รู้จัก เกลียวเร่ง คืออะไร? เลือกซื้ออย่างไรให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ

เกลียวเร่ง คือ เลือกซื้ออย่างไร ให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ Kacha มีคำตอบ
ใครไม่เคยรู้จักเครื่องมือชนิดนี้ หรือ อยากซื้อมาใช้ แต่ไม่รู้จะเลือกซื้ออย่างไร ตามมาดูกันเลย

เกลียวเร่ง คือ

เกลียวเร่ง

เกลียวเร่ง คือ อุปกรณ์สำหรับยึดวัตถุ 2 ชิ้นเข้าหากัน และ ใช้ในการดึง – ขึง ลวดสลิง สายเคเบิล เชือก หรือ โซ่ ให้แน่นขึ้น มักใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น งานทำรั้วกั้น ยึดโครงเสางานก่อสร้าง ทำสะพานแขวน หรือ ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก รวมถึง งานขนส่งสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น

บอดี้เกลียวเร่ง มีกี่แบบ

เกลียว

1. บอดี้แบบเปิด (Open Body Style Turnbuckle)

แกนเกลียวเร่ง จะโล่งโจ้ง สามารถมองเห็นเกลียวน็อตที่อยู่ด้านใน ใช้ได้ทุกงาน ตั้งแต่ งานก่อสร้าง งานเคลื่อนย้ายสินค้า งานขนส่งสินค้าต่าง ๆ

2. บอดี้แบบปิด (Closed Body Turnbuckle)

มีตัวแผ่นเหล็ก หรือ สแตนเลส ครอบแกนเกลียวเร่งตรงกลาง ทำให้ดูเรียบร้อย สวยงาม ส่วนใหญ่ใช้ในงานก่อสร้าง ที่ต้องการดูหรู ดูแพง เช่น เกลียวเร่งขึงผ้าใบบนเรือ หรือ งานขึงสายเคเบิ้ลบนสะพานแขวน

ปลายเกลียวเร่ง มีกี่แบบ

เกลียวเร่ง

1. เกลียวเร่งแบบตะขอ (Hook Hook Turnbuckle)

ส่วนปลายของเกลียวเร่ง ทั้งหัวและท้าย มีลักษณะเป็นตะขอ ถูกออกแบบให้ใส่เข้าหรือปลดออกได้ง่าย เหมาะกับงานยึดชั่วคราว เช่น ใช้ขึงเชือกให้แน่น สำหรับงานขนส่งต่าง ๆ

2. เกลียวเร่งแบบสเก็น (Jaw Jaw Turnbuckle)

หัว-ท้ายของเกลียวเร่ง เป็นห่วงรูปตัว U มีแกนล็อกแบบ Bolt Pin สามารถเปิดปิดได้ คล้าย ๆ สเก็น เหมาะสำหรับใช้ยึดกับวัตถุ ที่ไม่สามารถเปิดออกได้ เช่น ห่วงกลมที่ยึดติดกับพื้น และ ใช้ในงานที่มีการปรับเปลี่ยนทิศทาง หรือ งานที่ต้องการยึดวัตถุชั่วคราว เช่น ใช้ขึงเส้นลวดสลิงกันเสา ในงานอีเวนท์ งานคอนเสิร์ต

3. เกลียวเร่งแบบหัวกลม (Eye Eye Turnbuckle)

ลักษณะเป็นห่วงกลม ทั้งหัว-ท้ายของเกลียวเร่ง เป็นเกลียวที่มีความแข็งแรงทนทานสูง เหมาะสำหรับงานยึดวัตถุให้คงที่ มั่นคงถาวร เช่น ใช้ขึงลวดสลิงกับเสากระจายสัญญาณ หรือ ใช้ยึดกับต้นไม้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ลวดสลิงแน่นสนิท ไม่สั่นไหวจากลม หรือ พายุฝน

