ออกแบบ ทางลาด สำหรับผู้สูงอายุ ทำได้อย่างไรบ้าง?

หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกับ “ทางลาด” ที่เรามักจะเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ ออกแบบทางลาด มาเพื่อการใช้งานของทุกคนในบ้าน โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ตลอดจนผู้พิการประเภทต่าง ๆ ที่ไม่สะดวกในการขึ้น-ลงบันได แล้วการออกแบบทางลาด ตามหลัก Universal Design ทำได้อย่างไรบ้าง ตาม KACHA ไปดูกันเลยดีกว่า

ออกแบบทางลาด ทำได้อย่างไร?

  • การทำทางลาดที่ดี ควรทำทางลาดควบคู่กับบันได
  • จุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นกับทางลาด ต้องมีความเรียบต่อเนื่องกัน ป้องกันการสะดุด
  • ระยะความกว้างของทางลาด ไม่ควรน้อยกว่า 90 เซนติเมตร เป็นระยะที่รถเข็นใช้งานได้สะดวก
  • ความลาดชันต้องไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น หากความสูง 1 เมตร ทางลาดจะยาว 12 เมตร และควรมีชานพักทุก ๆ 6 เมตร เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน
  • ทางลาด ต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และผิวทางลาด ควรเรียบต่อเนื่องกัน ใช้วัสดุที่ไม่ลื่น เช่น ถ้าใช้ผิวเหล็ก ควรใช้เหล็กฉีกหนา ช่องถี่ หรือเหล็ก Checker Plate หากใช้ไม้ ควรใช้ไม้เทียม ไม้ไฟเบอร์หนา และควรวางแผ่นไม้แนวขวาง
  • ทางลาดด้านที่ไม่ติดกับผนัง ควรยกขอบสูงจากพื้นทางลาดอย่างน้อย 15 เซนติเมตร หากทางลาดที่มีความยาวตั้งแต่ 2.5 เมตร ควรมีราวจับทั้ง 2 ด้าน ซึ่งราวจับ จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
  • ราวจับ ควรใช้วัสดุเรียบ ลักษณะกลมมน พื้นผิวไม่ลื่น และต้องมีโครงสร้างแข็งแรง เพื่อปลอดภัยในการจับ และใช้งานด้วย
  • เพื่อการใช้งานที่สะดวก และชัดเจน ควรแยกสีทางลาดให้แตกต่างกับผนัง
  • ด้านหน้าทางลาด ควรเป็นพื้นที่โล่ง มีความยาวไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร
  • ประตูควรกว้างอย่างน้อย 90 ซม. บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของประตูต้องมีพื้นที่ว่างและไม่มีของวางเกะกะเพื่อการสัญจรของรถเข็น
  • หากเลือกใช้ประตูบานเลื่อน ผู้สูงอายุ จะใช้งานได้สะดวก เลื่อนเปิด-ปิดได้ง่าย กรณีที่จำเป็นจะต้องใช้บานผลักเปิดเข้า-ออก ควรใช้ที่จับประตูแบบก้านโยก จะใช้งานง่ายกว่าชนิดอื่น ๆ
  • บริเวณพื้นตรงประตู ไม่ควรมีการยกระดับของพื้น ควรจะเป็นพื้นทางเรียบเสมอกันทั้งหมด
221222-Content-ออกแบบ-ทางลาด-02

ข้อกำหนดต่าง ๆ ก่อนจะสร้าง ทางลาด มีอะไรบ้าง?

ข้อกำหนด ความกว้าง ของทางลาด

ทางลาดนั้น ควรจะมีความกว้าง อย่างน้อย 900 มิลลิเมตร  โดยพิจารณาถึงจํานวนผู้ใช้ เพราะหากมีความกว้างมากเกินไป อาจทําให้เก้าอี้เข็นคนพิการพลิกคว่ำได้ โดยกฎกระทรวง กําหนดสิงอํานวยความสะดวกในอาคาร สําหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา 2548 กําหนดว่า ทางลาดต้องมีความกว้างสุทธิ ไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร ในกรณีที่ทางลาดมีความยาวของทุกช่วงรวมกันตั้งแต่ 6,000 มิลลิเมตร ขึ้นไป ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร

