบจำนวน บานประตู 2, 3 หรือ 4 บาน เพื่อเป็นทางเข้า-ออกของอาคาร มักจะพบเห็นได้ตามโรงพยาบาล, โรงงาน หรือบริษัทใหญ่ ๆ

หน้าต่างคืออะไร?

หน้าต่างเป็นสิ่งสำคัญรองจาก ประตู ที่ทุกบ้านต้องมี เพราะทำหน้าที่หลักให้คนในบ้านได้อยู่อย่างมีความสุขกับหน้าที่ถ่ายเทอากาศ เพราะเป็นช่องทางหมุนเวียนอากาศภายนอกสู่ภายในบ้าน ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง เย็นสบาย และยังเป็นช่องทางของแสงสว่างเข้าไปภายในบ้านอีกด้วย เมื่อสร้างบ้านจึงให้ความสำคัญกับการติดตั้งหน้าต่าง หรือช่องเปิดในจำนวนที่เพียงพอ และวางตำแหน่งที่เหมาะสม เพราะจะทำให้อากาศภายในบ้านถ่ายเทสะดวก รู้สึกได้ถึงความสบายน่าอยู่

ส่วนประกอบของหน้าต่าง มีดังนี้

  • วงกบหน้าต่าง ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง
  • วงกรอบ หรือบานกรอบหน้าต่าง นิยมใช้ไม้สักเพราะจะทนทาน สวยงาม น้ำหนักไม่มาก และไม่บิดงอง่าย รวมทั้งยังหดตัวน้อยมาก
  • ลูกฟัก ปัจจุบันนิยม กระจกหรือใช้ไม้ และบานเกล็ด รวมทั้งกระเบื้องแผ่นเรียบ

ประเภทของหน้าต่าง มีอะไรบ้าง?

210316-Content-มาตรฐาน-ประตู-หน้าต่าง-เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม02
  • หน้าต่างบานเปิด

มีทั้งบานเปิดเดี่ยวและคู่ เมื่อเปิดแล้วสามารถรับลม และเห็นวิวที่อยู่ภายนอกได้ เหมาะเป็นหน้าต่าง สำหรับกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน

  • หน้าต่างบานเลื่อน

จะมีความคล้ายกับ ประตูบานเลื่อน สามารถหาช่องลมได้ครึ่งหนึ่ง ข้อดีของหน้าต่าง ประเภทนี้ คือประหยัดพื้นที่ ใช้กั้นภายใน และภายนอกบ้าน หรือกั้นระหว่างภายในห้องได้

210316-Content-มาตรฐาน-ประตู-หน้าต่าง-เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม03
  • หน้าต่างบานยก

จะคล้ายกับ หน้าต่าง ของรถประจำทาง สามารถเปิดรับอากาศภายนอกได้ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ และสามารถชมวิวได้เต็มที่ เหมาะสำหรับเป็น หน้าต่าง กั้นระหว่างภายใน-ภายนอก และหน้าต่างในอาคารสูง

  • หน้าต่างบานกระทุ้ง

จะมีบานพับอยู่ด้านบน สามารถรับลมได้เต็มที่ และยังสามารถเป็นกันสาดได้อีกด้วย ติดตั้งไว้บริเวณที่สูง ไม่เหมาะสำหรับบริเวณที่คนเดินผ่าน เพราะอาจทำให้เดินชนได

อ่านบทความ: รู้จักกับ “หน้าต่างบานกระทุ้ง” ข้อดี-ข้อเสียเป็นอย่างไร?

210316-Content-มาตรฐาน-ประตู-หน้าต่าง-เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม04
  • หน้าต่างบานพลิก

มีจุดศูนย์กลางของการหมุนอยู่บริเวณกลางบาน หรือกลางวงกบ สามารถเปิดโดยการผลักให้บานพลิกไปมา เมื่อเปิดแล้วได้ช่องเปิดเต็มที่ ใช้กั้นระหว่างภายใน-ภายนอกอาคาร

  • หน้าต่างบานเกล็ด 

จะมีบานเปิดปิดสู่ภายนอกไม่กินพื้นที่ ใช้สำหรับระบายอากาศ รับลม และรับแสงสว่าง ติดตั้งได้ระหว่างห้องภายในบ้าน ไม่เหมาะกับการติดตั้งระหว่างภายใน และภายนอก

อ่านบทความ: หน้าต่างบานเกล็ด เหมาะกับห้องแบบไหน มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้าง?

ลักษณะของประตู หน้าต่าง ที่ดีเป็นอย่างไร?

