วิธี ปูพื้นหิน เนรมิตพื้นนอกบ้าน ให้สวยธรรมชาติ แทนการปลูกหญ้า
เชื่อว่า หลาย ๆ บ้าน คงจะมีพื้นที่สวน เป็นพื้นที่ภายนอกบ้านกัน และการปูพื้นทางเดิน ควรเลือกใช้วัสดุปูพื้น ที่มีความแข็งแรงทนทาน อย่าง พื้นหิน ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ หินปูพื้น และวิธีการ ปูพื้นหิน ให้เข้ากับบ้าน หรือเข้ากับรูปแบบการจัดสวน มาฝากกัน จะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
หินปูพื้น มีอะไรบ้าง?
หิน เป็นวัสดุที่มีลวดลายสวยงามเป็นธรรมชาติ และไม่ซ้ำกัน โดดเด่นที่ความแข็งแรงทนทาน ซึ่งหินแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติการนำไปใช้งาน และการดูแลแตกต่างกัน โดยเฉพาะ หินปูพื้นภายนอกบ้าน ควรมีพื้นผิวหยาบ เพื่อป้องกันลื่น และหินตกแต่งผนังสามารถเล่นลวดลาย และพื้นผิวได้หลากหลาย ดังนี้
หินธรรมชาติ
มีการนำหินธรรมชาติ มาใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว ยังทำให้เกิด Texture หรือ Pattern ที่สวยงามกับงานออกแบบ มีคุณสมบัติที่ดี และโดดเด่น
- ข้อดี คือ มีผิวสัมผัสที่ไม่ลื่น สีสัน ลวดลาย และพื้นผิว มีความสวยงาม ตามแบบธรรมชาติ
- ข้อเสีย คือ ไม่สามารถ ควบคุมสี ลวดลาย และคุณภาพของแต่ละชิ้นให้เหมือนกันได้ การทำงานจะยาก และการเรียงหินธรรมชาติ ให้ได้ลวดลายสวยงาม ต้องมีประสบการณ์ ถึงจะเรียงหินออกมาได้สวย สำหรับคนไม่มีประสบการณ์ หินที่เรียงออกมา อาจจะดูไม่ดี โดยเฉพาะ หินมีสีต่างกัน หรือมีขนาดต่างกัน
หินแกรนิต
คล้ายกับหินอ่อน แต่มีความแข็งแรง และ ราคาแพงกว่า หินแกรนิต มีสีเทาอ่อน เทาเข้ม สีดำ สีแดง
- ข้อดี คือ ผิวมีความแกร่ง แข็งแรง แผ่นเรียบ มีมาตรฐาน เป็นรอยขูดขีดได้ยากกว่าหินอ่อน ไม่เก็บความร้อน เป็นหินที่ดูดความเย็น ทำความสะอาดง่าย
- ข้อเสีย คือ มีราคาแพง เมื่อเทียบกับหินธรรมชาติด้วยกัน และมีน้ำหนักมาก ถ้านำมาทำผนังต้องมีโครงสร้างรับน้ำหนัก
หินศิลาแลง
ลักษณะสีน้ำตาลแดง มีรูพรุน ที่จำหน่ายในท้องตลาดบ้านเรา มักตัดเป็นรูปทรง ขนาดใกล้เคียงกับบล็อกคอนกรีต ให้ความรูู้สึกดูเก่า ๆ
- ข้อดี คือ มีรูพรุน ระบายอากาศได้ดี น้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับหินชนิดอื่น
- ข้อเสีย คือ ทำความสะอาดยาก หากใช้ในที่ชื้นมาก ๆ นาน ๆ จะดำ และดูสกปรก
หินทราย
มีผิวสัมผัสเป็นทรายละเอียด มีหลายสี ซึ่งจะเป็นสีอ่อนสบายตา มีทั้งแบบผิวธรรมชาติ ผิวต๊อก ผิวขัดเรียบ ผิวพ่นไฟ แบบตัดด้วยมือ และตัดด้วยเครื่อง สีของหินทราย ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาด เช่น เหลือง, แดง, ขาว, เขียว
- ข้อดี คือ มีสีสรรให้เลือกใช้ มีผิวสัมผัส (Texture) ที่สวยงาม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ
- ข้อเสีย คือ พื้นผิวทำความสะอาดได้ยาก เมื่อชำรุดแล้ว นำหินทรายจากอีกแหล่งมาเปลี่ยนภายหลัง สีอาจไม่เหมือนกัน
หินอ่อน
คล้ายกับหินแกรนิต แต่มีความแข็งแรง และราคาแพงกว่าหินแกรนิต มีสีเทาอ่อน เทาเข้ม สีดำ สีแดง
- ข้อดี คือ ดูใส และมันละเอียด ลวดลายสวยงาม ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่เก็บความร้อน เป็นหินที่ดูดความเย็น แข็งแรง และทำความสะอาดง่าย
- ข้อเสีย คือ ผิวเป็นรอยขูดขีดง่าย เป็นรอยด่างได้ เมื่อโดนกรด ต้องการการดูแลรักษา เพื่อให้ผิวมีความสวยงาม มีน้ำหนักมาก มีราคาแพง เหมาะกับการใช้ภายในอาคาร
หินกรวด
เกิดจากหิน ที่ถูกพัดพาไปตามแม่น้ำ เกิดการเสียดสี กระเทาะ ส่วนใหญ่ พบตามแม่น้ำ และทะเล กรวดที่ใช้ในงาน ภูมิสถาปัตยกรรม นอกจากเอามาโรย เทในพื้นที่แล้ว ยังนำมาเป็นทำเป็น ผิวคอนกรึต โดยทำเป็น กรวดล้าง อีกด้วย
