“10 อุปกรณ์ช่าง เครื่องมือช่าง ประจำบ้าน” ที่ทุกบ้านต้องมี!
หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยรู้ว่า “อุปกรณ์ช่างประจำบ้าน” เป็นสิ่งที่จำเป็นกับบ้านที่เราอยู่ไม่แพ้เครื่องใช้อื่น ๆ เลยทีเดียว หากเกิดเหตุสุดวิสัยของใช้ภายในบ้านเกิดพังแล้วต้องซ่อม หรือหากเราต้องการต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน ทำงานอดิเรก DIY ในวันหยุด อุปกรณ์ช่างประจำบ้าน จึงจำเป็นต้องมีพกเอาไว้ เพื่อจัดการกิจกรรมเหล่านั้น ๆ นั่นเอง
อุปกรณ์ช่าง เหล่านั้นควรมีอะไรบ้าง วันนี้ KACHA เราได้รวบรวม 10 อุปกรณ์ช่าง เครื่องมือช่าง ประจำบ้านพื้นฐาน ที่เราควรมีติดบ้านเอาไว้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่แค่ไหน แค่คว้าอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งของคุณอย่างแน่นอน
1) ตลับเมตร (Tape measure)
อุปกรณ์ชิ้นสำคัญเอาไว้วัดระยะต่าง ๆ เพื่อเช็คความเรียบร้อยเวลาติดตั้ง หรือวัดเพื่อตัดวัสดุให้พอดีกับขนาด โดยส่วนมากตลับเมตรในท้องตลาดจะมีระยะตั้งแต่ 1-5 เมตร ซึ่งถ้าจะมีติดบ้านเอาไว้ แนะนำให้ซื้อ 3 เมตร
2) ระดับน้ำ (Levels)
อุปกรณ์ที่มักใช้คู่กับตลับเมตร ซึ่งตลับเมตรจะมีไว้วัดระยะ แต่ระดับน้ำมีหน้าที่ในการตรวจความเรียบร้อยการวัดไม่ให้ลาดเอียง โดยระดับน้ำส่วนมากจะมีหน้าตาเหมือนไม้บรรทัดเหล็ก ที่บรรจุหลอดแก้วน้ำเขียว ๆ และมีฟองขนาดเม็ดถั่วข้างใน คือสิ่งที่เราใช้ตรวจสอบความลาดเอียง โดยการนำไปขนาบกับจุดที่ต้องการวัด หากฟองอากาศไหลมาอยู่ตรงกลางหลอด แสดงว่าระดับดังกล่าวขนานหรือตั้งฉากแล้ว
3) ไขควง (Screwdriver)
อุปกรณ์พื้นฐานมาก ๆ เอาไว้ขันสกรูและหัวน็อตยึด หรือไว้ประกอบของต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันไขควงนั้นมีหลากหลายวัสดุและขนาด แต่ที่ควรต้องมีไว้คือ ไขควงหัวสี่แฉก และไขควงหัวปากแบน หรือถ้าเป็นไขควงที่วัดไฟได้ด้วยควรซื้อมาด้วยได้เลย
4) ค้อนหงอน (Claw hammer)
ค้อนในวงการช่างนั้นมันมีหลากหลายประเภท ซึ่งค้อนหงอนเป็นค้อนที่มีหงอนไก่อยู่ด้านหลังของหัวค้อนที่ มีหน้าที่เอาไว้งัดตะปูหรืองัดเสี้ยนต่าง ๆ ได้ ค้อนหงอนนี้สามารถตอกยึดถอนทำได้หมด ซื้อตัวนี้ตัวเดียวจบ ต้องมีติดบ้านไว้
5) สว่านมือไฟฟ้า (Electric drill)
อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เพียงแค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้เจาะผนังเบา ผนังคอนกรีด นำร่องตะปู ขันสกรู ซึ่งสว่านมือมีหลากหลายขนาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใส่ถ่านไร้สาย สะดวกสบายทุ่นแรงไปได้เยอะ
6) เลื่อยลันดา (Saw)
เป็นเลื่อยมือที่ใช้งานได้ง่าย จับง่าย และปลอดภัย โดยสามารถใช้งานตัดได้ทั้งไม้ และวัสดุโลหะบาง ๆ (แต่ออกแรงเยอะหน่อย) โดยเทคนิคการเลื่อยที่ดีก็คือ ใช้แรงดึงเข้าที่ตัวในการเลื่อย
7) คีมล็อค (Locking plier)
อุปกรณ์อีกชิ้นที่สำคัญมาก หน้าตามเป็นเหมือนคีมหัวใหญ่ ๆ ที่มีสลักกดเอาไว้ล็อคขนาดหัวได้ มีหน้าที่เอาไว้หนีบยึด บิด เกี่ยว งัด กับวัสดุนั้น ๆ ที่เรากำลังทำงานอยู่ ตัวล็อคนั้นช่วยทำให้ออกแรงได้น้อยลงเวลาทำงานนั่นเอง
8) คีมตัด (Cutting plier)
ชุดคีมตัด มักจะมาเป็นชุด 3 ขนาด มีหน้าที่คล้ายกรรไกรสำหรับงานก่อสร้าง ไว้ตัดแผ่นเหล็ก ตัดลวด ตัดสายไฟ ปลอกสายทองแดง ซึ่งคีมตัดนี้ สามารถประยุกต์มาแทนประแจได้ด้วย
9) ชุดประแจ, ประแจเลื่อน (Wrench)
ชุดประแจเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ ขันหัวน็อต หรือสกรูในงานพวกเหล็กต่าง ๆ แนะนำให้ซื้อเป็นกล่องไว้ เพราะมีให้เลือกหลากหลายขนาดตามการใช้งาน ถ้าอยากสะดวกขึ้นมาอีกหน่อย แนะนำให้ซื้อเป็นแบบประแจแบบเลื่อนได้ สามารถปรับขนาดหัวได้นั่นเอง แต่จุดอ่อนของประแจเลื่อนคือขนาดจะใหญ่เทอะทะไปหน่อย
10) ตัวยึดต่าง ๆ
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้อย่าง ตัวยึดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตะปู ตัวสกรู ตะขอยึด ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ จะเรียกว่า fitting หรือตัวยึด โดยมีขนาดและวัสดุหลากหลายมาก ๆ ในท้องตลาด เราแนะนำให้เหมาซื้อเป็นกล่อง ๆ เก็บหลาย ๆ แบบ เพื่อที่ว่าไม่ว่างานช่างประเภทไหนจะได้มีของสำรองไว้นั่นเอง
วิธีดูแลรักษา อุปกรณ์ช่าง เครื่องมือช่าง
- ทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้งานทุกครั้ง
- ถ้าเครื่องมือชำรุด ให้ซ่อมแซมก่อนนำไปเก็บ
- เครื่องมือที่เป็นโลหะ เช่น กรรไกร มีด เลื่อย ควรทาน้ำมันเพื่อป้องกันสนิมในส่วนที่เป็นโลหะ
- จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือช่างเข้าที่ หรือเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ช่าง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากมายผลิตออกมาในรูปต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ช่างได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ดูดีมืออาชีพ เป็นที่พอใจกับลูกค้า ดังนั้น Kacha เราจึงมุ่งมั่นสรรหาเครื่องมือ อุปกรณ์ช่างมืออาชีพ มาบริการด้วยหัวใจ ????
ติดตามกันได้ที่ ???? https://www.kachathailand.com/ ???? 092-262-6250 หรือ ???? Facebook : Kacha Thailand
บทความดี ๆ น่าอ่าน: