วิธีดูความยาวสกรู และวัดขนาดหัวสกรู ทำได้อย่างไร?
สกรู มีหลากหลายแบบตามประเภทการใช้งาน ก่อนจะเลือกสกรูไปใช้งานนั้น จะต้องรู้จัก วิธีดูความยาวสกรู วิธีวัดสกรู เบื้องต้นก่อน เพื่อเลือกใช้สกรูให้ถูกกับงาน ตามไปรู้วิธีดูความยาวสกรู และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู แต่ละแบบ ทำได้อย่างไร ตามไปดูกัน
วิธีวัดสกรู
วิธีวัดความยาวสกรู วิธีดูความยาวสกรู เพื่อการใช้งานสกรูอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายกับวัสดุ ควรเลือกขนาดของสกรูให้เหมาะสมกับงานด้วย โดยทั่วไป วิธีวัดความยาวสกรู วิธีวัดขนาดหัวสกรู ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของสกรู ดังนี้
DID YOU KNOW?
สัญลักษณ์ตัวย่อต่าง ๆ
- d คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียว (ขนาดลำตัวของสกรู)
- k คือ ความหนาหัวสกรู
- L คือ ความยาวของสกรู (ไม่รวมส่วนหัว)
- dk คือ เส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู ขนาดของหัวสกรู
- P คือ ระยะพิทช์ของเกลียว (ระยะระหว่างยอดเกลียว)
- B คือ ช่องขันสกรู สำหรับประแจหรือไขควง
สกรูหัวหกเหลี่ยม
สกรูหัวหกเหลี่ยม
สกรูหัวหกเหลี่ยม มีลักษณะเป็นหัวหกเหลี่ยม มีสลักเป็นเกลียวหกเหลี่ยม แกนของสกรูมีทั้งแบบเกลียวเต็ม และเกลียวครึ่ง วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดใต้หัว ถึงปลายเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานประกอบเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์ งานประกอบเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
สกรูหัวแฉก JT
สกรูหัวแฉก JT
สกรูหัวแฉก JT เป็นสกรูที่หัวจมลงไปในตัวชิ้นงาน วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดใต้หัว ไปถึงปลายสุดของความยาวเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานที่ไม่ได้รับแรงมาก เช่น งานยึดบานพับ เป็นต้น
สกรูหัวจมแฉก JF
สกรูหัวจมแฉก JF
สกรูหัวจมแฉก JF เป็นสกรูที่หัวจมลงไปในตัวชิ้นงาน วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดความยาวทั้งตัว ตั้งแต่ส่วนหัว ไปถึงปลายสุดของความยาวเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานที่ไม่ได้รับแรงมาก เช่น งานยึดบานพับ เป็นต้น
สกรูหัวจมเตเปอร์
สกรูหัวจมเตเปอร์
สกรูหัวจมเตเปอร์ เป็นสกรูที่เมื่อขันจนสุดแล้ว จะจมลงไปในชิ้นงาน วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดความยาวทั้งตัว ตั้งแต่ส่วนหัว ไปถึงปลายสุดของความยาวเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรง เช่น งาน Jigs & Fixtures งานประกอบเฟอร์นิเจอร์ งานประกอบชิ้นส่วนอุตสาหกรรม เป็นต้น
สกรูหัวจมกลม
สกรูหัวจมกลม
สกรูหัวจมกลม หัวสกรูจะมีลักษณะกลมมนเหมือนกระดุม จะใช้กุญแจหัวหกเหลี่ยมขันเช่นเดียวกันกับสกรูหกเหลี่ยม วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดใต้หัว ถึงปลายเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานกับพื้นที่ที่แคบมาก ๆ และงานยึดลูกล้อ เป็นต้น
สกรูหัวจม
สกรูหัวจม
สกรูหัวจม ลักษณะหัวสกรู จะมีรูหกเหลี่ยมสำหรับขันยึดด้วยประแจหกเหลี่ยม ซึ่งจะมีทั้งเกลียวตลอด และเกลียวครึ่งให้เลือกใช้งาน วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดใต้หัว ถึงปลายเกลียว และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) นิยมใช้ในงานประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น
สกรูเกลียวตัวหนอน
สกรูเกลียวตัวหนอน
สกรูเกลียวตัวหนอน สกรูที่ไม่มีหัวยื่นออกมาบนพื้นผิวที่ยึด และมีแกนเกลียวเกือบตลอดตัว วิธีวัดความยาวสกรู จะวัดความยาวทั้งตัวสกรู และ วิธีวัดขนาดหัวสกรู ให้วัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางหัวสกรู (Ødk) เหมาะกับการใช้งานประกอบเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์ งานประกอบเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
วิธีดูความยาวสกรู
โดยขนาดของสกรู จะเรียกตามความโตของลำตัวมาก่อน และตามด้วยความยาวของลำตัว จะไม่นิยมเรียกตามความโตของหัว โดยหน่วยของการวัดขนาดสกรู จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ มิล (Metrics) กับ หุน หรือ นิ้ว (Unified) เราสามารถดูขนาดของสกรู เพื่อเลือกมาใช้งานได้ ดังนี้
- 1/16″ = ครึ่งหุน
- 1/8″ = 1 หุน
- 3/16″ = 1 หุนครึ่ง
- 1/4″ = 2 หุน
- 5/16″ = 2 หุนครึ่ง
- 3/8″ = 3 หุน
- 7/16″ = 3 หุนครึ่ง
- 1/2″ = 4 หุน
- 9/16″ = 4 หุนครึ่ง
- 5/8″ = 5 หุน
- 11/16″ = 5 หุนครึ่ง
- 3/4″ = 6 หุน
- 13/16″ = 6 หุนครึ่ง
- 7/8″ = 7 หุน
- 15/16″ = 7 หุนครึ่ง
- 1″ = 8 หุน
- 1.1/8″ = 1 นิ้ว 1 หุน
- 1.1/4″ = 1 นิ้ว 2 หุน
- 1.3/4″ = 1 นิ้ว 6 หุน
- 2″ = 16 หุน
ได้รู้จักกับ วิธีดูความยาวสกรู วิธีวัดสกรู กันไปแล้ว ก่อนนำไปใช้งาน อย่าลืมเลือกใช้ให้เหมาะกับงานกันด้วย เพื่อประสิทธิภาพของชิ้นงาน หากใครกำลังมองหาสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อนำไปใช้งาน ที่ KACHA มีสกรูหลากหลายแบบจัดจำหน่าย สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน ตอบสนองอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ บริการที่ประทับใจอย่างแน่นอน