ไม้อัด MDF คืออะไร? ต่างกับไม้อัดประเภทอื่นอย่างไร?
ไม้อัด MDF หนึ่งใน Fiber board ที่ได้รับความนิยมในวงการเฟอร์นิเจอร์ โดดเด่นที่ผิวเรียบเนียน สวยงามเหมือนไม้จริง
วัสดุชนิดนี้ผลิตมาจากอะไร? มีกี่ประเภท? มีข้อดี ข้อเสีย แบบไหน? ต่างจากไม้ HMR และ HDF อย่างไร? ตาม KACHA ไปหาคำตอบกัน!
ไม้อัด MDF คือ? ผลิตมาจากอะไร?

ไม้ MDF ย่อมาจาก Medium Density Fiber Board เป็นแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ผลิตขึ้นจากเศษไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส หรือไม้ขี้เลื่อย บดให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยอัดเครื่องอัดกำลังสูง (Dry Process) ความหนาแน่น ประมาณ 500 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ขึ้นไป โดยมีกาวเป็นตัวช่วยประสาน ทำให้ได้ไม้อัดที่มีเนื้อแน่น ผิวเรียบเนียนไม่เป็นขุยทั้ง 2 ด้าน ไม้อัดประเภทนี้สามารถนำไปประยุกต์ด้วยการนำไปปิดผิวหรือเคลือบผิวให้มีความสวยงามได้ โดยไม้เอ็มดีเอฟที่นำมาปิดผิวด้วยไม้อัดยาง เรียกว่า “ไม้อัดยางเอ็มดีเอฟ” ผิวจะเรียบเนียน ดูละเอียดกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงาม บางผู้ผลิตต้องการไม้ MDF คุณภาพดีเป็นพิเศษ จะนำไม้ท่อนมาบดอัดแทนขี้เลื่อยเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่า ไม้ MDF สามารถนำไปปิดผิวได้หลายแบบ ทั้งการปิดผิวด้วยกระดาษลายไม้หรือลายอื่น ๆ หรือจะปิดพื้นผิวด้านนอกด้วยพีวีซี (PVC) หรือจะใช้วิธีพ่นสีทับไปบนพื้นผิวด้านนอกได้เช่นกัน
คุณสมบัติเด่น
เนื้อละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่น มีความหนา เนื้อแน่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาเรียบร้อย ไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีเพิ่มความสวยงามได้
ไม้เอ็มดีเอฟ เป็นหนึ่งในไฟเบอร์บอร์ดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้แทนไม้จริง ช่วยลดการตัดต้นไม้ทำลายป่า
ไม้เอ็มดีเอฟ แบ่งตามคุณสมบัติได้ 3 ประเภท ดังนี้
- ชนิดความหนาแน่นสูง นิยมนำไปปิดผิวพ่นสีให้สวยงาม นิยมใช้ทำพื้นอาคารบ้านเรือน
- ชนิดความหนาแน่นปานกลาง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่ง งานเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งงานแกะสลักเกือบทุกชนิด
- ชนิดความหนาแน่นต่ำ เริ่มใช้แพร่หลายทางยุโรปและอเมริกา นิยมใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์น็อกดาวน์ (Knock-down)
รวมข้อดี – ข้อเสียของไม้อัด MDF

ข้อดี
- ผิวเรียบเนียน สม่ำเสมอกันทั้งแผ่น
- เซาะ เจาะ สลักลาย เพิ่มความสวยงามได้
- เนื้อไม้มีความแน่น น้ำหนักเบา
- สามารถเคลือบสีได้ทั้งพ่นสี ปิดผิวลามิเนต
ข้อเสีย
ไม้อัด MDF เป็นไม้ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานหนัก รับน้ำหนักมากไม่ได้ งานที่ต้องสัมผัสกับน้ำและความชื้นอยู่เป็นประจำก็ไม่ควร ใช้ภายนอกไม่ได้ หากถูกน้ำจะบวมน้ำได้ อีกทั้งยังไม่ทนทานต่อมด ปลวก และแมลง นอกจากนี้ขณะตัดไม้ จะมีฝุ่นเป็นจำนวนมาก ช่างไม้และผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงต้องระมัดระวัง
ไม้เอ็มดีเอฟเหมาะกับงานแบบไหน?
ไม้อัด MDF มีต้นทุนผลิตที่ค่อนข้างต่ำ แต่เป็นไม้อัดที่เนื้อแน่น ผิวเรียบสวย บริษัทที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนมากจึงนำไปใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในบ้าน เช่น โต๊ะ ตู้ ชั้นวางของ หรือเฟอร์นิเจอร์บิ้วต์อินอื่น ๆ ทั้งหน้าบาน ตู้ลอยหรือตู้แขวน ชั้นวางของภายในตู้ ฯลฯ
ไม้ MDF, HMR, HDF ต่างกันอย่างไร?

