ฟ้าผ่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มักจะเจอในช่วงฤดูฝน แต่สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่าได้ โดยเฉพาะการป้องกันอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นกับตัวอาคารบ้านเรือน และระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

บทความนี้ KACHA จะมาพูดถึง สายล่อฟ้า หรือ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ชนิดของสายล่อฟ้า ระบบสายล่อฟ้า และการติดตั้ง เพื่อการป้องกันฟ้าผ่าอย่างถูกต้อง ทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

รู้จักกับ สายล่อฟ้า คืออะไร?

สายล่อฟ้า หรือ ระบบป้องกันฟ่าผ่า คือ ระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันบ้าน หรืออาคารจากการถูกฟ้าผ่าโดยตรง ทั้ง ๆ ที่สายล่อฟ้า ไม่ได้ป้องกันให้ฟ้าผ่า แต่ล่อให้ฟ้าผ่าลงในบริเวณ หรือส่วนที่เราต้องการ และทำให้ผลของฟ้าผ่าผ่านไปเร็วที่สุด กรณีผ่านลงดิน

220408-Content-สายล่อฟ้าคืออะไร--จำเป็นต้องติดตั้งไหม02

ฟ้าผ่า เกิดจากอะไร? ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆ จะสูงจากพื้นประมาณ 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร โดยภายในก้อนเมฆ จะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ทำให้หยดน้ำ และก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า โดยพบว่าประจุบวก มักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบ อยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆ อาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย

ชนิดของสายล่อฟ้า หรือ ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีอะไรบ้าง?

1. ระบบสายล่อฟ้า แบบ Early Streamer Emission (ESE)

หลักการทำงานของระบบล่อฟ้าแบบ ESE หรือ หัวล่อฟ้าแบบ ESE เมื่อมีลำประจุเริ่มจากก้อนเมฆลงมา ทำให้สนามแม่เหล็กมีค่าสูงขึ้นทำให้หัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นปล่อยประจุออกมา และสร้างลำประจุอย่างรวดเร็ว ทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่หัวล่อฟ้าแบบ ESE โดยหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นถูกสร้าง ออกแบบ และออกมาตรฐาน โดยประเทศฝรั่งเศส

2. ระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage

หลักการทำงานของระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage มีแท่งแฟรงกลิน เป็นตัวล่อ โดยมีการต่อเชื่อมกันของแท่งแฟรงกลิน ด้วยสายทองแดงเป็นตาราง แท่งแฟรงกลิน แต่ละแท่งนั้น จะห่างกันไม่เกิน 25-30 มิลลิเมตร ทำให้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ นั้นใช้สายทองแดง แท่งแฟรงกลิน และแท่งกราวด์เป็นจำนวนมาก

220408-Content-สายล่อฟ้าคืออะไร--จำเป็นต้องติดตั้งไหม03

องค์ประกอบของสายล่อฟ้า หรือระบบป้องกันฟ้าผ่า เป็นอย่างไร?

  • ตัวนำล่อฟ้า Air Terminal

เป็นแท่งทองแดง ยาวประมาณ 30-60 เซ็นติเมตรหรือมากกว่า ประกอบกับฐานเสา จะติดตั้งบนหลังคา ตามบริเวณจุดสูงสุดของอาคาร มุมบนสุดของอาคาร โดยติดตั้งให้มีระยะห่างไม่เกิน 20 ฟุต กรณีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ที่ฐานเสา จะมีรูสำหรับติดตั้งตัวนำ

  • ตัวนำลงสู่ดิน : Ground connections

ตัวนำลงสู่ดินทั่วไปมักใช้ สายทองแดงเปลือย ขนาดไม่น้อยกว่า 35 ตารางมิลลิเมตร ติดตั้งโดยการเดินสายบนหลังคา หรือจุดสูงสุดของอาคาร เชื่อมต่อตัวนำล่อฟ้าต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้ถึงกันทั้งหมด ต้องยึดด้วยอุปกรณ์จับยึดที่แข็งแรงมั่นคง เนื่องจากฟ้าผ่า จะมีแรงทางกลมาก อาจทำให้เกิดการสะบัดอย่างรุนแรงได้ ทำให้สายหลุด ขาดเสียหายได้

  • เมื่อเดินสายเชื่อมกัน ก็ต้องเชื่อตัวนำลงดิน อาคารไม่ใหญ่มาก โครงสร้างง่าย ๆ ให้ลง 2 จุด อาจจะเดินสายร้อยด้วยท่อเหล็กเคลือบ (IMC Conduit) หรือ ท่อ PVC เหลือง ขนาด 3/4″
  • รากสายดิน ใช้เมื่อต่อตัวนำลงสู่ดิน จะต้องมีหลักดิน เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่ากระจายสู่ดินให้เร็วที่สุด หลักดินทั่วไปเป็นหลักดินเหล็กชุบทองแดง หรือเหล็กหุ้มทองแดง ความยาว 3 เมตร ขนาด 5/8″ ตอกเป็นกริด สามเหลี่ยม ห่างกัน 6 เมตร เท่า ๆ กัน พร้อมเชื่อมต่อสายตัวนำถึงกัน
  • Lightning Arrester

อุปกรณ์ส่องสว่าง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องระบบไฟฟ้า และส่วนประกอบจากความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า ไฟกระชากดังกล่าว อาจเป็นผลมาจากฟ้าผ่า หรือการสลับไฟฟ้า และอาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ สาธารณูปโภคติดตั้งสายไฟกับตัวป้องกันฟ้าผ่า รวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยอื่น ๆ และอุปกรณ์เหล่านี้ ยังสามารถติดตั้งบนกล่องไฟฟ้าส่วนบุคคลด้วย

เมื่อกระแสไฟฟ้าพุ่งเข้าชนระบบไฟฟ้า ก็จะพยายามทำให้เท่าเทียมกัน และกระจายตัวเอง โดยใช้เส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า จัดเตรียมเส้นทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด สำหรับการทำเช่นนี้ การกำหนดเส้นทางไฟฟ้าส่วนเกินออกจากระบบ และลงสู่พื้นดินที่สามารถกระจายไปโดยไม่ทำอันตรายใด ๆ ตัวต้านทานแสง รวมถึงส่วนประกอบที่ติดกับระบบไฟฟ้าพร้อมตัวนำที่ไปถึงพื้น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง สายล่อฟ้า ที่เรานำมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม ควรปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า เพื่อความความปลอดภัยของคนในครอบครัวด้วย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า ที่แขวนเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????

ข้อมูลจาก : จปTODAY