ข้อกำหนด ความชัน ของทางลาด

  • มีความชันไม่เกิน 1:12 และมีความยาวแต่ละช่วงไม่เกิน 6,000 มิลลิเมตร แต่ทั้งนี้ การกําหนดให้มีความยาวทางลาดแต่ละช่วงไม่เกิน 6,000 มิลลิเมตร อาจทําให้พื้นที่ทางลาดยาวมาก จึงมีบางเอกสาร กําหนดความยาวช่วงไม่เกิน 10,000 มิลลิเมตร ต้องจัดให้มีชานพัก แต่ขึ้นอยู่กับ ระดับความสูง เนื่องจากมีผลต่อความยาวของทางลาดนั่นเอง
  • อัตราส่วนความลาดเอียงของทางลาด ที่อยู่ในช่วง 1:20 ถึง 1:12 ผู้นั่งเก้าอี้เข็นคนพิการ สามารถใช้ เก้าอี้เข็นคนพิการด้วยตนเองได้ หากอัตราส่วนความลาดเอียง 1:10 ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
  • หากระดับพื้นภายในอาคาร ภายนอกอาคาร หรือภายในกับภายนอกอาคาร มีความต่างระดับกันไม่เกิน 20 มิลลิเมตร ควรทําพื้นลาดให้เชื่อมต่อกันไม่สะดุด โดยมีอัตราส่วนความลาดเอียง 1:24
221222-Content-ออกแบบ-ทางลาด-03

ข้อกำหนดเรื่อง พื้น ของทางลาด

  • พื้นของทางลาดควรจะมีลักษณะแข็ง และไม่ลื่น
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้พรมในทางลาด
  • พื้นผิวของจุดต่อเนื่องระหว่างพื้น กับทางลาด ต้องเรียบไม่สะดุด
  • พื้นผิวของทางลาด ควรมีสีแตกต่างจากพื้นของจุดเชื่อมต่อ
  • ควรมีการแยกสีให้แตกต่างกันระหว่างกําแพง และพื้นทางลาด

ข้อกำหนดเรื่อง ชานพัก ของทางลาด

  • ทางลาดที่ดี ควรจะมีทางราบ เพื่อให้หยุดพัก หรือหมุนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการลงจากทางลาดด้วยความเร็ว
  • ควรมีทางราบ ตามกฎกระทรวงกําหนดทุก ๆ 6,000 มิลลิเมตร หรือทุก ๆ 10,000 มิลลิเมตร และทุก ๆ ที่ที่มีการเปลี่ยนทิศ รวมถึงด้านบน และด้านล่างสุดของทางลาด ควรมีทางราบเช่นเดียวกันด้วย
  • ความกว้างของทางราบ ไม่ควรน้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร
  • ทางลาดด้านที่ไม่มีผนังกั้น ให้ยกขอบสูงจากพื้นผิวของทางลาด ไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร เพื่อไม่ให้ที่ควบคุมล้อติดกับขอบกันตก
  • ราวกันตกแนวตั้ง ระยะห่างไม่เกิน 1,500 มิลลิเมตร

ขนาดของราวจับ ที่เหมาะสมกับทางลาด

  • เพื่อความสะดวกสบายของผู้พิการ และผู้สูงอายุ ควรจะติดตั้งราวจับ ความสูงไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร ไม่ควรเกิน 900 มิลลิเมตร จากพื้น เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้เก้าอี้เข็นคนพิการนั่นเอง
  • ควรติดตั้งราวจับราวที่ 2 ในระดับความสูง ระหว่าง 700 มิลลิเมตร ถึง 750 มิลลิเมตร จากพื้น
  • เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ควรติดตั้งราวจับที่ 3 ระดับความสูง 600 มิลลิเมตรจากพื้น
  • เพื่อการนําทางสําหรับผู้พิการทางการมองเห็น ที่ใช้ไม้เท้า และผู้ที่นั่งเก้าอี้เข็นคนพิการ ควรติดตั้งราว หรือขอบทางสัญจร ที่มีระดับความสูง 150 มิลลิเมตรจากพื้น เนื่องจากสามารถช่วยในการนําทาง และห้ามล้อของเก้าอี้เข็นคนพิการได้
  • ราวจับ ควรจะติดอยู่กับกําแพง หรือโครงสร้างที่แข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักจํานวนมากได้

จบไปแล้วกับเรื่องควรรู้ก่อน ออกแบบทางลาด สำหรับผู้สูงอายุ ทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ใส่ใจด้านการออกแบบ เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ก็ทำให้มีทางลาด ที่สะดวกสบาย และปลอดภัยกับทุกคนในบ้านแล้ว บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น ติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา คลิก >> http://bit.ly/2LIGvxu <<

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก: wazzadu.com, home.co.th