ไม้อัด MDF, HMR, HDF เป็นไฟเบอร์บอร์ดเหมือนกัน แตกต่างกันที่กระบวนการผลิต จะมีวิธีเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ตามไปดูกัน!
ประเภทของไม้อัด |
วิธีผลิต |
ขนาดมาตรฐาน |
งานที่เหมาะสม |
ไม้ MDF |
นำชิ้นหรือเศษไม้ยูคาลิปตัสมาสับและบดจนเป็นเส้นใยละเอียด จากนั้นนำเข้าเครื่องอัดแรงดันและความร้อนสูงจนได้แผ่นบอร์ดที่มีความหนาตามต้องการ | Class E1
1230 x 2450 มม. / หนา 3.0-25 มม. Class E2 1230 x 2450 มม. / หนา 2.5-25 มม. |
– งานตกแต่งภายใน เช่น ผนังตกแต่ง
– งานเฟอร์นิเจอร์ เช่น หน้าบานตู้ โต๊ะ ชั้นวางของ |
ไม้ HMR |
ขั้นตอนผลิตเหมือนกับไม้เอ็มดีเอฟ แต่เพิ่มในส่วนของสารกันชื้นเข้าไปในขั้นตอนบีบอัด |
Class E2 1230 x 2450 มม. / หนา 4-25 มม. |
– บริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อินในห้องน้ำหรือห้องครัว โดยสามารถทนความชื้นสูงขึ้นถึง 30 %
**ไม่แนะนำให้ใช้ไม้ในบริเวณที่แช่น้ำหรือโดนน้ำโดยตรง |
ไม้ HDF |
ขั้นตอนผลิตเหมือนกับไม้เอ็มดีเอฟ แต่เพิ่มความหนาแน่นและจำนวนชั้นของไม้ | Class E0
1230 x 2450 มม. / หนา 3.0-25 มม. Class E2 1230 x 2450 มม. / หนา 2.5-25 มม. |
งานที่ต้องรองรับน้ำหนักหรือรับแรงกระแทกได้ดี เช่น ผนังกั้นห้อง บานประตู เป็นต้น |
ส่งท้าย! วิธีดูแลรักษาไม้เอ็มดีเอฟ (Medium Density Fiber Board)
- เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้เอ็มดีเอฟ ไม่ควรวางใกล้แหล่งความร้อนหรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
- ไม่วางเฟอร์นิเจอร์เอ็มดีเอฟบนพื้นที่เปียกชื้น ไม่ควรให้ถูกแสงแดดหรือแสงสปอตไลท์โดยตรง
- ระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนและระวังไม่ให้มีน้ำหยดลงบนเนื้อไม้ เพราะจะทำลายความสวยงามของเนื้อไม้ อาจทำลายผิวไม้สีซีดลง
- ศัตรูของไม้ MDF คือ ปลวกและแมลงที่กัดกินเนื้อไม้ หมั่นตรวจและหาวิธีกำจัด เพื่อรักษาความสวยงามและความเป็นธรรมชาติ รวมถึงยืดอายุให้ไม้เอ็มดีเอฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
เป็นอย่างไรบ้างกับลักษณะและคุณสมบัติของ ไม้อัด MDF หากใครเลือกวัสดุชนิดนี้ไปใช้อย่าลืมเลือกแผ่นไม้ที่ได้มาตรฐานและขนาดที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพ ส่วนใครที่เลือกไม้เอ็มดีเอฟมาทำเป็นผนังกั้นห้องหรือตกแต่งบ้าน อย่าลืมเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ เก็บงานเรียบร้อย เพื่อความคงทนและความสวยงามตลอดการใช้งานด้วยน้าาา
บทความที่น่าสนใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก: Wazzadu