รู้จักกับ หลังคาปั้นหยา ก่อนสร้าง บ้านทรงปั้นหยา ต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง?

เรียกได้ว่า บ้านทรงปั้นหยา ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การดีไซน์ “หลังคาปั้นหยา” เป็นอีกหนึ่งแบบหลังคา ที่นิยมมาก ๆ เพราะมีความสวยงาม ทำให้ตัวบ้าน มีความสมบูรณ์แบบ บทความนี้ KACHA จะชวนไปรู้จักกับ หลังคาปั้นหยา บ้านทรงปั้นหยา กันว่าจะเป็นอย่างไร ตามไปดูเลย

หลังคาปั้นหยา คือ?

หลังคาทรงปั้นหยา คือหลังคาที่มีความลาดเอียงทั้ง ด้าน ประกอบด้วย หลังคาที่เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ด้านที่เท่ากัน และหลังคารูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านที่เท่ากัน ซึ่งหลังคาปั้นหยา เป็นหลังคาทรงมาตรฐาน ที่ทั่วโลกนั้นนิยมสร้างและเลือกใช้ ข้อดี คือ สามารถรับกับทรงของตัวบ้านได้อย่างลงตัวมาก ๆ

230614-Content-รู้จักกับหลังคาปั้นหยา-บ้านทรงปั้นหยา02

นอกจากนี้ หลังคาทรงปั้นหยา ยังสามารถใช้ได้ทั้งกับบ้านไม้ และบ้านปูน สมัยก่อนบ้านไม้อาจจะไม่นิยมเท่าไหร่ แต่ในปัจจุบันจะพบว่าบ้านไม้ เริ่มมีการใช้หลังคาปั้นหยา เป็นตัวช่วยบังแสงของบ้าน แต่ก็มีข้อเสีย คือ หลังคาปั้นหยานั้น จะไม่มีช่องสำหรับระบายความร้อน และมีราคาค่อนข้างสูงด้วยนั่นเอง

หลังคาปั้นหยานั้น จะมีความเอียงอยู่ที่ 30-45 องศา ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นหลังคาที่สามารถระบายน้ำฝนได้ดี เนื่องจากมีการทำองศาที่มีความเท่า ๆ กัน ของรูปสามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมคางหมูทั้ง 4 ด้าน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย

อ่านบทความ: รู้จักกับ องศาหลังคา ความลาดชันที่เหมาะสมของหลังคาแต่ละชนิด

ส่วนประกอบโครงสร้างหลังคาปั้นหยา

ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาแบบปั้นหยา มีลักษณะที่ต่างออกไปจากโครงสร้างหลังคาแบบอื่น ๆ คือ มีลักษณะลาดออกจากกันทั้ง 4 ด้าน ทำให้เกิดสันหลังคาเพิ่มขึ้นตามมุมของผนังหลังคา จำเป็นต้องมีส่วนประกอบเพิ่ม คือ ตะเข้สัน โดยวางมุม 45 องศา กับ อเส ในแนวราบ และยกขึ้นเท่ากันองศาความลาดของหลังคาโดยมีดั้ง หรือเสารองรับตรงจุดที่ตะเข้สันมาพบกัน

  • อกไก่ เสมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลาง ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากจันทันทุกตัวทั้ง 2 ด้าน
  • ดั้ง คือ เสาที่เสริมขึ้นมาเพื่อรองรับอกไก่ทดแทนเสาจริงของอาคาร
  • ระแนง หรือ แป ทำหน้าที่ในการรองรับกระเบื้อง
  • จันทัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากแป โดยจันทัน จะวางพาดระหว่างอเส เพื่อถ่ายน้ำหนักที่จันทันรับให้แก่ อเส
  • ขื่อ หรือ สะพายรับตั้ง ซึ่งขื่อจะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักลงมาสู่เสาอาคารต่อไป
  • อเส ทำหน้าที่ยึดปลายเสาตอบน เพื่อให้โครงสร้างหลังคาแข็งแรงขึ้น และถ่ายเทน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาสู่เสา
  • เชิงชาย ทำหน้าที่ ปรับแนวชายคาที่ยึดหัวจันทันให้เป็นแนวตรง สวยงาม ช่วยป้องกันการผุเปื่อยของไม้ และช่วยปิดกันไม่ให้นกเข้ามาอาศัยอยู่ใต้หลังคา
  • ตะเข้สัน เป็นจุดเชื่อม จะอยู่บริเวณครอบมุมหลังคาที่ความลาดเอียง 2 ด้านมาบรรจบกัน โดยหันหน้าออกจากกัน โดยมีครอบกระเบื้อง และวัสดุมุงอีกที
  • ตะเข้ราง เป็นส่วนที่ความลาดเอียงของหลังคา 2 ด้านมาชนกันเป็นราง ซึ่งบริเวณส่วนนี้ จำเป็นจะต้องมีรางน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากหลังคา

รู้จักบ้านทรงปั้นหยา คือ?

เป็นแบบบ้านที่พบเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะเป็นแบบบ้านที่ปรับปรุงข้อเสียของหลังคาแบบหน้าจั่ว จนมาเป็นหลังคาที่มีด้านลาดเอียงทั้งหมด 4 ด้าน หรือเรียกว่าหลังคาทรงปั้นหยานั่นเอง ทำให้สามารถป้องกันแดด และฝนได้ครอบคลุมครบทุกด้านกว่าที่เคยเป็น จึงมีความมั่นคง แข็งแรง ทนพายุ และทนฝน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย สามารถเข้าได้กับบ้านหลากสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นร่วมสมัย โมเดิร์น หรือไทยประยุกต์

230614-Content-รู้จักกับหลังคาปั้นหยา-บ้านทรงปั้นหยา03

ข้อดี-ข้อเสียของแบบบ้านทรงปั้นหยา

  • ข้อดี คือ มีความแข็งแรงกว่าแบบอื่น ๆ เพราะลักษณะโครงสร้างทุกด้านวิ่งมาบรรจบกันบนยอดหลังคา ทำให้เกิดความมั่นคง สามารถรับลม และฝนได้จากทุกทิศทาง รวมถึงเข้ากันได้กับตัวบ้านหลากหลายสไตล์ด้วย
  • ข้อเสีย คือ แม้จะรับลมเข้ามามาก การระบายอากาศทำได้ไม่ดีเท่าหลังคาแบบอื่น แต่สามารถแก้ปัญหาด้วยการติดแผ่นฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศ ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในการติดตั้ง เพื่อให้มวลอากาศร้อนใต้หลังคาสามารถระบายออกไป และมีราคาค่อนข้างสูงด้วย

จบไปแล้วกับบ้านทรงปั้นหยาและหลังคาปั้นหยา ที่เราได้นำมาฝากกัน เรียกได้ว่า เป็นแบบบ้าน แบบหลังคาที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสามารถ ทนแดด ทนฝนได้ดี เป็นหลังคาทรงมาตรฐานที่คนทั่วโลกเลือกใช้งานอีกด้วย อย่างไรก้ตาม ก่อนจะสร้าง อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนสร้างด้วย เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังนั่นเอง

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูล mebaan.com, ddproperty.com, onestockhome.com