“โรงงาน” กี่ประเภท เลือกให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ก่อนสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ต้องรู้อะไรบ้าง?
“โรงงาน” เป็นสถานอุตสาหกรรม ประกอบด้วยอาคาร และเครื่องจักร หรือที่เรามักจะพบบ่อย ๆ คือ เป็นกลุ่มอาคารซึ่งคนงานผลิตสินค้า หรือดำเนินการเครื่องจักร เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ นั่นเอง แล้วโรงงานนั้น สามารถแบ่งได้กี่แบบ กี่ประเภท บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ประเภทของโรงงานต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
โรงงานคืออะไร?
โรงงาน ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ได้เปลี่ยนขอบเขตความหมายโรงงานจากเดิม ต้องมีเครื่องจักร 5 แรงม้า หรือคนงาน 7 คน มาเป็น มีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า หรือคนงานมากว่า 50 คน ฉะนั้นหากจำนวนแรงม้ารวมของเครื่องจักรน้อยกว่า 50 แรงม้า และจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน จะไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
กล่าวได้ว่าโรงงาน คือ อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน 50 คน ขึ้นไป สำหรับ ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ
ประเภทของโรงงาน มีอะไรบ้าง?
1) โรงงานจำพวกที่ 1
คือ โรงงานที่มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า มีการประกอบธุรกิจ หรือดำเนินกิจกรรมภายในโรงงาน เช่น
- โรงงานฟักไข่โดยใช้ตู้อบ
- โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว
- โรงงานซ่อมรองเท้า หรือเครื่องหนัง
- โรงงานล้างรถยนต์
- โรงงานซ่อมนาฬิกาและเครื่องประดับ
- โรงงานทำเส้นขนมจีน
ดังตัวอย่างข้างต้น ถือเป็นโรงงานที่ไม่ก่อปัญหามลพิษ ได้รับการละเว้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)
2) โรงงานจำพวกที่ 2
คือ โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีเครื่องจักรขนาดมากกว่า 50 แรงม้า แต่ไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานด้วย เช่น
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม
- โรงงานผลิตน้ำแข็ง
- โรงงานทำไอศกรีม
- โรงงานทำน้ำอัดลม
- โรงงานแกะสลักไม้
ซึ่งโรงงานโรงงานจำพวกที่ 2 นี้ ได้รับการละเว้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) แต่ต้องแจ้งให้พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนมีการก่อตั้งโรงงานหรือปฏิบัติงาน
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงาน เพื่อขอใบรับแจ้งประกอบกิจการ มีดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำหรับบุคคลธรรมดา)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนาม ที่ตั้งสำนักงาน และวัตถุประสงค์ (สำหรับนิติบุคคล)
- แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน
- เอกสารอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด
3) โรงงานจำพวกที่ 3
คือ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีขนาดเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน ซึ่งโรงงานจำพวกที่ 3 จำเป็นต้อง ขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ก่อนการจัดตั้ง เพราะถือเป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ หรืออาจสร้างความเดือดร้อน และต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
ห้ามตั้งโรงงานในสถานที่ใดบ้าง?
ก่อนจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาข้อห้ามของทำเลที่ตั้งก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนี้
- โรงงานทั้ง 3 จำพวก ห้ามตั้งบริเวณชุมชนที่พักอาศัย หมู่บ้าน และอาคารชุด
- โรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ห้ามตั้งภายในระยะ 50 เมตรบริเวณพื้นที่สาธารณ เช่น แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากร หน่วยงานรัฐ โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น
- โรงงานจำพวกที่ 3 ห้ามตั้งอยู่ภายในระยะ 100 เมตร บริเวณเขตติดต่อสาธารณสถาน
ผู้ประกอบการที่จะเลือกที่ตั้งโรงงานทั้ง 3 จำพวกนี้ ลองมองหากลุ่มนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนั้น โรงงานทั้ง 3 จำพวก ควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และไม่ก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อนจัดตั้ง และขอใบอนุญาต อย่าลืมหาทำเลเหมาะ ๆด้วย จะช่วยให้การขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ผ่านได้ไม่ง่าย ๆ
ก่อนสร้างโรงงานต้องรู้อะไรบ้าง?
