5 วิธี ทาสีบ้านเก่า ให้สวยเหมือนใหม่ งบประหยัด ไม่ง้อช่าง!

บ้านเก่า สีหลุนร่อนตามกาลเวลา สีไม่สดใสเหมือนเดิม อยากทาสีใหม่ ทำเองได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ KACHAจะพาทุก ๆ ไปดูวิธี ทาสีบ้านเก่า ให้เหมือนบ้านใหม่ ด้วย 5 ขั้นตอน แบบง่าย ๆ ที่เราสามารถทำเองได้ไม่ยาก จะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

ชนิดของสีทาบ้าน

สีทาบ้านที่ใช้กันทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ชนิด แต่ละชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

สีทาบ้านภายใน

เป็นสีที่ทาทับส่วนผนังภายใน เป็นสีที่ไม่ต้องเจอแสงแดด ฝน แต่การทาสีภายใน ก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้น ควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างง่าย ป้องกันเชื้อราได้ดี และไม่มีกลิ่นฉุน

อ่านบทความ: เลือกสีทาบ้านภายใน สีสวย คงทนยาวนาน ทำได้อย่างไรบ้าง?

สีทาบ้านภายนอก

เป็นสีจริง ที่ใช้ทาทับส่วนผนัง ที่อยู่ภายนอกบ้าน หลังทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการ เมื่อต้องใช้ทาภายนอก สีจึงถูกออกแบบมาให้ทนทานกว่าดีทาภายใน เพราะต้องเจอ แดด และฝน มีการเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดี และยาวนาน ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็สามารถใช้ทาภายในได้ด้วย

อ่านบทความ: เลือกสีทาบ้านภายนอก ให้ทนทาน อยู่ได้นาน ทำได้อย่างไร?

สีทารองพื้น

เป็นสีที่ทารองพื้น หลังจากฉาบปูนเสร็จ ก่อนที่จะทาสีทับจริงภายใน และภายนอก เพื่อให้เกิดโทนสีที่ต้องการ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุที่ฉาบให้ดียิ่งขึ้น สีทารองพื้นนั้นเหมือนกับสีทาภายนอกและสีทาภายใน แตกต่างกันที่ชนิดของกาว และส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะที่ทนต่อสภาพความเป็นด่างที่ดี เพราะเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูนนั่นเอง โดยสีทารองพื้น จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ สีทารองพื้นปูนใหม่ และสีทารองพื้นปูนเก่า จะนำไปใช้ต่างกัน

อ่านบทความ: รู้จักกับ สีรองพื้น คืออะไร? จำเป็นไหมที่ต้องใช้คู่กับสีทาบ้าน

221219-Content-5-วิธี-ทาสีบ้านเก่า02-1

5 ขั้นตอนการ ทาสีบ้านเก่า

1. การวางแผนงบประมาณ

การวางแผน คำนวณงบประมาณที่ต้องใช้ เป็นสิ่งแรกที่ควรทำ ไม่ว่าจะ ค่าสีทาภายใน สีทาภายนอก สีรองพื้น และสีทาทับหน้า หรือค่าจ้างช่างทาสี เพื่อไม่ให้งบบานปลายในภายหลัง ควรวางแผนการเงินไว้เสียก่อน จะช่วยให้การทาสีบ้านของเราคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

2. การเตรียมพื้นผิว

การเตรียมพื้นผิว ทั้งปูนเก่า ปูนใหม่ของผนัง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีรายละเอียด และขั้นตอนการเตรียมที่ต่างกัน ดังนี้
  • ผนังปูนเก่า ขัดล้างสีเดิมที่เสื่อมสภาพออก บริเวณที่มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำ ขัดล้างด้วยน้ำสะอาด ทิ้งให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำยากำจัด และยับยั้งเชื้อรา ตะไคร่น้ำ โดยทาทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้น ขัดล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด และทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
  • ผนังปูนใหม่ ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ล้างคราบสกปรกต่าง ๆ ออกให้หมด แล้วทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 30 วัน
  • ผนังมีรอยแตกร้า หากเป็นบ้านปูนเก่า ที่มีรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ ควรทำการอุดซ่อมให้เรียบร้อยก่อน แต่ถ้าเป็นรอยแตกเล็กน้อย สามารถทาสีปิดทับรอยได้เลย (อ่านบทความ: รอยแตกร้าว ซ่อมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง!)

