ก่อนที่จะเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน ต้องรู้จักก่อนว่าการเชื่อมคืออะไร เครื่องเชื่อมคืออะไร ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเชื่อม เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมชิ้นงานได้ ในส่วนของ เครื่องเชื่อม คือ เครื่องผลิตกระแสไฟเชื่อม เพื่อใช้ในการเชื่อมประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน
บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ เครื่องเชื่อม กันว่า จะมีแบบไหนบ้าง และเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานกัน
ประเภทและความแตกต่างกันของเครื่องเชื่อม (Weld Machine)
เครื่องเชื่อม (Weld Machine) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับ อู่ซ่อมรถ, สถานที่ก่อสร้าง ไปจนถึงระดับภาคอุตสาหกรรม มีให้เลือกมากมายหลายแบบตามแต่ความเหมาะสมของหน้างาน และทุนในกระเป๋า ก่อนซื้อควรหาข้อมูล และสเปคต่าง ๆ จากผู้ผลิตให้ดี เพื่อจะได้เครื่องเชื่อมที่ตรงความต้องการมากที่สุด เครื่องเชื่อม ที่นิยมใช้งานกันในภาคอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
ประเภทและความแตกต่างกันของเครื่องเชื่อม (Weld Machine)
1. เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องเชื่อมลักษณะนี้ แบ่งแยกย่อยไปได้อีก2-3 แบบ มีทั้งเครื่องเชื่อมแบบอาร์กอนอย่างเดียว, แบบอาร์กอน และเชื่อมเหล็กทั่วไป (เชื่อมธูป), แบบอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอะลูมิเนียม
2. เครื่องเชื่อมมิก (MIG) Metal Inert Gas หรือที่คนทั่วไปเรียก ตู้เชื่อมคาร์บอน(CO2) การเครื่องเชื่อมลักษณะนี้อาจจะต้องใช้แก๊สผสมคาร์บอนด้วย ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เพราะการเชื่อมแบบนี้จะสามารถเชื่อมชิ้นงานที่มีความบางได้ดีกว่าเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้กับธูปเชื่อม
???????? ข้อดี คือ สามารถเชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ทองแดง และการเชื่อมแบบมิก(MIG) จะสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปเชื่อม ทำให้ประหยัดเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนลวดเชื่อม เพราะสามารถเดินแนวเชื่อมได้ยาวและต่อเนื่องกว่าการเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปเชื่อม |
???????? ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง ใช้อุปกรณ์มากกว่า ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหน้างานไม่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ตู้เชื่อมแบบมิก (MIG) ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะจะได้คุณภาพของการเชื่อมที่ดีและที่สำคัญประหยัดเวลากว่า |
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
3. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA เป็นกระบวนการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ (MMA : Manual Metal Arc Welding) คือ การต่อโลหะให้ติดกัน โดยวิธีให้ความร้อนอุณหภูมิสูง อุณหภูมิที่เกิดขึ้นที่บริเวณปลายลวดเชื่อมอยู่ที่ประมาณ 5000-6000 °C การเชื่อมลักษณะนี้เป็นการเติมโลหะลงในแนวเชื่อม และเป็นการทำให้ฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมได้รับความร้อน และหลอมละลายปกคลุมตลอดแนวเชื่อมเอาไว้ ไม่ไห้อากาศเข้าไปในแนวเชื่อม ทำให้ช่วยชะลอการเย็นตัวของแนวเชื่อม เพื่อให้แนวเชื่อมประสานกับโลหะได้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
???????? ข้อดี คือ ให้ชิ้นงานคุณภาพสูง ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้งาน
|
???????? ข้อเสีย คือ ต้องตรวจสอบแนวเชื่อมทุกขั้นตอน
|
4. เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) หรือเครื่องตัด CUT เป็นตู้เชื่อมที่ต้องต่อกับปั๊มลม ใช้ลมช่วยในการตัด เครื่องตัดพลาสม่า สามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิด แต่ความหนาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความแข็งและเหนียวของโลหะ ซึ่งงานเหล็กจะตัดได้ความหนามากที่สุดรองลงมา คือ สแตนเลส และอะลูมิเนียม ตามลำดับ
???????? ข้อดี คือ ตัดโลหะได้ทุกชนิด มีความสวยงามของแนวตัดสูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย ตัดงานบางได้ดี เนื่องจากความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดการบิดงอ หรือเสียรูปและมีความปลอดภัยสูง |
???????? ข้อเสีย คือ มีราคาค่อนข้างสูง คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชำนาญของผู้ใช้ อะไหล่สิ้นเปลืองของเครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนบ่อย |
ดังนั้น เครื่องตัดพลาสม่าเหมาะกับการตัดโลหะ ทั้งอะลูมิเนียม คาร์บอน สแตนเลส ทองแดง ทองเหลือง บรอนซ์นิกเกิลอัลลอย เซอร์โครเนียม เป็นต้น ทั้งนี้ก๊าซ หรือลม ตัวกลางที่นํามาเป็นส่วนของก๊าซพลาสม่า ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้องานที่นํามาใช้ อย่างไรก็ตามคุณภาพของชิ้นงานที่ตัดก็ขึ้นอยู่กับความชํานาญของผู้ใช้เป็นส่วนสําคัญด้วย
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
การดูแลรักษา เครื่องเชื่อม (Weld Machine)
- ก่อนและหลังใช้งาน ผู้ใช้งานควรตรวจสอบชิ้นส่วน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อม ให้อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กไฟ, สายไฟ, ฉนวนต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง ธูปเชื่อม, ลวดเชื่อม, แว่นนิรภัย, หน้ากากเชื่อม และถุงมือป้องกันความร้อน และอื่น ๆ
- ไม่ควรเก็บไว้ในบริเวณใกล้กับแหล่งความร้อนสูงๆ หรือ บริเวณที่มีความชื้นและน้ำ ที่สำคัญที่สุดไม่ควรแก้ไข ดัดแปลง ถ้าต้องการซ่อม หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องเชื่อม ควรกระทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญ เพื่อความถูกต้อง และปลอดภัย
- นำเครื่องเชื่อม เข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ แคลิเบรท (Calibrate) กับห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความถี่ของการใช้งาน