รู้หรือไม่ “เต้ารับไฟฟ้า” ทำไมต้องมีหลายสี แต่ละสีคืออะไร?
อีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่แทบทุก ๆ บ้าน ทุกสถานที่จะต้องมี อย่าง “เต้ารับไฟฟ้า” นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายแบบให้เลือก แม้แต่สีของเต้ารับ ที่เราเคยเห็น เช่น เต้ารับไฟฟ้าสีขาว สีแดง และสีเหลือง ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ สีเต้ารับไฟฟ้า แต่ละสีว่ามีความหมายอย่างไร และใช้งานอย่างไร ตามไปดู
รู้จักกับ เต้ารับไฟฟ้า
คือ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่เป็นจุดจ่ายไฟให้ผู้ใช้งาน โดยมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 (วสท. 022001-22) ได้นิยามความหมายของเต้ารับเอาไว้ว่า เป็นอุปกรณ์หน้าสัมผัส ซึ่งติดตั้งที่จุดจ่ายไฟ ใช้สำหรับการต่อกับเต้าเสียบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เต้ารับทางเดียว (1 โครง ประกอบด้วย 1 ชุดอุปกรณ์หน้าสัมผัส) และ เต้ารับหลายทาง (1 โครง ประกอบด้วยอุปกรณ์หน้าสัมผัสมากกว่า 2 ชุด) นิยมใช้และพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ที่อยู่อาศัย อาคาร โรงงาน อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
เต้ารับไฟฟ้าซึ่งจะใช้ควบคู่กับเต้าเสียบ แบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้
- เต้ารับและเต้าเสียบชนิด 2 ขา คือ อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด แต่ปัจจุบันเต้ารับแบบ 2 ขา ได้มีการถูกยกเลิกผลิต เนื่องจากไม่มีการรองรับของ มอก.
- เต้ารับและเต้าเสียบชนิด 3 ขา คือ เต้าเสียบที่มีขาโลหะอยู่ 3 ขา ต้องใช้กับเต้ารับที่มีช่องรับอยู่ 3 ช่อง โดยช่องที่เพิ่มมาอีกหนึ่งช่อง คือ ช่องที่เป็นตำแหน่งต่อลงสายดิน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัย หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว
- เต้ารับ USB คือ ปลั๊กเต้ารับที่มีลักษณะคล้ายปลั๊กสามตา ถูกผลิตขึ้นมาให้มีความทันสมัย ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบัน ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า หรือชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น
สีเต้ารับไฟฟ้า แต่ละสี มีความหมายอย่างไร?
คงมีหลาย ๆ คนเคยเห็น และสงสัยว่า เต้ารับไฟฟ้านั้น ทำไมมีหลายสี ทั้งนี้การมีหลายสี เพื่อแยกให้รู้ว่า เต้ารับไฟฟ้าจุดนั้น เป็นเต้ารับไฟประเภทใด อย่างไรก็ตาม การแยกสีนั้น อาจจะยังไม่ใช่มาตรฐานบังคับ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเจอแยกสี ก็จะแยกกันได้ตามข้อมูลข้างต้น ดังนี้
-
เต้ารับสำหรับไฟทั่วไป (Normal circuit)
เป็นเต้ารับไฟฟ้า ที่มีแหล่งจ่ายไฟจากการไฟฟ้า เวลาไฟการไฟฟ้าดับ จะทำให้เต้าปลั๊กชนิดนี้ใช้ไม่ได้ ซึ่งเต้ารับชนิดนี้ จะไม่กำหนดสี แต่ส่วนใหญ่ทั่ว ๆ ไป จะเป็น “สีขาว” นั่นเอง
-
เต้ารับสำหรับกรณีฉุกเฉิน (Emergency circuit)
เป็นเต้ารับไฟฟ้า ที่รับไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ UPS หากไฟการไฟฟ้าดับ เต้ารับชนิดนี้ จะยังสามารถใช้ได้ ซึ่งมีข้อกำหนดในการออกแบบระบบไฟฟ้าในสถานพยาบาล และจะกำหนดเต้ารับชนิดนี้เป็น “สีแดง”
-
เต้ารับไฟฟ้าพิเศษ
เป็นเต้ารับไฟฟ้า ที่แยกสีพิเศษออกไป ส่วนใหญ่ใช้ในห้องผ่าตัด ที่ใช้ระบบจ่ายไฟเป็นแบบแยกแหล่งจ่ายไฟ (Isolated circuit) เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ และเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัด ซึ่งมีข้อกำหนดในการออกแบบระบบไฟฟ้าในสถานพยาบาล และจะกำหนดเต้ารับชนิดนี้เป็น “สีเหลือง”
เต้ารับปลั๊กไฟ แบบไหนที่ควรเปลี่ยน?
เต้ารับปลั๊กไฟ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานยาวนานไปพร้อมกับบ้านของเราตั้งแต่ปลูกสร้าง แม้เต้ารับนั้น จะถูกใช้งานเป็น 10-30 ปี จนหน้ากากแผงสวิตช์ จะมีสีเหลืองซีดจนน่ากลัว แต่การใช้งานยังดี จนหลาย ๆ คน เกิดข้อสงสัยว่า เต้ารับ แบบไหนถึงเวลาสมควรเปลี่ยน คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสภาพที่ปรากฏ สังเกตได้จากการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า
วิธีสังเกตเต้ารับปลั๊ก
- เต้ารับปลั๊กต้องแน่น เมื่อเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ขาปลั๊กยึดติดกับเต้ารับแน่น แสดงว่า เต้ารับของคุณยังมีสภาพดี แม้จะผ่านการใช้งานมาหลายปีก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
- เต้ารับปลั๊กหลวมเหมือนจะหลุด ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าของเราเกิดอาการติด ๆ ดับ ๆ คือ สัญญาณว่า ควรเปลี่ยนเต้ารับนั้นได้แล้ว หากพบรอยแตกร้าว หรือร้อยไหม้ที่หน้ากากควรเปลี่ยนทันที และไม่ควรใช้งานต่อ เพราะอาจเกิดอันตรายจากการเกิดความร้อน ก่อให้เกิดประกายไฟอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
เต้ารับถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีความสำคัญของอาคารบ้านเรือน และเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานทุกวัน เราควรให้ความสำคัญ และหมั่นตรวจสอบ ถ้าหากพบว่าเต้ารับเกิดการเสียหาย ชุดรุด หรือหลวม ก็ควรพิจาราณาว่าเต้ารับนั้นสมควรเปลี่ยน ช่วยให้เราใช้งานได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย และยังเป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้ารัดวงจร ไฟรั่ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายของทรัพย์สินภายในบ้าน
อย่างไรก็ตาม เต้ารับไฟฟ้า ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญของอาคารบ้านเรือน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานทุกวัน อย่าลืมให้ความสำคัญ และหมั่นตรวจสอบ หากพบว่าเกิดการเสียหาย หรือชุดรุด ควรรีบทำการเปลี่ยนให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัย และการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง หวังว่าบทความนี้ คงจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- เต้ารับ สวิตช์ไฟ คืออะไร? เลือกใช้อย่างไร?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- Checklist “เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน” ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง?
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย
อ้างอิงข้อมูลจาก ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)