- ตรวจสอบประเภทของโรงงาน และการยื่นคำขออนุญาต โดยขั้นตอนแรกของการทำโรงงาน จำเป็นที่จะต้องมีการยื่นเรื่อง เพื่อขออนุญาตเปิดให้ถูกกฎหมาย แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนนั้น ต้องตรวจสอบก่อนว่าโรงงานที่คุณตั้งใจจะทำนั้นจัดอยู่ในประเภทใด
- ตรวจสอบสถานที่ตั้ง และทำเลต่าง ๆ ในการสร้างโรงงาน และศึกษาสถานที่ห้ามจัดตั้งโรงงานด้วย
- การเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ แนะนำให้เลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการสร้างโรงงานนั้น ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกับอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ด้านนี้จึงสามารถทำได้ดีกว่านั่นเอง
- สำรวจอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อโรงงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในระบบการผลิตสินค้าของโรงงาน แต่เครื่องจักรแต่ละชิ้นนั้น มีราคาสูงมาก จึงควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าให้ดี ๆ ก่อนนำมาใช้ในกระบวนการผลิต
- วางระบบความปลอดภัยในโรงงาน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงมาก ๆ เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบอุณหภูมิ ระบบไฟที่ส่องสว่าง ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุ ชุดปฏิบัติการสำหรับพนักงาน เป็นต้น
- คำนวณค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และค่าระบบรักษาความปลอดภัย ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า เงินทุนที่มีนั้น เพียงพอต่อการสร้างหรือไม่ รวมถึงผลกระกอบการที่ออกมานั้นคุ้มค่ากับที่ลงทุนแค่ไหน และคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่
- ธุรกิจของคุณจำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเองหรือไม่ อีกหนึ่งข้อเพื่อพิจารณาก่อนตัดสินใจสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ลองถามตัวเองว่า ตอนนี้ธุรกิจของคุณ จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเองหรือไม่ เพราะการทำโรงงานต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ยังไม่มีทีม R&D ผลิตหรือพัฒนาสินค้าประจำธุรกิจ หรืออยากได้เพียงคลังสินค้า เพื่อจัดเก็บเท่านั้น ก็ไม่ควรจะสร้างโรงงานนั่นเอง
การเตรียมเอกสารขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง.4 นั้น แนะนำให้ติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแต่เขตจังหวัดที่โรงงานของท่านตั้งอยู่ เพื่อทำการข้อคำแนะนำเพิ่มเติมด้านเอกสาร และวิธีการดำเนินการขอ จากนั้น จะเป็นขั้นตอนในการจัดเตรียมเอกสารในการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง.4 ซึ่งรายการเอกสารเบื้องต้น จะมีรายการ ดังนี้
เอกสารสำหรับขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน มีดังนี้
- ใบแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง 1) สำหรับโรงงานจำพวกที่ 2 / ใบคำขออนุญาต (ร.ง 3) สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3
- ต้องการขอในนามนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน
- ต้องการขอในนามบุคคลธรรมดา สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- หนังสือมอบอำนาจ
- เอกสารสิทธิใช้ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เป็นต้น
- แผนผังอาคารโรงงาน ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุมผู้มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร
- แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร รับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุมผู้มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร
- สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
- ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
- เอกสารอื่นๆตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อาจมีเรียกขอเอกสารประกอบเพิ่มเติมแล้วแต่ประเภทของโรงงานของท่าน เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง เป็นต้น โดยจัดเตรียมเอกสารทุกอย่างจำนวน 3 ชุด สำหรับพื้นที่กรุงเทพ ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ ศูนย์บริการสารพันทันใจ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30 -16:30 น. หรือยื่นเรื่องออนไลน์ ได้ที่ ระบบยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบบดิจิทัล ผ่านเว็บไซต์ http://dsapp.diw.go.th
ขั้นตอนการขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เมื่อผู้ประกอบการยื่นเอกสารครบหมดแล้ว หลังยื่นเรื่องเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาพิจารณา 30 วัน หากเกิดปัญหาไม่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการมีเวลา 30 วันในการยื่นเรื่องอุทธรณ์ให้พิจารณาใหม่
- รายละเอียดขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตโรงงาน ได้ที่: www.diw.go.th
- รายละเอียดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการโรงงาน ได้ที่: http://reg3.diw.go.th/
- รายละเอียดค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และโรงงานจำพวกที่ 3 ได้ที่: http://reg3.diw.go.th/
จบไปแล้วกับประเภทของ โรงงานอุตสาหกรรม และข้อควรรู้ก่อนตั้งโรงงาน ที่บอกเลยว่า ผู้ประกอบการทั้งหลาย ที่กำลังมีแผนสร้างโรงงานควรรู้ไว้ อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล หาทำเล และยื่นขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วย เพื่อความราบรื่นในกรประกอบกิจการของท่านเอง หวังว่าบทความนี้คงให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- BOQ คืออะไร จำเป็นไหมในการก่อสร้างบ้าน?
- เรื่องต้องรู้ก่อน ซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้!
- ประเภทของ “งานก่อสร้าง” มีกี่แบบ?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก ofm.co.th, proindsolutions.com, wolftcb.com, tot.co.th