Push Button Switch คือ ? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
Push Button Switch คือ อะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน Kacha มีคำตอบ พร้อมพาคุณไปดู สวิตช์ปุ่มกด ยอดนิยมที่คนทั่วไปใช้กันในปัจจุบัน
ใครกำลังมองหาสวิตช์ สำหรับไปติดตั้งเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร หรือ ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า แล้วละก็ ไม่ควรพลาด
Push Button Switch คือ
Push Button Switch คือ สวิตช์ปุ่มกด ที่จะทำหน้าที่ตัดและต่อวงจรไฟฟ้า เข้าไปในมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ เครื่องจักรต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้ นิยมติดตั้งไว้ภายในตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า ของโรงงานอุตสาหกรรม มีทั้งแบบมีไฟ และ ทึบแสง โดยโครงสร้างของสวิตช์ปุ่มกด แยกได้ 4 ส่วน คือ
- ปุ่มกด ทำด้วยพลาสติกหรือโลหะ ซึ่งจะมีหลายสีให้เลือกใช้งาน
- ฐานยึด ระหว่างปุ่มกดและตัวล็อคหน้าสัมผัส โดยจะมีเกลียวที่ฐาน ไว้สำหรับยึดกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
- หน้าสัมผัส NO และ NC
- หลอดไฟ LED ที่ใช้แสดงสถานะ
Push Button Switch มีกี่แบบ
โดยปกติ Push Button Switch มี 2 ประเภท คือ แบบกดติดปล่อยดับ และ แบบกดติดกดดับ ซึ่งเป็นการแบ่งตามลักษณะของการกดปุ่มสวิตช์ ไม่ใช่ประเภทของการใช้งาน
1. แบบกดกระเด้ง
หรือที่เรียกว่าแบบสปริงรีเทิร์น เป็นปุ่มกดที่เมื่อกดลงไปแล้ว สวิตช์จะเปิด หรือ ปิดการทำงาน แล้วกระเด้งกลับคืนมาในตำแหน่งเดิมทันที เป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก นิยมใช้กับ ตู้ MDB ตู้ DB และ ตู้ control เครื่องจักร เป็นต้น
2. แบบกดติดกดดับ
หรือแบบ push on / push off เป็นปุ่มกดที่เมื่อกดเปิด – ปิดลงไปแล้ว ตัวสวิตช์จะค้างในตำแหน่งนั้นทันที จะกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้ ต่อเมื่อกดลงไปในอีกทางหนึ่งอีกครั้ง นิยมใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ เครื่องจักร ที่มีฟังก์ชันการทำงานไม่ซับซ้อน เช่น Start/stop สายพานลำเลียง เป็นต้น
Push Button Switch ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง
สวิตช์ปุ่มกด หรือ Push Button Switchที่นิยมใช้ปัจจุบัน มี 6 แบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละอัน ต่างมีฟังก์ชันในการใช้งาน และ จุดประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้
1. สวิตช์ปุ่มกดมีไฟ
มีทั้งแบบหัวเรียบทรงสี่เหลี่ยม และ หัวกลม ส่วนท้ายมีฐานยึดยื่นออกมาสำหรับประกอบเข้ากับแผงวงจร ข้างในมีหลอดไฟ LED แสดงสถานะอยู่ มีให้เลือก 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ซึ่งสีไฟของปุ่มกด สามารถบ่งบอกถึงสถานะการทำงานได้ เช่น สีเขียว : เริ่มทำงาน/สถานะปลอดภัย สีเหลือง : บอกสถานะอื่น ๆ สีแดง : แจ้งเตือนอันตราย นิยมนำมาติดตั้งไว้ในตู้ระบบควบคุมวงจรไฟฟ้า ภายในโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์เกมส์คอนโซล เป็นต้น
2. สวิตช์ปุ่มกดฉุกเฉิน
เป็นสวิตช์ปุ่มกด สำหรับกดเพื่อสั่งให้เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร หยุดการทำงานทั้งระบบในทันที เมื่อเกิดเหตุด่วน เหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุ หรือ เครื่องจักรขัดข้อง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจน ป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ ไฟฟ้าลัดวงจร ฯลฯ
3. สวิตช์ปุ่มกดไฟฟ้า
ใช้สวิตช์ควบคุมมอเตอร์โดยตรง มักใช้เปิด – ปิด เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีการใช้งานไม่บ่อยนัก มีหลายแบบ เช่น ปุ่มกดเปิด-ปิด ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลัง ปุ่มกดแบบฝังตู้ และ ปุ่มกดแบบฝังปูน เป็นต้น เหมาะสำหรับงานควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรกล เครื่องจักรสิ่งทอ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
4. สวิตช์ปุ่มกดควบคุมรอกและเครน (Hoist Push Button)
ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการทำงานของรอก เครน หรือ เครื่องจักรกลอื่น ๆ โดยปุ่มกดชนิดนี้ จะมีลักษณะรูปทรงคล้ายรีโมทคอนโทล เป็นปุ่มแถวตอนเรียงเดี่ยว มีให้เลือกหลายปุ่ม ตั้งแต่ 2 – 12 ปุ่ม มีหลายขนาดให้เลือก ทั้งแบบสั้นและแบบยาว มีขนาดเล็กกะทัดรัด จับได้ถนัดมือ สามารถใช้งานด้วยมือเดียวได้ ทำให้สามารถควบคุมระบบการทำงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
5. สวิตช์ปุ่มกดเปิด-ปิด (On-Off Push Button)
