FIFO คืออะไร? เหมาะกับคลังสินค้าแบบไหน? สำคัญอย่างไรในอุตสาหกรรม?

จัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพด้วย FIFO อีกหนึ่งหลักการที่ช่วยรักษาความสมดุลให้กับธุรกิจ

ระบบ First In-First Out คืออะไร? เหมาะกับการจัดเก็บสินค้าแบบไหน มีความสำคัญอย่างไร ตาม KACHA ไปดูกัน!

ระบบ FIFO หมายถึงอะไร?

ระบบ FIFO หมายถึงอะไร?

FIFO (First In-First Out) คือ การหยิบสินค้าแบบ “เข้าก่อน-ออกก่อน” หรือ “การหยิบสินค้าตามลำดับการเข้าคลัง” อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน คือ สินค้าที่ถูกเก็บในคลังก่อน เมื่อมีคำสั่งซื้อต้องนำสินค้านั้นออกไปขายก่อน เพื่อป้องกันสินค้าล็อตเก่าเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ถือเป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีกแบบหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เป็นประโยชน์ทั้งด้านบัญชี ภาษี การบริหารการปฏิบัติการ และธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการหมุนเวียนของวัตถุดิบหรือสินค้าอย่างต่อเนื่อง

FIFO เหมาะกับคลังสินค้าแบบไหน?

ระบบ First In-First Out เหมาะกับร้านค้าหรือคลังสินค้าที่จัดเก็บ สินค้าที่มีอายุการเก็บรักษา, สินค้าที่มีจำนวนและราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสินค้าที่มีระยะการขายสั้น เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือที่มีอายุการขายไม่ถึงครึ่งปี หรือ วัตถุดิบในร้านอาหารที่เน่าเสียอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามหลักการบริหารการปฏิบัติการแล้ว ในกรณีนี้ธุรกิจควรขายหรือใช้งานสต็อกที่เข้ามาก่อน เพื่อลดโอกาสที่สินค้าล็อตเก่าจะเสื่อมคุณภาพ เน่าเสีย หรือตกเทรนด์ ซึ่งสินค้าที่ถูกนำเข้ามาจะต้องมีสัญลักษณ์ บาร์โค้ด หรือแปะป้ายเพื่อบอกว่าเป็นสินค้าที่เข้ามาวันไหน พนักงานจะได้จัดการ จัดเรียง หรือบริหารคลังสินค้าได้ง่ายขึ้น

ความสำคัญของ First in First out

ความสำคัญของ FIFO ในอุตสาหกรรม

ระบบ First In-First Out (FIFO) เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ช่วยจัดการสินค้าคงคลังในโกดัง ทั้งการดูแล วางแผน และจัดการสินค้าที่มีในสต็อกให้มีความเหมาะสม ไม่เยอะ ไม่น้อยเกินไป เพื่อสร้างความสมดุลให้กับ Supply Chain เพราะสินค้าคงคลังเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตที่ส่งผลกระทบอย่างมากในธุรกิจ

ข้อดี

  • ตรวจสอบคุณภาพและวันหมดอายุสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ ลูกค้าได้รับสินค้าใหม่ล่าสุด
  • จัดเก็บสินค้าได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มความสะดวกในการหยิบสินค้า และเช็กสต็อกสินค้า
  • วัดมูลค่าของสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้น โดยสังเกตจากจำนวนเงินที่ถูกหักออกไปจากคลังสินค้า เทียบกับจำนวนที่ได้รับเข้ามา ซึ่งทั้งสองจะแปรผันตรงกัน ง่ายต่อการนำข้อมูลมาทำบัญชี

First in First out นอกจากจะมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมแล้ว ยังมีประโยชน์ในการ จัดการข้อมูลคอมพิวเตอร์ การจัดการกับงานคงค้าง และวิทยาการคอมพิวเตอร์อีกด้วย

ข้อจำกัด

  • หากสินค้าเก่าขายไม่ออก อาจทำให้ต้นทุนในการขนย้ายและจัดเก็บสูงขึ้น
  • หากมีการขายสินค้าที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดสต็อก
  • ไม่เหมาะกับสินค้าคงคลังบางประเภท เช่น สินค้าเน่าเสียที่มีอายุเก็บรักษาน้อย หรือสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาที่ต่างกันมาก

การคำนวณ First in First out

ตัวอย่างการคำนวณ first in first out

ตัวอย่างการคำนวณ

  • 1 ม.ค. มี สินค้าคงเหลือยกมาจากปีก่อน จำนวน 50 ชิ้น ราคาซื้อชิ้นละ 2 บาท
  • 5 ม.ค. ซื้อสินค้าเพิ่มอีกจำนวน 10 ชิ้น ราคาซื้อชิ้นละ 3 บาท
  • 20 ม.ค. กิจการได้ขายสินค้าของวันที่ 1 ม.ค. จำนวน 45 ชิ้น ราคาขายชิ้นละ 10 บาท
  • 31 ม.ค. กิจการได้ขายสินค้าของวันที่ 8 ม.ค. จำนวน 3 ชิ้น ราคาขายชิ้นละ 10 บาท

มูลค่าสินค้าปลายงวด: มูลค่าของช่องยอดคงเหลือสุดท้าย : 4 + 30 = 34 บาท

ต้นทุนขาย : ผลรวมของมูลค่าของแถว “ขาย” : 90+6 = 96 บาท

กำไรขั้นต้น : ราคาขายรวม – ต้นทุนขาย : (48 ชิ้น x 10 บาท) – 96 = 384 บาท

FIFO ต่างจาก LIFO อย่างไร?

FIFO ต่างจาก LIFO อย่างไร?

FIFO (First In-First Out) คือ รูปแบบการหยิบสินค้าแบบ เข้าก่อน-ออกก่อน เหมาะกับธุรกิจอาหาร ยา เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที หรือสินค้าที่มีอายุการจัดเก็บ ช่วยลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานาน ลูกค้าได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ ไม่หมดอายุ การจัดเก็บแบบนี้สามารถวัดมูลค่าของสินค้าคงคลังได้

 LIFO (Last In-First Out) คือ รูปแบบการหยิบสินค้าแบบ เข้าหลัง-ออกก่อนเหมาะกับสินค้าที่เป็นเทคโนโลยี สินค้าแฟชั่น หรือสินค้าที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น การขายในรูปแบบนี้ เมื่อเรานำสินค้าที่อยู่ในกระแสมาขายมากเท่าไหร่ ความต้องการซื้อก็มีมากเท่านั้น เช่น ร้านขายเสื้อผ้าที่มักจะอัปเดตเสื้อผ้ารุ่นใหม่แล้วนำแขวนโชว์ไว้หน้าร้านอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันเสื้อผ้ารุ่นเก่าก็ยังสามารถขายได้อยู่ ระบบนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของต้นทุนในการผลิตให้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด

จะเห็นว่า First in First out เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่มีประโยชน์มาก หากนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าคงคลังที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น จะช่วยลดโอกาสการเสื่อมสภาพของสินค้า ลูกค้าได้รับสินค้าสดใหม่ สามารถวัดมูลค่าโดยรวมได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดการคลังสินค้าแต่ละแบบ มีความเหมาะสมกับสินค้าที่แตกต่างกัน เราจึงควรเลือกระบบที่เข้ากับประเภทสินค้าในโกดังของเรามากที่สุด เพื่อการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : Logistics Cafe, PackHai

KACHA ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้าง รับสร้างโกดังสำเร็จรูป ออกแบบโดยวิศวกร ช่างผู้เชี่ยวชาญ ดูแลให้คำปรึกษา พร้อมบริการที่ประทับใจ