เกลียวเร่งที่ดี ควรทำจากวัสดุอะไร

เกลียว

เกลียวเร่งที่ดี ควรทำจากวัสดุโลหะ เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน ไม่หักหรือบิดงอง่าย ซึ่งโลหะที่ใช้นั้น มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  • เหล็ก ทำจากเหล็กคาร์บอน หรือ เหล็กอัลลอยด์ นิยมนำไปเคลือบพื้นผิวด้วยสังกะสี โดยการทำเหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ เพื่อป้องกันสนิม หรือ การกัดกร่อนตามธรรมชาติ
  • สแตนเลส เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดีที่สุด ทนแดดทนฝน ใช้งานได้ยาวนาน ป้องกันสนิมและรอยขีดข่วนได้ดีกว่า เหล็กชุบซิงค์ หรือ เหล็กกัลป์วาไนซ์ เหมาะสำหรับใช้งาน Outdoor และ งานขนส่งทางทะเล

เลือกเกลียวเร่งอย่างไร ให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ

เกลียวเร่ง

1. น้ำหนักที่จะโหลด

ต้องดูว่า น้ำหนักสิ่งของที่จะโหลด มีน้ำหนักทั้งหมดเท่าไหร่ เพื่อให้เลือกเกลียวเร่ง ที่สามารถรองรับน้ำหนักนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสม ห้ามเลือกใช้เกลียวเร่งที่รองรับน้ำหนักได้น้อยกว่าโดยเด็ดขาด

2. ใช้งานชั่วคราวหรือถาวร

พิจารณาลักษณะงานว่า ใช้งานชั่วคราวหรือถาวร เพื่อให้เลือกหัว-ท้ายของเกลียวเร่ง ที่เหมาะกับการใช้งาน ถ้าชั่วคราว ให้ใช้ปลายเกลียวเร่งแบบตะขอ หรือ สเก็น แต่ถ้าเป็นงานถาวร ให้ใช้ปลายเกลียวเร่งแบบหัวกลม

3. ใช้วัสดุ ให้เหมาะกับสถานที่

ใช้ เกลียวเร่งที่ทำจากเหล็ก หากใช้งานกลางแจ้ง บนบก หรือ บนพื้นดิน เพราะถูกชุบซิงค์ หรือ ทำเป็นเหล็กกัลวาไนซ์แล้ว จึงมีความทนทานมากพอ ที่จะทนแดดทนฝนได้ แต่ถ้าหากใช้งาน Outdoor โดยเฉพาะงานขนส่งทางทะเลแล้วละก็ ให้ใช้ เกลียวเร่งสแตนเลส จะดีที่สุด เพราะสามารถทนต่อการกัดกร่อนของน้ำเค็มได้ดีกว่า

4. มีมาตรฐานความปลอดภัย

เกลียวเร่งที่มีมาตรฐาน จะต้องมีเครื่องหมายการค้าบนแกนเกลียวเร่ง และ ต้องมีตัวอักษร ตัวเลข บนหัว-ท้ายของเกลียวเร่ง บอกขนาด และ ระดับน้ำหนักที่โหลดได้มากที่สุด ตามที่ American Society Of Mechanical Engineers (ASME B30.26) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลกำหนด หากไม่มี ไม่ควรซื้อหรือเลือกใช้เกลียวเร่งนั้น ๆ เด็ดขาด

5. ไม่มีรอยตำหนิหรือร่องรอยความเสียหาย

ห้ามใช้เกลียวเร่งที่มีรอยตำหนิ หรือ ร่องรอยความเสียหาย โดยเด็ดขาด เพราะสื่อถึงเกลียวเร่งเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น รอยกัดกร่อน ขึ้นสนิม หรือ หัว-ท้ายเกลียวเร่ง แกนเกลียวเร่ง เริ่มบิดหรือโค้งงอ เป็นต้น

เกลียวเร่ง เป็นอุปกรณ์สำคัญในงานก่อสร้าง งานเคลื่อนย้ายสินค้า งานขนส่งสินค้าต่าง ๆ ดังนั้น หากใครมีโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น งานทำรั้วกั้น ยึดโครงเสางานก่อสร้าง ทำสะพานแขวน ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ขนส่งสินค้าต่าง ๆ แล้วต้องการเกลียวเร่งไปใช้งานแล้วละก็ ลองอ่านแล้วนำไปเป็นแนวทางในการเลือกซื้อ เชื่อว่าจะช่วยให้คุณเลือกเกลียวเร่ง ที่เหมาะกับการใช้งานได้ไม่มากก็น้อย


บทความที่น่าสนใจ