ระบบ ISO 9000 มีที่มา และประโยชน์อย่างไรในอุตสาหกรรม?

ISO 9000 อีกหนึ่งมาตรฐานในโรงงานอุตสาหกรรม ตัวช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการ ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกประเทศทั่วโลก

มาตรฐานนี้มีความเป็นมาอย่างไร? มีประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรมมากน้อยแค่ไหน? มีขั้นตอนการขออย่างไร? ไปดูกัน!

ISO 9000 คืออะไร?

ISO 9000 คือ มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ กำหนดขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization-ISO) เพื่อรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านหลังคำว่า ISO หมายถึง สินค้าและบริการที่แตกต่างกัน เช่น โรงแรม ภัตตาคาร สนามบิน และ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ISO 9000 มีที่มาอย่างไร?

ที่มา ISO 9000

มาตรฐานISO 9000 ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2530 (คศ.1987) และมีการแก้ไขมาตรฐาน 2 ครั้ง ในปี 2537 (คศ.1994) และปี 2543 (คศ. 2000) ซึ่งมีคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 176 (ISO/TC 176 : Quality Management and Quality Assurance) เป็นผู้จัดทำมาตรฐานดังกล่าว ส่วนประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้นำมาตรฐานดังกล่าว มาประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี 2534

มาตรฐานระบบISO 9000: 2000

เลข “9000” เป็นรหัสของมาตรฐานชุดนี้ แบ่งแยกย่อยได้อีก 3 ฉบับ คือ

  1. ISO 9000:2000 หลักพื้นฐานและคำศัพท์ (Fundamentals and vocabulary)
  2. ISO 9001:2000 ข้อแนะนำการเลือกใช้ (Requirements) รายละเอียดของมาตรฐานส่วนใหญ่จะเน้นถึงวิธีการจัดการ หรือบริหารระบบคุณภาพภายในองค์การเพื่อให้ตอบสนองต่อ “ความต้องการ (Requirements) และความคาดหวัง (Expectations)” ของลูกค้า
  3. ISO 9004:2000 ข้อแนะนำสำหรับเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ (Guidance for performance improvement) รายละเอียดของมาตรฐานฉบับนี้จะใช้เป็น “แนวทางสําหรับการปฏิบัติงาน (Guidelines)” เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และจะ ส่งผลที่ดีลงไปโดยตรงต่อลูกค้า และ ” กลุ่ม/บุคคล/หรือส่วนที่เกี่ยวข้อง (Interested parties) ” ซึ่งมาตรฐานได้ ระบุถึงกลุ่ม/บุคคลหลัก ๆ ที่ควรสนใจไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

ประโยชน์ ISO 9000 ในอุตสาหกรรม

ระบบ ISO 9000 และ อุตสาหกรรม

องค์กร

  1. เนื่องจากเป็นระบบการบริหารที่เป็นมาตรฐาน จึงช่วยลดข้อบกพร่อง ช่วยให้การตรวจสอบและปรับปรุงง่ายขึ้น
  2. ช่วยกรองปัญหาได้ดี ทำให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุตรงจุด ลดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
  3. มาตรฐานกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ง่ายต่อการบรรลุเป้าหมาย
  4. บุคคลากรทราบถึงเป้าหมายงาน เพิ่มกำลังใจโดยรวมในการทำงานขององค์กร
  5. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
  6. คัดสรรแรงงานที่มีมาตรฐาน ลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ลูกค้า

  1. เชื่อมั่นในบริษัทที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เชื่อใจให้ผลิตสินค้าสร้างแบรนด์ตัวเอง
  2. ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
  3. ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน
  4. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  5. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพอใจกับระบบการปฏิบัติงานขององค์กร

การจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับ ISO

การเตรียมเอกสาร ISO 9000

ในการจัดเตรียมเอกสารระบบคุณภาพ ISO สามารถที่จะแบ่งการจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • ขั้นตอนการพัฒนาเอกสารคุณภาพ (Step in Documentation)
  • โครงสร้างเอกสารคุณภาพ (Structure of Document)
  • การจัดทำคู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
  • ผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process)
  • การจัดทำคำอธิบายลักษณะงาน (Job Description)
  • การจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน (Quality Procedures)
  • การจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน (Work Instructions)
  • เอกสารสนับสนุน (Supporting Document)

ข้อมูลจาก: ISEM THAI

ขั้นตอนการขอรับรอง ISO

การขอ ISO 9000

1. เลือกมาตรฐานที่เหมาะกับองค์กร

มาตรฐาน ISO มีมากมายหลายประเภท เราต้องคัดเลือกระบบ ISO ที่มีความเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

2. หาผู้ตรวจประเมินรับรองที่เหมาะสม (Certification Body: CB) 

Certification Body คือ บุคคลที่สามที่ให้บริการการตรวจประเมินและรับรองหรือจดทะเบียนการเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น หน่วยรับรองระบบคุณภาพ หน่วยรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หน่วยตรวจ ห้องปฏิบัติการ หน่วยจดทะเบียนบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน

3. หาผู้ช่วยในการจัดทำระบบ
การฝึกอบรมและการพัฒนาจะช่วยสรุปและเน้นประโยชน์ที่สำคัญของมาตรฐาน หากสามารถหาผู้ช่วยในการจัดทำระบบ ISO จะช่วยให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4. เข้ารับการตรวจประเมิน ขั้นตอนที่ 1

การตรวจประเมิน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการตรวจประเมินและให้คำแนะนำ เพื่อให้องค์กรนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของแต่ละมาตรฐาน

5 . การพัฒนาระบบการจัดการขององค์กร

เมื่อรับการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการตามคำแนะนำจากผู้ตรวจประเมิน (Auditor)

6. การตรวจประเมินขั้นตอนที่ 2

เมื่อส่งเอกสารแล้ว ผู้ตรวจประเมินจะทำการตรวจสอบอีกครั้งว่าองค์กรได้บรรลุวัตถุประสงค์กรือทำตามขั้นตอนของระบบมาตรฐานจากการตรวจประเมิน ขั้นตอนที่ 1 แล้วหรือไม่ หากยังมีบางส่วนที่ยังไม่ผ่าน จะมีการตรวจประเมินอีกรอบในครั้งต่อไป และจะได้รับการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

จะเห็นว่ามาตรฐานISO 9000 เป็นมาตรฐานที่ได้รับจากทั่วโลก ทำให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าองค์กรมีระบบการริหารงานที่ประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า และสร้างการแข่งขันทางการตลาดได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีมาตรฐานโรงงานอีกหลายมาตรฐานที่ผู้ประกอบการควรศึกษาและนำมาใช้ เพื่อให้ธุรกิจมีคความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และมีระบบขึ้น

KACHA ผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้าง รับสร้างโกดังสำเร็จรูป พร้อมสต็อกสินค้ารองรับทุกการสั่งซื้อ บริการหลังการขายที่ประทับใจ ในราคาที่เป็นมิตร!