วิธีต่อสายไฟ ต่อสายไฟ แบบพื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
หลาย ๆ คน คงคุ้นเคยกับสายไฟฟ้ากันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานนั่นเอง แล้วถ้าสายไฟในบ้านเกิดการชำรุด บางคนอาจจะซ่อมแซมเองได้อย่างง่ายดาย เพราะมีความรู้ด้านวิศวะ หรือสายอาชีพช่าง อาจจะดูเป็นเรื่อง่าย สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ด้านการ ต่อสายไฟ ในบทความนี้ KACHA จะมาบอกเคล็ดลับ วิธีต่อสายไฟ ขั้นพื้นฐานอย่างถูกวิธีมาฝากกัน จะมีแบบไหนบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย
ประเภทของสายไฟ
1. สายไฟฟ้า แรงดันต่ำ
- สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 750 โวลต์ (750V)
- สายไฟทำด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง
- มีสายขนาดเล็ก จะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่ จะเป็นตัวนำตีเกลียว
- ฉนวนที่ใช้งาน จะเป็น PVC และ XLPE
2. สายไฟฟ้า แรงดันสูง
- เป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่
- สายชนิดนี้ มีทั้งสายแบบเปลือย และหุ้มฉนวน
- สายไฟแรงดันสูง สามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1KV~36KV
สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสายไฟประกอบไปด้วย ตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะทำจากโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย เช่น ทองแดง และฉนวนไฟฟ้า ที่ใช้ในการหุ้มป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กับสายโดยตรง และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าด้วย
วิธีต่อสายไฟ แบบต่าง ๆ ทำได้อย่างไร?
ก่อนต่อสายไฟ เพื่อเพิ่มความยาวของสาย หรือต่อแยกสาย จะต้องปอกฉนวนที่หุ้มสายออก โดยให้เส้นทองแดงโผล่ออกมายาวประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วใช้คีมดึง หรือบิดเป็นเกลียว เพื่อให้จุดต่อมีการสัมผัสกันอย่างแน่นหนา มีวิธีต่อได้หลายแบบ ดังนี้
1) การต่อสายไฟ แบบรับแรงดึง
การต่อสายไฟเดี่ยว
- ปลอกสายที่หุ้มฉนวนออก เส้นละประมาณ 3 นิ้ว
- ขุดทำความสะอาดสาย
- เอาปลายทั้งสอง บิดเข้าหากันเป็นเกลียว แล้วใช้คีมบีบให้แน่น
2) การต่อสายไฟ แบบไม่รับแรงดึง
การต่อแบบหางเปีย หรือหางหมู เหมาะสำหรับการต่อสายไฟที่มีขนาดเท่ากัน
- ปอกฉนวนปลายสาย ข้างละประมาณ 3 นิ้ว
- ขูดทำความสะอาดสาย
- เอาปลายทั้งสองข้างมาชิดกัน แล้วบิดเป็นเกลียวให้แน่น แล้วพันด้วยเทปพันสายไฟ
3) การต่อสายไฟ แบบแยก
การต่อแยกสายไฟ ออกเป็น 3 ทางหรือ 4 ทาง แล้วแต่งาน สามารถแยกออกตามประเภทของงาน ดังนี้
แยกแบบเส้นเดียว
- ปอกสายไฟ เส้นที่ต้องการแยก ประมาณ 1 นิ้ว
- ปอกสายที่จะแยกออก ความยาวประมาณ 3 นิ้ว
- จากนั้น นำมาพันกับสายเส้นหลักในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยพันจากจุดกึ่งกลางออกไปทางด้านข้าง แล้วใช้คีมดึงและบิดเป็นเกลียวให้แน่น
- หุ้มรอยต่อด้วยเทปพันสายไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
แยกแบบหลายเส้น สำหรับการการต่อสายไฟแยกแบบหลายเส้น มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ การต่อสายไฟแยกแบบเส้นเดียว เพียงแต่การต่อแบบหลายเส้น จะต้องปอกสายที่ต้องการจะแยกออก ให้กว้างขึ้นนั่นเอง
4) การต่อสายไฟ สายแข็งกับสายอ่อน
- ปอกฉนวนปลายสายทั้ง 2 เส้นออก ข้างละประมาณ 3 นิ้ว
- ใช้สายอ่อนพันรอบ ๆ สายแข็งให้เป็นเกลียว
- เสร็จแล้วพับ หรืองอปลายสายแข็ง ให้เป็นขอ เพื่อป้องกันไม่ให้สายหลุดได้ง่าย หุ้มรอยต่อด้วยเทปพันสายไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
5) การต่อสายไฟ แบบสายคู่
การต่อสายคู่ หากต่อไม่ดี อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ วิธีการต่อสายคู่เหมือนกับการต่อสายเดี่ยว เพียงแต่ตำแหน่งต่อ จะต้องเยื้องจากกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสายทั้งสองเส้น
- ปอกฉนวนที่หุ้มปลายสายทั้ง 2 เส้นออก ข้างละประมาณ 4-5 นิ้ว ใช้คีมตัดสายเส้นใดเส้นหนึ่งของแต่ละข้างให้สั้นลง เพื่อไม่ให้จุดต่อตรงกัน ให้รอยต่อเยื้องกันเล็กน้อย นำมาพาดกันเป็นเครื่องหมายกากบาท
- ใช้คีมบิดสายให้เป็นเกลียว เพื่อให้สายไฟพันรอบตัวซึ่งกันและกัน โดยจะต่อแบบสายเดี่ยวทีละเส้น
- เมื่อต่อเสร็จแล้ว รอยต่อจะไม่ตรงกัน หุ้มรอยต่อด้วยเทปพันสายไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
6) การต่อสายไฟ แบบข้างในหลายเส้น
การต่อแบบข้างในหลายเส้น ส่วนใหญ่จะเป็นสายที่มีขนาดเริ่มใหญ่ จำพวกสายเมน การต่อแบบนี้ จะรับแรงดึงได้เยอะ
- ปอกปลายสายทั้งสองเส้นข้างละประมาณ 5 นิ้ว
- คลี่ปลายสายที่ปอก ดึงให้ตรง และจัดระยะห่างให้เท่า ๆ กันทั้ง 2 เส้น
- จากนั้น นำสายที่คลี่ออกมาประสานกันเส้นต่อเส้น ใช้คีมพันเป็นเกลียวให้แน่น หุ้มรอยต่อด้วยเทปพันสายไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
เรียกได้ว่าการ ต่อสายไฟ และวิธีต่อสายไฟ เราเองก็สามารถทำได้ เพียงแค่ต้องศึกษาวิธีต่อ และเข้าใจสายไฟแต่ละสายก่อน อย่างไรก็ตาม การต่อสายไฟเอง อาจจะมีความเสี่ยงได้ อย่าลืมป้องกัน สวมถุงมือทุกครั้งก่อนทำการต่อสายไฟด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- วิธีต่อปลั๊กไฟ และ สวิตช์ ด้วยตัวเองง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?
- สายไฟ มีกี่ประเภท? ใช้งานอย่างไรบ้าง?
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- ท่อร้อยสายไฟ ดีอย่างไร? เดินแบบไหนดีกว่ากัน…
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! ขอแนะนำ กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง ตัวช่วยดี ๆ เหมาะสำหรับ เก็บอุปกรณ์ช่าง อะไหล่ต่าง ๆ ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย สะดวกต่อการจัดเก็บ และหยิบใช้งานง่าย
อ้างอิงข้อมูลจาก: tic.co.th, baanlaesuan.com, Electric เว็บไซด์สำหรับช่างไฟฟ้า