วิธีติดตั้งรอกไฟฟ้า รุ่น heavy duty 3 ton ด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว
KACHA พาดู วิธีติดตั้งรอกไฟฟ้า รุ่น heavy duty 3 ton อ่านบทความนี้จบ ทำตามได้เลย มีขั้นตอนอย่างไร? ตามไปดู!
(การติดตั้งรอกไฟฟ้า ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น)
วิธีติดตั้งรอกไฟฟ้า
STEP 1 : ประกอบรอกไฟฟ้า
- ควรตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ทั้งหมด ว่าไม่มีชิ้นส่วนใดชำรุด
- ทำการติดตั้งตะขอแขวนรอกด้านบน พร้อมกับขันน็อตให้แน่น
- จากนั้นติดตั้งถุงเก็บโซ่ และใช้น็อตยึดเช่นเดียวกัน (ถุงโซ่จะช่วยเก็บโซ่ไม่ให้กีดขวาง ระหว่างทำงาน)
- นำตะขอแขวนรอกที่อยู่ด้านบนขึ้นมาแขวนที่คานหรือโครงเหล็กสำหรับเคลื่อนย้ายสินค้า
ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ทั้งหมด
ติดตั้งตะขอแขวนรอกด้านบน พร้อมขันน็อตให้แน่น
ติดตั้งถุงเก็บโซ่ และใช้น็อตยึดเช่นเดียวกัน
นำตะขอแขวนรอกขึ้นมาแขวนที่คาน
STEP 2 : ติดตั้งรอกไฟฟ้า
- เมื่อติดตั้งรอกไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบรอกโดยใช้รีโมทบังคับ
- หลังตรวจสอบและพบว่ารอกไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ปกติ ให้นำตะขอรอกยึดกับตัวสินค้า
- ทดสอบรอกอีกครั้งโดยการดึงสินค้าให้ลอยขึ้นจากพื้น
- สุดท้ายสามารถเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้
ตรวจสอบรอกไฟฟ้าโดยใช้รีโมทบังคับ
หลังตรวจสอบแล้วนำตะขอรอกยึดกับตัวสินค้า
ทดสอบรอกโดยการดึงสินค้าให้ลอยขึ้นจากพื้น
เคลื่อนย้าย สินค้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
อุปกรณ์สำคัญที่มากับรอกไฟฟ้า รุ่น heavy duty
1.ตะขอแขวนรอกเซฟตี้ล็อค (Safety Lock) พร้อมน็อต
2.ถุงเก็บโซ่ พร้อมน็อต
3.ริโมตบังคับรอก
4.โซ่เหล็กแมงกานีสเกรด 80 สำหรับยอกของหนักโดยเฉพาะ
ทำไมต้อง รอกโซ่ไฟฟ้า ของ KACHA ?
- รอกโซ่ไฟฟ้าของ KACHA ทุกตัวมีประกันยาวนานถึง 1 ปีเต็ม
- สินค้าแท้สั่งตรงจากโรงงาน สามารถส่งเคลมได้หากมีปัญหา
- คุ้มค่าที่สุดในตลาด ในราคาที่เป็นมิตร พร้อมมีการรับประกัน และใบรับรองคุณภาพ
- ทีมงานมีประสบการณ์ สามารถดูแล และให้คำปรึกษาได้ตลอดการใช้งาน
- ทีมช่างเทคนิคพร้อมรองรับ ในการแก้ไขปัญหา
- สต็อกสินค้าอะไหล่ เพื่อรองรับการสั่งซื้อตลอดเวลา
- มีบริการจัดส่งสินค้าทั่วไทย พร้อมรับประกันสินค้าตลอดการขนส่ง
- สามารถตรวจเช็คสินค้าด้วยตัวเองได้ก่อนการขนส่ง
- มีการตรวจสอบสินค้าก่อนการจัดส่ง 100% เพื่อการันตีคุณภาพก่อนถึงมือลูกค้า
- มีขนาดให้เลือกหลากหลายตามลักษณะการใช้งาน
- ราคาย่อมเยา
ข้อควรระวังในการใช้รอกไฟฟ้า
- ห้ามปฎิบัติงาน ด้วยความประมาทเลินเล่อ
- ห้ามใช้โครงติดรอกยกของ ยกน้ำหนักเกินกว่าที่ระบุไว้
- ห้ามยกขึ้น ยกลง จนสุดปลายโซ่ ทั้งด้านบนและด้านล่าง
- ห้ามใช้งาน หากโครงติดรอกยกของนั้น บิด หรือหักงอ
- ห้ามมิให้ผู้ใด ยืน หรือเดินผ่านใต้ของหรือสินค้าที่กำลังยก
- ห้ามใช้ตัวรอกผิดวัตถุประสงค์ เช่น งอเหล็ก
- ห้ามใช้ รอกวิ่งไฟฟ้า สองตัวเพื่อยก วัตถุชิ้นเดียวกัน
- หากรอกวิ่งไม่สามารถยกวัตถุได้ตามปกติ ให้ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน ห้ามใช้กำลังฝืนในการยก
- ควรสวมใส่หมวกนิรภัย ที่ได้มาตรฐานทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งานโครงติดรอกยกของ
- ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงานเข้าไป ภายในรัศมีของการใช้งานขณะที่กำลังปฏิบัติงาน
การดูแลรักษารอกไฟฟ้า
โดยมากอายุการใช้งานของรอกโซ่นั้น หากยกของไม่เกินน้ำหนักที่ตัวเครื่องระบุไว้และมีการดูแลรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ได้นานถึง 5 – 10 ปี ดังนั้นเพื่อการถนอมอุปกรณ์และความสามารถใช้การใช้งานที่จะช่วยยืดระยะเวลา ควรปฏิบัติตาม ดังนี้
- หลังจากใช้งาน ให้ทำความสะอาดตัวรอกโซ่ และ เก็บในที่แห้งเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของตัววัสดุ
- ทำความสะอาดรอกโซ่ไฟฟ้า เพียงปีละครั้งโดยใช้ น้ำมันก๊าด และจารบี
- หลังจากทำความสะอาดและประกอบกลับ ควรทดสอบการใช้งานขณะยกสิ่งของที่มีน้ำหนัก ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่
วิธีติดตั้งรอกไฟฟ้าที่ KACHA นำมาบอกในวันนี้ มีขั้นตอนในการติดตั้งไม่ยาก แต่ต้องใช้ความรอบคอบ และระมัดระวังค่อนข้างมาก ไม่ใช่เพียงแค่การติดตั้งสินค้าจากแบรนด์เรา แต่ในการทำงานด้านอุตสาหกรรมนี้ ไม่ควรประมาทเลินเล่อเด็ดขาด สวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานทุกครั้ง แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะคะ 🙂