- ข้อดี คือ มีความทนทาน ผิวเรียบมน ไม่บาดมือ มีให้เลือกหลายขนาด กำหนดความหยาบละเอียดได้ ราคาไม่แพง
- ข้อเสีย คือ กรวดล้างขนาดเล็ก ที่ใช้กลางแจ้ง โดนแดดฝน เมื่อใช้ไปนาน ๆ บริเวณที่เป็นปูน จะกลายเป็นสีดำ ทำให้ดูไม่สวยได้ และเมื่อนำมาทำกรวดล้าง ควรทำเส้นแบ่งผิวด้วย เพราะเมื่อผิวมีการแตกร้าว จะสามารถจำกัดบริเวณได้นั่นเอง
หินกาบ
เกิดจาก ดินที่อัดถมจนก่อตัวเป็นชั้น หินกาบ มีทั้งหินกาบป่า หินกาบทะเล แต่ที่หาง่ายตามท้องตลาด และนิยมใช้ คือ หินกาบภูเขา หินกาบตามท้องตลาด มีจำหน่าย และเรียกกันดังนี้
- หินกาบธรรมชาติ : ตัดแบบฟรีฟอร์ม
- หินกาบตัด : ตัดเป็นเหลี่ยม เหมือนกระเบื้อง
- หินกาบสัน : ใช้ก่อโชว์ด้านสันของหิน มักใช้ทำน้ำตก
ข้อดี คือ มีคุณสมบัติในการดูดซึมความเย็น เหมาะกับการใช้ในบริเวณที่ตากแดด ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ
ข้อเสีย คือ แตกหักง่าย ปูยาก เพราะความหนาของหินกาบไม่สม่ำ้เสมอ ควบคุมสีได้ยาก
วิธีการ ปูพื้นหิน ทำได้อย่างไร?
วัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่ หินแกรนิต หินทราย หินกาบ หรือศิลาแลง นิยมใช้ปูตามทางเดินในสวน ที่ต้องการความสวยงาม แบบธรรมชาติ ข้อจำกัด คือ มักมีขนาด หนา-บาง ไม่เท่ากัน บางชนิดแตกหักง่าย หรือเกิดตะไคร่น้ำง่าย หาซื้อได้ยาก นิยมใช้เฉพาะจุด ไม่ควรเลือกใช้ในจุดที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ สำหรับวิธีการปูพื้นหิน ทางเดินนอกบ้าน สามารถปูได้ทั้งบนพื้นคอนกรีต หรือบนพื้นดิน ซึ่งบนพื้นคอนกรีต จะมีความแข็งแรง ทนต่อแรงอัด รับน้ำหนักได้มากกว่าบนพื้นดิน ส่วนบนพื้นดิน สามารถระบายน้ำได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย จึงได้รับความนิยมมาก มีขั้นตอน ดังนี้
- ปรับระดับพื้นผิวดินให้เสมอ พร้อมเก็บเศษวัชพืชออก
- กั้นขอบแนวทางเดินด้วยอิฐขอบปูน หรือขอบสำเร็จรูป เพื่อให้แข็งแรง และง่ายต่อการปูพื้น
- จากนั้นรองด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ เพื่อไม่ให้ทรายไหลรวมกับดิน
- โรยทรายหยาบ แล้วเกลี่ยให้ทั่วทางเดิน เพื่อปรับระดับดินให้เรียบเสมอกัน
- บดอัดทรายให้แน่น มีความหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร หากปูหินบนพื้นคอนกรีตเดิม ให้เริ่มขั้นตอนอัดทรายได้เลย
- จากนั้นวางแผ่นปูพื้น หรือหินสำหรับปูพื้น โดยดูระดับความสูงที่เท่ากัน หากไม่เท่าให้ใช้เกรียงปาดทรายออก แล้วจึงกดให้แน่น โรยทรายอีกรอบ เพื่ออุดรอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีต หรือแผ่นหินนั่นเอง หากเป็นพื้นที่ใช้งานหนัก เช่น ทางเข้าออกโรงจอดรถ หรือทางเดินที่ต้องใช้งานหนัก ควรเพิ่มคอนกรีตโครงสร้างเพื่อความแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรบ้าง หินปูพื้น และวิธีการ ปูพื้นหิน ไม่ยากเลยใช่ไหม เราสามารถทำเองได้ เพียงแค่ ติดตั้งภายใต้ขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะจะเป็นอีกทางเลือก สำหรับหรับบ้านที่อยากตกแต่ง พื้นภายนอกบ้าน แทนการปลูกหญ้า พื้นหินนี้ สามารถตอบโจทย์ และยังให้ความสวยงามแก่บ้านได้อีกด้วยนะ
บทความที่น่าสนใจ:
- รู้จักกับ พื้นหินขัด ข้อดี-ข้อเสีย วิธีดูแลรักษา ทำได้อย่างไร?
- ปูตัวหนอน ขั้นตอนการทำง่ายๆ ทำเองได้ ไม่ยากอย่างที่คิด
- รู้จักกับ บ้านหิน สวยไม่เหมือนใคร พร้อมข้อดี-ข้อเสีย ที่ควรรู้
- หินเทียม และหินธรรมชาติ คุณสมบัติน่ารู้ ก่อนนำไปใช้งาน
- บล็อกปูพื้น บล็อกคอนกรีต คืออะไร ปูอย่างไรไม่ให้พื้นยุบ
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก: apichatrek.wordpress.com, baanlaesuan.com