3. ทาสีรองพื้น

เป็นขั้นตอนการเตรียมผนังก่อนลงสี เพื่อปรับสภาพความเป็นด่างของผนังปูน และยังเป็นตัวช่วยให้ฟิล์มสียึดเกาะติดกับผนังบ้านได้ดียิ่งขึ้น สีรองพื้น มีดังนี้
  • ผนังปูนเก่า ทาน้ำยารองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำมัน เพื่อเสริมการยึดเกาะ จำนวน 1 รอบ ทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนทาสีทับหน้า
  • ผนังปูนใหม่ ทาสีรองพื้นปูนใหม่ จำนวน 1 รอบเที่ยว ทิ้งให้แห้ง อย่างน้อย 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ก่อนทาสีทับหน้า
221219-Content-5-วิธี-ทาสีบ้านเก่า02

4. อุปกรณ์ทาสี

การเตรียมอุปกรณ์ทาสี เช่น แปรงทาสี เกรียงทาสี และลูกกลิ้งทาสี รวมถึงเทปกาว ใช้สำหรับกั้นพื้นที่ที่ไม่อยากให้สีไปเลอะโดน เช่น ขอบประตู ขอบหน้าต่าง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ดังนี้
  • ลูกกลิ้งทาสี สำหรับการใช้ทาสีในพื้นที่บริเวณกว้าง มี 3 ขนาด ได้แก่ ลูกกลิ้ง 4 นิ้ว, 7 นิ้ว และ 10 นิ้ว
  • แปรงทาสี ใช้ทาสีในพื้นที่จำกัด ในซอกมุม มีหลายขนาดตั้งแต่ 1-5 นิ้ว และขนแปรงมีหลายแบบ เช่น แปรงขนดอกหญ้า แปรงขนพลาสติก และแปรงขนสัตว์ ควรเลือกให้เหมาะสมกับงาน เช่น แปรงทาสี 2.5 นิ้ว จะเป็นขนาดยอดนิยม เป็นต้น
  • เกรียง สำหรับเกลี่ยพื้นที่ให้เรียบผิวเรียบ แซะปูนเก่า เกลี่ยรอยโป๊ว ขึ้นลายสี มีหลายแบบ เช่น เกรียงสามเหลี่ยม เกรียงเกลี่ยโป๊ว และเกรียงเหล็ก BA-43 ทรงเหลี่ยม ที่เหมาะแก่การนำมาขึ้นลายสีพิเศษ เช่น สี Loft ปูนเปลือย
  • เทปกาวกั้นพื้นที่ การเลือกเทปกาว ต้องดูเรื่องคราบกาว และการทนการซึม เมื่อลอกออกมาจะต้องไม่ทิ้งคราบกาวไว้ และเมื่อทาสี เนื้อสีจะต้องไม่ซึมเข้าไปข้างใน

5. ทาสีทับหน้า

ขั้นตอนสุดท้ายของการ ทาสีบ้านเก่า การเลือกสีทับหน้ามีหลักการพิจารณาใน ดังนี้
  • เฉดสีที่ต้องการ เลือกสีที่ต้องการได้จากแคตตาล็อกสี ตามร้านขายสีชั้นนำทั่วไป ซึ่งจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่าการดูผ่านจอคอม หรือมือถือ
  • สูตรสีน้ำ หรือสีน้ำมัน สีทาบ้านสูตรน้ำจะมีกลิ่นอ่อนกว่า สูตรน้ำมัน หากกังวลเรื่องกลิ่นสีแรง ๆ ควรเลือกสูตรน้ำจะเหมาะกว่า
  • เนื้อฟิล์มแบบสีด้าน หรือสีกึ่งเงา เนื้อฟิล์มสีที่นิยมใช้ในตลาดมี 2 แบบ คือ สีแบบด้านเนื้อเนียนเรียบง่าย ไม่สะท้อนแสง และสีแบบกึ่งเงา (Semi-Gloss) ที่จะให้สไตล์โกลว์ โชว์ความหรู และเช็ดล้างได้ง่ายกว่าแบบด้าน
  • คุณสมบัติพิเศษของสี สีทาบ้านในปัจจุบัน ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะกับการดูแลบ้าน และป้องกันมลภาวะกับผู้อาศัย เช่น สีมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ช่วยลดค่าไฟ หรือช่วยฟอกอากาศ ฆ่าเชื้อโรคได้ เป็นต้น
  • เกรดของสี วัดจากอายุความทนทาน ซึ่งจะมีหลายเกรด ความทนทานเริ่มต้นตั้งแต่ 3-15 ปี ยิ่งเกรดสูง ก็จะยิ่งมีราคาสูงกว่า

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ เทคนิค และขั้นตอนการ ทาสีบ้านปูนเก่า ที่เราได้นำมาฝากกัน หวังว่าคงจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นความรู้ในการ ทาสีบ้านด้วยตัวเอง เลือก สีทาบ้าน ก่อนนำไปใช้งาน บทความหน้าจะมีอะไรดี ๆ มาฝาก ติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

เพื่อให้งาน ทาสีบ้านภายนอก ของคุณสะดวก สบาย งานออกมามีคุณภาพมากขึ้น เราขอแนะนำตัวช่วยดี ๆ เครื่องลอกสี ลอกสีผนัง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

เครื่องลอกสี ลอกสีผนัง ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก: ddproperty.com