วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า วัสดุสิ้นเปลือง คืออะไร? มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทเป็นอย่างไร?

วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักวัสดุนี้ให้มากขึ้นว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดเป็นแบบไหน และมีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง? ตามไปดูกันเลย!

วัสดุสิ้นเปลือง คืออะไร?

วัสดุสิ้นเปลือง คือ

วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ ปากกา ลวดเย็บกระดาษ กาว ตะปู ฯลฯ หรือสิ่งของที่มีอายุใช้งานสั้น โดยวัสดุสิ้นเปลืองจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี ส่วนรายละเอียดของอุปกรณ์นั้นจะแตกต่างตามสถานที่ใช้งาน และแบ่งตามชื่อเรียกสถานที่ เช่น วัสดุโรงงาน วัสดุสำนักงาน วัสดุก่อสร้าง วัสดุงานครัว เป็นต้น

ประเภทของวัสดุ

สำนักงบประมาณ จำแนกสิ่งของที่จัดเป็นค่าวัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

ก. ประเภทวัสดุคงทน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนแต่ตามปกติมีอายุ การใช้งานไม่ยืนนาน หรือ เมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือบำรุงซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มค่า

ข. ประเภทวัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ หรือ เปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น หรือไม่คงสภาพเดิม

ค. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่ สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ ประกอบหรืออะไหล่ส าหรับการ ซ่อมแซมบ ารุงรักษาทรัพย์สินให้กลับคืนสภาพดังเดิม ที่มีลักษณะเป็นการซ่อมบ ารุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง (สำนักงบประมาณ, 2559)

วัสดุสิ้นเปลือง สำคัญอย่างไร?

องค์กรที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะมีบุคลากรที่มีความชำนาญและความสามารถแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน แม้ว่าวัสดุสิ้นเปลืองจะไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่ใช้เป็นหลักในกระบวนการผลิต แต่ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ทุกองค์กรจำเป็นต้องมี เพราะเป็นวัสดุที่เป็นส่วนหนึ่งของงาน

วัสดุสิ้นเปลือง มีอะไรบ้าง?

วัสดุสิ้นเปลืองแตกต่างกันไปตามลักษณะงานขององค์กร สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทและมีจำนวนมาก วันนี้เราได้รวบรวมประเภทวัสดุสิ้นเปลืองมาเป็นตัวอย่าง 15 ประเภท ดังนี้

1) วัสดุสำนักงาน

วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุสำนักงาน

เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ยางลบ น้ำหมึก น้ำยาลบค่าผิด เทปกาว ลวดเย็บกระดาษ กาว สมุด ซองเอกสาร ไม้บรรทัด คลิป ตัวเย็บกระดาษ เข็มหมุด กระดาษคาร์บอน กระดาษไข แฟ้ม สมุดบัญชี  แบบพิมพ์ สำลี ธงชาติ ของใช้ในการบรรจุหีบห่อ

2) วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

เช่น ฟิวส์ เทปพันสายไฟฟ้า สายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ เข็มขัดรัด สายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้า หลอดวิทยุทรานซิตเตอร์ และชิ้นส่วนวิทยุ ลูกถ้วยสายอากาศ รีซีสเตอร์ มูฟวิ่งคอยส์คอนเดนเซอร์ ขาหลอดฟลูออเรสเซนซ์ เบรกเกอร์ สายอากาศ หรือ เสาอากาศสําหรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จานรับ สัญญาณดาวเทียม แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ กล่องรับสัญญาณ ฯลฯ

3) วัสดุงานบ้าน งานครัว

วัสดุสิ้นเปลือง งานบ้าน งานครัว

เช่น ไม้กวาด เข่ง มุ้ง  ผ้าปูที่นอน  ปลอกหมอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าปูโต๊ะหัวดูดตะกอนสระว่ายน้ำ  วัสดุประกอบอาหาร  อาหารสําเร็จรูป ฯลฯ

4) วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง วัสดุสิ้นเปลือง

เช่น น้ำมันทาไม้  ทินเนอร์ สี ปูนซีเมนต์ ทราย ทรายละเอียด ยางมะตอยสําเร็จรูป อิฐ ซีเมนต์บล็อก กระเบื้อง สังกะสี ตะปู เหล็กเส้น แปรงทาสี ปูนขาว แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์

5) วัสดุยานพาหนะและการขนส่ง

วัสดุสิ้นเปลืองงานขนส่ง

เช่น ยางรถยนต์ น้ำมันเบรก น็อตและสกรู สายไมล์ เพลา ฟิล์มกรองแสง นํ้ากลั่น ฯลฯ

6) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา น้ำมันจารบี น้ำมันเครื่อง ถ่าน ก๊าซ น้ำมันเกียร์  น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ

7) วัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์

วัสดุสิ้นเปลือง วิทยาศาสตร์ การแพทย์

เช่น สําลีและผ้าพันแผล ยาและเวชภัณฑ์ แอลกอฮอล์ ฟิล์มเอกซเรย์ หลอดเอกซเรย์ เคมีภัณฑ์ ออกซิเจน  นํ้ายาต่าง ๆ เลือด สายยาง ลูกยาง  หลอดแก้ว ลวดเชื่อมเงิน ถุงมือ กระดาษกรอง จุกต่าง ๆ สัตว์เลี้ยงเพื่อการทดลองวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์

