ทำความรู้จัก “ลิฟท์” มีกี่ประเภท? การใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง?

อีกหนึ่งเครื่องทุ่นแรง ที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ นั่น คือ ลิฟต์ นั่นเอง ใช้เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นลงระหว่างนั้นต่าง ๆ ภายในอาคาร ซึ่งลิฟท์นั้น ก็มีหลายแบบตามการใช้งาน บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับ “ลิฟท์” ว่ามีกี่ประเภท และการใช้งานเป็นอย่างไร? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

ลิฟท์ คือ?

ลิฟต์ (Elevation หรือ Lift) เครื่องทุนแรงชนิดหนึ่ง เป็นพาหนะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ในทางแนวดิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า มีโครงสร้างเป็นแท่งเหล็ก หรือแผ่นเหล็ก ที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายผู้คน หรือสิ่งของขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และยังช่วยเบาแรงในการขนส่งได้เป็นอย่างดี

ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในกการยกของ ยกสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงภายในอาคารที่เป็นตึกสูง ๆ เช่น บ้าน คอนโด ตึกระฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ การเลือกใช้งาน ลิฟต์ ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้งาน เลือกตามประเภทของลิฟท์ ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั่นเอง

ประเภทของ ลิฟต์ มีอะไรบ้าง?

สามารถแยก ลิฟท์ ตามประเภทของ Diving System ได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ลิฟท์ระบบไฮดรอลิค

เป็นลิฟท์ที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ยกของที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ภายในกระบอก จะบรรจุสารของเหลวอยู่ โดยมีมอเตอร์ใช้ในการควบคุมระบบในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง และหยุดตามความสูงที่ผู้ใช้งานต้องการ ซึ่งลิฟท์ประเภทนี้ จะมีระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย และสามารถมองเห็นระบบการทำงานของตัวเครื่องได้ชัดเจน

ลิฟท์-มีกี่ประเภท-02 ลิฟท์ระบบไฮดรอลิค

ข้อเสีย คือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการยก หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่ใช้ความสูงมาก ๆ หรือเป็นลิฟท์ที่จำกัดความสูงในการใช้งานนั่นเอง เพราะประสิทธิภาพการทำงาน และความแข็งแรงจะน้อยลง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากจากการหมุนของตัวมอเตอร์ และลูกสูบที่ใช้ปั๊มได้

2. ลิฟท์ระบบสลิง

เป็น ลิฟต์ ที่มีสายเคเบิ้ลในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่าลิฟท์ระบบไฮโดรลิก ห้องลิฟท์ จะมีการยกขึ้นโดยผ่านรอกไฟฟ้าต่อเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า จะมีระบบเกียร์ในการควบคุมความสมดุลในการเคลื่อนที่ สามารถช่วยให้ประหยัดพลังงาน  เพราะมอเตอร์ จะใช้แรงขับเคลื่อนแค่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถยกห้องขึ้นมาได้แล้ว นอกจากนี้ ห้องบรรทุก กับน้ำหนักที่ไว้ถ่วง ทำให้การเคลื่อนที่สามารถอยู่ในรางเลื่อน เพื่อไม่ให้น้ำหนักเลื่อนเหวี่ยงไปมาได้อีกด้วย

ลิฟท์-มีกี่ประเภท-03 ลิฟท์ระบบสลิง

ลิฟท์ระบบสลิง ถือได้ว่าเป็นลิฟต์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าลิฟต์ประเภทอื่น ๆ ทั้งเรื่องการใช้งาน สามารถใช้ขึ้นชั้นสูงแค่ไหนก็ได้ กินไฟน้อยกว่า ระบบไฮโดลิค เพราะมีระบบ Electronic เข้ามาช่วยนั่นเอง