มีสวิตช์ปุ่มกด 2 จุด คือ ปุ่มเปิดสีเขียว และ ปุ่มปิดสีแดง ในอันเดียว หน้าปุ่มมีฝาปิดในตัว ภายในปุ่มมีไฟแสดงสถานะการทำงาน และ มีฐานยึดเข้ากับวงจร ทำให้ติดตั้งได้สะดวก เหมาะนำมาติดตั้งควบคุมการทำงานของเครื่องจักร และ อุปกรณ์ไฟฟ้า ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
6. สวิตช์ปุ่มกดที่ใช้เท้าเหยียบ (Foot push button Switch)
เป็นสวิตช์ปุ่มกดที่ทำงานโดยใช้เท้าเหยียบ เหมาะกับเครื่องจักรที่ต้องทำงานโดยใช้เท้าเหยียบ เช่น เครื่องตัดเหล็ก เครื่องฉีดเทียน
เลือก Push Button Switch อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งาน
เลือกสวิตช์ปุ่มกดให้เข้ากับสถานที่
เพราะสวิตช์ปุ่มกดแบบกดกระเด้ง เมื่อติดตั้งเข้ากับตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า จะดูสวยงาม และ มีความเป็นมืออาชีพ มากกว่า แบบกดติดกดดับ ดังนั้น หากคุณต้องการติดสวิตช์ปุ่มกด ในโกดัง คลังสินค้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม แล้วละก็ แนะนำให้ใช้ สวิตช์ปุ่มกดแบบกดกระเด้งจะดีที่สุด ในทางกลับกัน หากใช้ในบ้านพัก หรือ ที่อยู่อาศัย แล้วละก็ แค่ใช้สวิตช์แบบกดติดกดดับ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
มีไฟแสดงสถานะการทำงานตลอดเวลา
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสวิตช์ปุ่มกดมีไฟ จะช่วยให้เรารู้ถึงสถานะการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร ภายในโกดัง คลังสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ทำให้รู้ว่าควรเปิด – ปิด เครื่องตอนไหน เครื่องมีปัญหาหรือขัดข้องตรงไหนรึเปล่า ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีความปลอดภัย และ สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
สีของปุ่มกดต้องสื่อสารได้เคลียร์และชัดเจน
เลือกสีของสวิตช์ปุ่มกด ให้ทุกคนรับรู้ได้ในทันที ว่าหมายถึงอะไร เพื่อให้การสื่อสารเคลียร์ และ ชัดเจน มากที่สุด เช่น สีเขียว แปลว่า เปิด เริ่มทำงาน การทำงานปลอดภัย สีเหลือง แปลว่า ระวัง กำลังเดินหน้า หรือ ถอยหลัง สีแดง แปลว่า หยุดทำงาน แจ้งเตือนอันตราย เป็นต้น ไม่ควรเลือกสีอื่น ๆ ที่แปลก แหวกแนวกว่าปกติ เพราะอาจทำให้บางคนงุนงง และ ไม่เข้าใจได้
กดเปิด – ปิดได้สะดวกขณะใช้งาน
เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร มีหลากหลายประเภท บางอันใช้มือบังคับ บางอันใช้เท้าบังคับ หรือ ต้องมีหลาย ๆ ปุ่ม เพื่อใช้ในการบังคับทิศทางต่าง ๆ ดังนั้น หากคิดจะติดตั้งสวิตช์ปุ่มกดแล้วละก็ ควรเลือกแบบที่ตัวเองสามารถกดเปิด – ปิดได้สะดวกขณะใช้งานมากที่สุด เพื่อให้การทำงานคล่องตัว และ มีความปลอดภัย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร หากบังคับด้วยมือ จะใช้สวิตช์เปิด – ปิด ปุ่มเดียว หรือ 2 ปุ่มในตัวเดียวก็ได้ แต่ถ้าต้องทำงานโดยใช้เท้าเหยียบ เช่น เครื่องตัดเหล็ก เครื่องฉีดเทียน แล้วละก็ แนะนำให้ใช้สวิตช์ปุ่มกดที่ใช้เท้าเหยียบ จะเหมาะสมกว่า สำหรับ รอก เครน ควรใช้สวิตช์ปุ่มกดแบบรีโมทคอนโทรล เพื่อให้สามารถควบคุมเครื่องได้ในระยะไกล และ สามารถบังคับได้ด้วยมือเดียว เป็นต้น
ต้องมีสวิตช์ปุ่มกดฉุกเฉินเสมอ
ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า อุบัติเหตุ หรือ เหตุด่วน เหตุร้ายต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตอนไหน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องมีสวิตช์ปุ่มกดฉุกเฉิน สำหรับตัดวงจรการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ โดยเฉพาะในโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งต่อพนักงาน เจ้าของโรงงาน และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยสวิตช์ปุ่มกดฉุกเฉิน ควรมีขนาดใหญ่ และ มองเห็นได้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้หาเจอได้ง่าย และ สามารถกดได้ในทันที
สวิตช์ปุ่มกด Push Button Switch ใช้เปิด – ปิด มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร ให้สามารถใช้งานได้ ตลอดจนช่วยส่งสัญญาณถึงสิ่งที่ควรระมัดระวัง และ ความผิดปกติต่าง ๆ ของเครื่องจักร ระหว่างการทำงานที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น หากใครกำลังมองหาสวิตช์ สำหรับไปติดตั้งเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร หรือ ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า แล้วไม่รู้จะเลือกอย่างไรดีแล้วละก็ ลองอ่านแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือกซื้อ เชื่อว่าจะช่วยให้คุณสามารถเลือกสวิตช์ที่เหมาะกับการใช้งานได้ ไม่มากก็น้อย
บทความที่น่าสนใจ