ประตู หน้าต่าง เลือกใช้อย่างไร คงเป็นคำถามที่ไม่ค่อยถูกหยิบยกขึ้นมามากนัก เพราะบ้านหนึ่งหลัง จะเลือกซื้อประตู และหน้าต่างโดยเฉลี่ยเพียง 1-2 ครั้ง เพราะด้วย วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง เป็นวัสดุที่มีความคงทนทั้งแสงแดด และฝน ทำให้อยู่คู่กับตัวบ้าน หรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่น ๆ ดังนั้นไม่เพียงแต่ความสวยงามของประตู หรือหน้างต่างเท่านั้น เราควรคำนึงถึงคุณภาพและปัญหาที่จะตามมาภายหลัง หากประตู และหน้าต่างที่เลือกซื้อมาไม่ได้มาตรฐาน

210316-Content-มาตรฐาน-ประตู-หน้าต่าง-เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม07

มาตรฐานที่จำเป็นสำหรับประตู-หน้าต่างที่ดี จะถูกทำการทดสอบคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานในการใช้งาน ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หรือ JIS (Japanese Industrial Standards) โดยได้กำหนดมาตรฐานพื้นฐานของประตู และหน้าต่างที่ดีไว้ 3 มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของบ้านในการเลือกประตู และหน้าต่าง ดังนี้

  • Wind Pressure Resistance Performance (การต้านทานแรงลม)

คือ ประตูและหน้าต่าง ต้องมีความสามารถในการต้านทานแรงลม โดยสังเกตจากสลากบนตัวสินค้า เพราะหาก วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ไม่สามารถต้านทานแรงลมได้ เมื่อเกิดลมพายุแรง จะส่งผลให้ประตูหน้าต่างโก่ง หลุดจากวงกบ กระจกแตก และส่งผลอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้

ซึ่งการต้านทานแรงลม เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงของบานประตู และหน้าต่างในการต้านทานแรงลมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยมีหน่วยเป็น พาสคัล (Pa) ซึ่งอาคารบ้านเรือนแต่ละประเภท จะต้องเลือกใช้ประตู และหน้าต่างที่มีคุณสมบัติการต้านทานแรงลมที่ต่างกัน โดยมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.744-2530) ได้จำกัดประเภทของประตูและหน้าต่าง เพื่อติดตั้งบนอาคารสูง หรือคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานไว้ ดังนี้

  • อาคารสูง 10-20 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 800-1,200 Pa
  • อาคารสูง 20-40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมได้ระหว่าง 1,200-1,600 Pa
  • อาคารสูงกว่า 40 เมตร เหมาะกับหน้าต่างที่ต้านแรงลมไม่น้อยกว่า 1,600 Pa
  • Water Tightness Performance (การป้องกันน้ำรั่วซึม)

คือ การป้องกันน้ำฝนรั่วซึม เมื่อเกิดแรงลม หรือพายุฝนในช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี แทบทุกบ้านมักพบปัญหาน้ำรั่วซึมจากขอบประตูและหน้าต่าง ส่งผลให้เกิดความเสียหายภายในตัวบ้านทั้งพื้น ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ การสังเกตและเลือกวัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันน้ำฝนรั่วซึมให้เหมาะสมกับตำแหน่งการตั้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

มาตรฐาน Water Tightness Performance หรือการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้นมีหน่วยเป็นพาสคัล (Pa) เช่นเดียวกับการต้านทานแรงลม โดยค่ามาตรฐานในการป้องกันน้ำฝนรั่วซึมจะอยู่ที่ 100-500 พาสคัล ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ ตำแหน่งการตั้ง ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากน้ำฝน และความสูงของที่พักอาศัยเป็นหลักครับ โดยการป้องกันน้ำรั่วซึมนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ

ระดับ แรงลม ความเร็วลม
W-1 100 Pa 9-15 m/s
W-2 150 Pa 11-19 m/s
W-3 250 Pa 14-24 m/s
W-4 350 Pa 16-29 m/s
W-5 500 Pa 20-35 m/s
  • Air Tightness Performance (การป้องกันอากาศรั่วไหล)

เมื่อต้องการควบคุมอุณหภูมิ หรืออากาศภายในห้องให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ การเลือกประตูและหน้าต่างที่มีคุณสมบัติป้องกันอากาศรั่วไหลของอากาศผ่านตัวบานประตูและวงกบ จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น เพราะเครื่องปรับอากาศจะทำงานไม่หนัก และยังช่วยป้องกันเสียงรบกวน ป้องกันฝุ่นละออง โดยเฉพาะในช่วงฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังมีมากในปัจจุบัน หรือแม้แต่กลิ่นไม่พึงประสงค์ มลพิษต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพของทุกคนในครอบครัว

ถ้าหากประตูและหน้าต่างไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันอากาศรั่วไหล ผู้อยู่อาศัยจะได้ยินเสียงลมเข้ามาภายในห้อง จนสร้างความรำคาญใจให้กับสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น จึงต้องสังเกตข้อมูลหรือสอบถามผู้รู้เพื่อให้เลือกใช้ วัสดุหน้าประตู-หน้าต่าง ที่สามารถป้องกันอากาศรั่วไหลได้

❝ รู้อย่างนี้แล้ว การเลือกใช้ประตูและหน้าต่าง คงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณแม่บ้าน พ่อบ้าน ที่มีความต้องการจะสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้านเก่าแล้ว เพราะเพียงแค่มองหาประตู-หน้าต่างที่ได้มาตรฐาน 3 ข้อสำคัญ คือ ต้านทานแรงลม, ป้องกันน้ำฝนรั่วซึม, ป้องกันอากาศรั่วไหล ก็จะช่วยให้บ้านสวย และประตูมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเพิ่มขึ้นอีกด้วย ❞

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<