สินค้าแนะนำ : รอกไฟฟ้า | รอกโซ่มือสาว

ส่วนประกอบของลิฟท์

  • เครื่องจักรขับลิฟท์ (Traction Machine) เป็นอุปกรณ์หลักของระบบลิฟท์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลิฟท์ขึ้น-ลง
  • ชุดลูกถ่วง (Counterweight) เป็นโครงเหล็ก ซึ่งบรรจุก้อนน้ำหนักที่ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่ถ่วงดุลกับน้ำหนักของลิฟท์ และจำนวนผู้โดยสาร เพื่อให้มอเตอร์ลิฟท์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • รางลิฟท์ (Guide Rail) เป็นเหล็กรูปตัว T ทำหน้าที่นำร่องให้ลิฟท์วิ่งขึ้น-ลงในแนวที่กำหนด รักษาตำแหน่งตัวลิฟท์ให้ทรงตัว และได้ศูนย์ตลอดเวลา รางลิฟท์มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของตัวลิฟท์ น้ำหนักบรรทุก ความเร็วลิฟท์ เป็นต้น โดยทั่วไประบบลิฟท์ จะมีรางขนาดใหญ่สำหรับนำร่องตัวลิฟท์ และรางขนาดเล็กกว่า สำหรับนำร่องชุดลูกถ่วง
  • ตู้โดยสาร (Lift Car) เป็นห้องโดยสาร ที่ยึดกับโครงเหล็กกล้าที่แข็งแรง พร้อมอุปกรณ์นิรภัย ป้องกันไม่ให้ลิฟท์ตกเมื่อสลิงขาด ตู้โดยสารมีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภท และน้ำหนักบรรทุกของลิฟท์
  • บัฟเฟอร์ (Buffer) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ตัวลิฟท์กระแทกกับพื้นบ่อลิฟท์ กรณีลิฟท์วิ่งเลยชั้นล่างสุด บัฟเฟอร์จะผ่อนแรงกระแทก เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร
  • ตู้คอนโทรล (Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิฟท์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมความเร็ว ควบคุมการเปิดปิดประตู จัดคิวการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น และชนิดของคอนโทรล แยกย่อยออกตามประเภทระบบขับเคลื่อนด้วย เช่น VVVF, DC Drive เป็นต้น
  • ประตูหน้าชั้น (Landing Door) ระบบลิฟท์ทั่วไปจะมีประตู 2 ส่วน คือ ประตูในลิฟท์ (Car Door) และประตูหน้าชั้นต่าง ๆ ตามจำนวนชั้นจอดของลิฟท์ ปกติประตูหน้าชั้นจะเปิด-ปิดได้ต่อเมื่อตัวลิฟท์จะต้องจอดอยู่ที่ชั้นนั้น และประตูที่ชั้นอื่นจะเปิดไม่ได้ เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัยสูงสุด ประตูลิฟท์มีหลายแบบ โดยทั่วไปจะมี เปิดจากกึ่งกลาง (Center Opening) และ เปิดจากด้านข้าง (Slide Opening)
  • สลิงลิฟท์ (Wire Rope) ใช้สำหรับแขวนตัวลิฟท์ และชุดลูกถ่วง ฉุดให้ลิฟท์ขึ้นลงด้วยแรงเสียดทานของลวดสลิงกับร่องของมู่เล่ย์
  • ปุ่มกด (Button) ใช้สำหรับเรียกลิฟท์รับ-ส่งไปยังชั้นต่าง ๆ ที่ต้องการ แผงปุ่มกดมีอยู่ 2 ส่วน คือ
  1. แผงปุ่มกดในลิฟท์ (Car Operating Panel) ประกอบด้วย ปุ่มเรียกไปตามชั้นต่าง ๆ, ปุ่มปิด-เปิดประตู, ปุ่มแจ้งเหตุ และอินเตอร์คอม
  2. แผงปุ่มกดหน้าชั้น (Hall Button) ประกอบด้วย ปุ่มเรียกลิฟท์มารับ ขาขึ้น-ขาลง อย่างละปุ่ม
  • สายเคเบิล (Travelling Cable) เป็นสายไฟที่วิ่งขึ้นลงพร้อมกับตัวลิฟท์ ทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณ เช่น ปุ่มกดและสวิทซ์ต่าง ๆ ที่ตู้ลิฟท์กับตู้คอนโทรลในห้องเครื่อง

แบ่งประเภทของลิฟท์ตามการใช้งาน

เราสามารถแยกลิฟท์ตามประเภทของของการใช้งานได้เป็นหลายประเภท เช่น

1) ลิฟท์บ้าน

เป็นลิฟท์ที่ใช้ติดตั้งภายในตัวอาคารของบ้าน มีขนาดเล็ก มีการระบุพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสมกับพื้นที่จำกัด จะมีลักษณะเป็นห้องด้านหนึ่งติดกับตัวบ้าน และอีกด้านหนึ่งสามารถ เปิด-ปิด ระหว่าง เข้า-ออกได้ เพื่อขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ  แทนการขึ้น-ลงทางบันได เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับบ้านที่มีคนชรา คนท้อง และเด็ก นอกจากนี้เป็นลิฟท์ที่จะมีระบบความปลอดภัยในระหว่างการใช้งานด้วย

ลิฟท์-มีกี่ประเภท-04 ลิฟท์บ้านและโดยสาร

2) ลิฟท์โดยสาร

เป็นลิฟท์ที่ใช้สำหรับขนส่งผู้โดยสารทั่วไป มักนิยมใช้ตามอาคารสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัย

3) ลิฟท์รถยนต์

ใช้ยกรถยนต์ขึ้นบนตึก หรืออาคารที่มีทางเข้าแคบ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการเคลื่อนย้าย

ลิฟท์-มีกี่ประเภท-05 ลิฟท์ยกรถและยกของ

4) ลิฟท์ยกของ หรือ X-Lift

เป็นลิฟท์ที่นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยผ่อนแรงในการยก ขน ลากสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก ๆ การออกแบบลิฟท์ประเภทนี้ จะต้องมีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ปลอดภัย และประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลิฟท์ขนของในโรงงาน จะต้องมีความแข็งแรงที่พอเหมาะกับการใช้งาน

สินค้าแนะนำ : รถ X-Lift ไฟฟ้า ลิฟท์ขากรรไกร

การบำรุงรักษา และตรวจเช็คลิฟท์

  • ตรวจเช็คระบบเบรคและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คชุดเซฟตี้ Governor อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ลิฟท์ทุกส่วน อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คชุดประตู ชานพัก ประตูนอก ประตูใน อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คน้ำมันราง ชุดข้อต่อ จุดหมุนต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คการทำงานของไฟแสงสว่างฉุกเฉิน อินเตอร์คอม กระดิ่ง แบตเตอรี่ อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คสัญญาณชั้น ลูกศรการขึ้น-ลง และสัญญาณเสียงแจ้งเตือน อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดสลิงขับลิฟท์ อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คระดับชั้น การจอดเสมอระดับชั้นหรือไม่
  • ตรวจเช็คสภาพความตึงของลวดสลิงขับลิฟท์
  • ตรวจเช็คผ้าเบรก ทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจเช็คชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่มีการเคลื่อนที่ทั้งหมด และทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง ลิฟต์ ไม่ว่าจะเป็นลิฟท์ประเภทไหน เวลาใช้งานควรศึกษาให้ดีก่อนทุกครั้ง เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยนั่นเอง นอกจากนี้ เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร และ เครนยกของ รวมถึงสินค้าคุณภาพอื่น ๆ จาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th