8) วัสดุการเกษตร

 

วัสดุสิ้นเปลือง ประเภท วัสดุการเกษตร

เช่น ปุ๋ย ยาป้องกันและกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ อาหารสัตว์ พืชและสัตว์ พันธุ์สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ น้ำเชื้อพันธุ์สัตว์ วัสดุเพาะชำอุปกรณ์ในการขยายพันธุ์พืช เช่น ใบมีด เชือก ผ้าใบหรือผ้าพลาสติก หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ

9) วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

เช่น พู่กัน สี กระดาษเขียนโปสเตอร์ ฟิล์ม เมมโมรี่การ์ด ฟิล์มสไลด์ แถบบันทึกเสียงหรือภาพ (ภาพยนตร์ วีดีโอเทป, แผ่นซีดี – รูปสีหรือขาวดําที่ได้จากการล้าง อัดขยาย) ภาพถ่ายดาวเทียม เอกสารเผยแพร่ผลการคําเนินงาน ฯลฯ

10) วัสดุเครื่องแต่งกาย

วัสดุสิ้นเปลืองเครื่องแต่งกาย

เช่น วุฒิบัตร บัตรประจําตัวชั่วคราว เข็มเครื่องหมาย ฯลฯ

11) วัสดุกีฬา

 

วัสดุสิ้นเปลืองเครื่องแต่งกาย

เช่น ตาข่ายกีฬา เช่น ตาข่าย ตะกร้อวอลเล่ย์บอล ลูกปิงปอง ลูกแบดมินตัน ลูกเทนนิส ลูกฟุตบอล ลูกแชร์บอล แผ่นโยคะ ตะกร้อ นกหวีด ฯลฯ

12) วัสดุคอมพิวเตอร์

วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

เช่น อุปกรณ์บันทึกข้อมูล (Diskette, Floppy Disk ,Removable Disk, Compact Disc, Digital Video Disc, Flash Drive) เทปบันทึกข้อมูล (Reel Magnetic Tape, Cassette Tape, Cartridge Tape) หัวพิมพ์หรือแถบพิมพ์ สําหรับเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ตลับผงหมึกสําหรับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ กระดาษต่อเนื่อง สายเคเบิล ฯลฯ

13) วัสดุการศึกษา

วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

เช่น ชอล์ก ปากกาไวท์บอร์ด กระดาษ กาว พลาสติกลูกฟูก เทปสี

14) วัสดุสนาม

วัสดุสิ้นเปลืองวัสดุสนาม

เช่น หญ้าสนาม หญ้าเทียม โครงลวดรูปสัตว์

15) วัสดุจราจร

วัสดุสิ้นเปลืองวัสดุสนาม

เช่น เทปกั้นเขต ยางชะลอความเร็วรถ สติกเกอร์ติดรถ

การบันทึกบัญชีวัสดุสิ้นเปลือง

การบันทึกลงบันชีของวัสดุสิ้นเปลืองมี 2 แบบ แล้วแต่ว่าองค์กรจะสะดวกทำแบบใด

  1. บันทึกเป็นสินทรัพย์ = วัสดุสิ้นเปลือง บัญชีหมวดที่ 1
  2. บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย = วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป/ค่าวัสดุ บัญชีหมวดที่ 5 (เป็นเสมือนบัญชีค่าใช้จ่าย ที่ใช้หมดไปในระหว่างปี)

การปรับปรุงบัญชี

การปรับปรุงรายการบัญชีวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป เป็นการปรับปรุงรายการให้บัญชีนั้นสะท้อนยอดคงเหลือที่แท้จริง วัสดุสิ้นเปลือง ถือสินทรัพย์หมุนเวียน เมื่อวัสดุสิ้นเปลืองถูกใช้ไป จะถือเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งมีชื่อบัญชีว่า วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป เมื่อถึงสิ้นงวดจะมีการตรวจนับยอดคงเหลือว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งวิธีในการปรับปรุงรายการวัสดุสิ้นเปลือง มีดังนี้

ต้นงวด + ซื้อเพิ่มระหว่างงวด – คงเหลือปลายงวด = วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ไป


ตัวอย่าง การปรับปรุงบัญชี หมวด 5

วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด 2,000 บาท

ซื้อเพิ่มระหว่างงวด 1,000 บาท

คงเหลือปลายงวด 800 บาท

วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 2,200 บาท

(2,000 + 1,000 – 800 = 2,200)

*การปรับปรุงบัญชีต้องทำให้ถูกหมวด หากบันทึกเป็นสินทรัพย์ (หมวดที่ 1) ต้องปรับปรุงบัญชีให้เป็นไปตามหมวดที่ 1

จะเห็นว่า วัสดุสิ้นเปลือง ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความจำเป็นของสถานที่นั้น ๆ หากใครอยากรู้ว่าองค์กรของตนเองจำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง ลองสังเกตลักษณะงานของเราว่าแต่ละขั้นตอนเป็นแบบไหน ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเพิ่ม เพื่อเสนอฝ่ายที่รับผิดชอบให้จัดหามาสำรองไว้ใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน