ทำความรู้จัก หมวกนิรภัย หมวกเซฟตี้ ดีอย่างไร? มีแบบไหนบ้าง?
อีกหนึ่งอุปกรณ์ป้องกันศรีษะ ในการทำงาน ไม่ว่าจะทั้งในโกดัง คลังสินค้า หรือแม้แต่ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องมีสิ่งนี้ให้พนักงานอย่างแน่นอน นั่นคือ หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้างานที่มีความเสี่ยง หรือสถานที่ ที่สามารถมีสิ่งของสามารถตกลงกระแทกศรีษะได้
ตาม KACHA ไปรู้จักกับ หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้ ให้มากขึ้นกัน เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้แก่ตนเอง และพนักงาน
หมวกนิรภัย คืออะไร?
หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สำหรับสวมใส่ศีรษะ ช่วยปกป้องศีรษะจากการกระแทกพื้นจากการลื่นล้ม หรือป้องกันวัตถุจากที่สูงตกลงมากระทบศีรษะ
คุณสมบัติพิเศษ คือ มีความหนาแน่น ทนทานต่อการกระแทก การเจาะทะลุ และกันไฟฟ้า ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ เหมาะสำหรับพนักงานที่ทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากสิ่งของหรือวัสดุต่าง ๆ ที่จะตกใส่ศีรษะ เช่น งานขนย้าย และติดตั้ง งานก่อสร้าง และงานไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการสวมใส่หมวกนิรภัยขณะปฎิบัติงานทุกครั้ง เพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ส่วนประกอบของหมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำคัญ ดังนี้
- เปลือกหมวก ทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทำจากพลาสติก ไฟเบอร์กลาส หรืออะลูมิเนียม สามารถป้องกันการกระแทก จากทุกทิศทางในบริเวณศีรษะ สามารถปรับให้พอดีกับขนาดศรีษะได้
- รองในหมวก เป็นส่วนที่ทำให้หมวก กระจายแรงกระแทกออกไปโดยรอบหมวก
- สายคาดศีรษะ มีคุณสมบัติเหนียวนิ่ม ช่วยเพิ่มความกระชับขณะสวมใส่ สามารถปรับได้ตามขนาดศีรษะ
- สายรัดคาง สามารถปรับระดับได้ ช่วยป้องกันไม่ให้หมวกหล่น ขณะสวมใส่ หรือขณะก้มปฎิบัติงาน
- แถบซับเหงื่อ สามารถดูดซับเหงื่อ เพื่อป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตาขณะปฏิบัติงาน
ชนิดของหมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- หมวกนิรภัยชนิดปีกรอบ ลักษณะมีขอบหมวกยื่นออกมา โดยรอบตัวหมวก ป้องกันได้ทุกทิศทาง เหมาะสำหรับช่างไฟฟ้า สามารถกันไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
- หมวกนิรภัยชนิดมีกระบังด้านหน้า ลักษณะมีปีกยื่นมาเฉพาะด้านหน้า โดยด้านข้างอาจเป็นขอบนูนก็ได้ มีให้เลือกทั้ง แบบรองใน แบบปรับเลื่อน และปรับหมุน เหมาะกับผู้ปฎิบัติงาน ในงานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้าง
งานที่ต้องใช้หมวกนิรภัย มีอะไรบ้าง?
- หมวกนิรภัยสำหรับการใช้งานทั่วไป ทำด้วยวัสดุพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส นิยมนำมาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานติดตั้งท่อ พนักงานขนส่งสินค้า
- หมวกนิรภัยสำหรับใช้กันไฟฟ้าแรงสูง ทำด้วยวัสดุพลาสติก และไฟเบอร์กลาส เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า เช่น งานช่างไฟฟ้า ช่างเดินสายไฟ
- หมวกนิรภัยสำหรับงานที่ต้องทำในบริเวณที่มีความร้อน ทำด้วยวัสดุจากโลหะ ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับงานขุดเจาะน้ำมัน หรือช่างเชื่อม
- หมวกนิรภัยที่สามารถทนความร้อนสูง ทำด้วยวัสดุพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนไฟ ต้านทานการลุกไหม้ เหมาะใช้งานดับเพลิง และงานเหมือง
หมวกนิรภัยแต่ละสี มีความหมายอย่างไร?
เราต่างเคยเห็นว่า หมวกนิรภัยหรือหมวกเซฟตี้ มีสีสันมากมายหลากหลายเต็มไปหมด แต่ละสีมีความหมายยังไงบ้าง ผลิตขึ้นมาแค่ความสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วสีสันของหมวกนิรภัยที่แตกต่างกันออกไป สามารถบอกถึงตำแหน่ง หน้าที่ ดังนี้
- หมวกนิรภัยสีเหลือง สำหรับพนักงานทั่วไป
- หมวกนิรภัยสีขาว สำหรับวิศวกร ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้เยี่ยมชม
- หมวกนิรภัยสีน้ำเงิน สำหรับช่างไฟฟ้า ช่างไม้ และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ
- หมวกนิรภัยสีเขียว สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
- หมวกนิรภัยสีแดง หรือ สีส้ม สำหรับเจ้าหน้าที่งานดับเพลิง ช่างเชื่อม และการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน
การเลือกใช้หมวกนิรภัยในการทำงาน
วิธีการเลือกใช้อุปกรณ์หมวกนิรภัย ควรพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้
- เลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะงาน
- หมวกนิรภัยต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
- เลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับผู้สวมใส่ และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติงาน
- หมวกนิรภัยต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม
- วิธีการใช้งานหมวกนิรภัยต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
- ควรมีการเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ
การดูแลรักษาหมวกนิรภัย
- หลังการใช้งานควรทำความสะอาดทั้งตัวหมวก และอุปกรณ์ โดยใช้น้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณแถบซับเหงื่อ
- เก็บหมวกนิรภัยในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่วางไว้กลางแดด หรือที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็ว และทำให้หมวกขาดความแข็งแรง
- ไม่ควรนำหมวกนิรภัยที่มีรอยแตกร้าวมาใช้งาน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันลดลง
- ไม่โยนหมวกนิรภัยจากที่สูง เพราะอาจทำให้ตกกระแทกพื้น และหมวกแตกได้
- ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารละลายทำความสะอาดหมวกนิรภัย เพราะจะทำให้วัสดุภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
สุดท้ายนี้ การเลือกหมวกนิรภัยที่ดี ต้องเลือกที่เหมาะสมกับงานที่ทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน และต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด สวมใส่หมวกนิรภัยทุกครั้งที่ต้องทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และอันตรายจากสิ่งของตกใส่ศีรษะด้วย
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- อุปกรณ์เซฟตี้ หรือ PPE ในงานก่อสร้างเป็นแบบไหนกัน?
- วิธีป้องกันไฟไหม้ ในโกดัง โรงงาน คลังสินค้า ทำได้อย่างไรบ้าง?
- อุปกรณ์ในคลังสินค้า ที่จำเป็นต้องมี ควรมีอะไรบ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th