“สกรู” มีกี่ประเภท เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน?
อัพเดตเมื่อ 10 มกราคม 2025
“สกรู” มีกี่ประเภท เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน?
สกรู (Screw) อุปกรณ์ที่ใช้ในในงานช่าง สำหรับยึดวัตถุสองชนิดให้ติดกัน มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับตะปู แต่สกรูจะมีเกลียวโดยรอบ ที่ช่วยให้สามารถยึดวัตถุได้ดียิ่งขึ้น แล้ว สกรู คือ อะไร ประเภทของสกรู มีกี่แบบ การใช้งานเป็นแบบไหน ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย
ประเภทของสกรู
อย่างที่รู้ว่า สกรู มีด้วยกันหลายแบบ ควรเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม และถูกประเภท เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายกับวัสดุนั่นเอง โดยทั่วไปตามการใช้งานของสกรู สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
สกรูเกลียวปล่อย เป็นสกรูที่ใช้อย่างแพร่หลาย มีลักษณะเป็นเกลียวตลอดความยาว มีปลายแหลม สามารถใช้ไขควงธรรมดาไขได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับงานไม้ งานโลหะแผ่นบาง และพลาสติก แต่ไม่เหมาะกับการใช้ยึดวัสดุที่มีความหนามาก ๆ
สกรูงานไม้ (Wood Screw)
สกรูงานไม้ (Wood Screw)
เป็นสกรูที่ใช้กับงานไม้โดยเฉพาะ ลักษณะสกรู จะมีเกลียวยาว หรือมีเกลียวแค่เพียงครึ่งเดียวของความยาวทั้งหมด ปลายสกรูมีรอยบากอยู่เล็กน้อย ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเจาะ ยึดวัสดุให้แม่นยำ มีให้เลือกทั้งแบบเกลียวหยาบ เหมาะกับการยึดไม้ทั่วไป และแบบเกลียวละเอียด เหมาะกับการยึดไม้ที่แตกหักง่าย หรือใช้ยึดบริเวณส่วนปลายของไม้
สกรูงานคอนกรีต (Concrete Screw)
สกรูงานคอนกรีต (Concrete Screw)
สกรูยึดคอนกรีต มีอยู่หลายชนิดขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำไปใช้ยึดติด จะมีขนาดใหญ่ แข็งแรง มีเกลียวตลอดความยาวของสกรู และบางรุ่น มีปลายแหลม ออกแบบมาเพื่อขันสกรูชนิดนั้นเข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้ด้วยไขควง หรือประแจ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งพุกก่อน มีทั้งแบบหัวหกเหลี่ยม และแบบหัวแฉก
สกรูติดแหวน (Assembles Screw)
สกรูติดแหวน (Assembles Screw)
สกรูติดแหวน คือ น็อตตัวผู้ ที่มีแหวนรองติดอยู่ และไม่สามารถถอดออกจากกันได้ ออกแบบเพื่อใช้ในงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก และต้องการการแรงยึดมาก โดยรูปแบบหัวสกรูและแหวนรอง มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แหวนอีแปะ แหวนสปริง เป็นต้น
สกรูยึดแผ่นยิปซัม (Drywall Screws)
สกรูยึดแผ่นยิปซัม (Drywall Screws)
หรือเรียกกันว่า สกรูยึดฝ้าเพดาน มีลักษณะเป็นเกลียวตลอดทั้งตัว มีหัวเป็นแผ่นเรียบ คล้ายกับสกรูเกลียวปล่อย แต่มีความแข็งแรงมากกว่า ใช้สำหรับยึดฝ้าเพดานเข้ากับแปไม้ โครงโลหะ หรือโครง C-Line โดยไม่ต้องเจาะรูก่อน มักจะใช้งานร่วมกับไขควงไฟฟ้า
สกรูเดือยเชื่อมเฟอร์นิเจอร์ (Dowel Screws)
สกรูเดือยเชื่อมเฟอร์นิเจอร์ (Dowel Screws)
สกรูเดือย เป็นสกรูแบบพิเศษที่ไม่มีหัว มีลักษณะเป็นเดือยที่มีผิวเรียบตรงกลาง ส่วนด้านบน-ด้านล่างจะมีเกลียวสกรู ออกแบบมาเพื่อยึดไม้สองชิ้น นิยมใช้มากที่สุดกับงานประกอบเฟอร์นิเจอร์
เป็นอีกหนึ่งประเภทของสกรู ที่พบเห็นทั่วไป มีลักษณะสกรูที่หนา มีหัวเป็นทรงหกเหลี่ยม จะใช้ร่วมกับประแจ เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการแรงบิด หรือขันสกรูมาก ๆ ทำให้วัสดุต่าง ๆ ติดกันแน่นขึ้น
สกรูตัวหนอน (Set Screw)
สกรูตัวหนอน (Set Screw)
เป็น สกรู เกลียวแบบละเอียดตลอดทั้งแท่ง ส่วนบนไม่มีหัวสกรูเหมือนกับสกรูชนิดอื่น มีลักษณะเป็นรูหกเหลี่ยม สามารถขันยึดเข้ากับชิ้นงานได้โดยใช้ประแจหกเหลี่ยม หรือไขควงหกเหลี่ยม สกรูชนิดนี้มีปลายหลายแบบ เช่น ปลายแบน ปลายทรงกระบอก ปลายแหลม ปลายถ้วย และปลายโค้งมน เหมาะสำหรับใช้ยึดในงานประกอบเครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น
สกรูปลายสว่าน (Self Drilling Screw)
สกรูปลายสว่าน (Self Drilling Screw)
สกรูเกลียวสว่าน เป็นสกรูที่มีปลายคล้ายดอกสว่าน สามารถขันยึดที่เนื้อชิ้นงานได้โดยไม่ต้องเจาะนำ มีหัวสกรูหลากหลายแบบขึ้นกับการใช้งาน
สกรูหางปลา (Wing Bolt)
สกรูหางปลา (Wing Bolt)
สกรูหางปลา ลักษณะหัวสกรู จะมีครีบออกมาคล้ายกับหางปลา นิยมใช้ยึดชิ้นงานที่มีการถอดเข้า-ออกบ่อย ๆ โดยใช้มือหมุนเข้าและคลายออก บางรุ่นอาจจะมีหางแบน เช่น งานเฟอร์นิเจอร์ทั่ว ๆ ไป งานกลองชุด บริเวณที่ต้องมีการปรับสูง-ต่ำ ของขาตั้งอุปกรณ์ เป็นต้น แต่ไม่เหมาะสำหรับติดตั้งในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนสูง และรับน้ำหนักงานมาก ๆ
สกรูหัวพลาสติก (Plastic Screw)
สกรูหัวพลาสติก (Plastic Screw)
สกรูหัวพลาสติก หรือ สกรูหัวลูกบิดพลาสติก จะมีหัวพลาสติกขนาดใหญ่ ช่วยเพิ่มพื้นที่การจับเพื่อหมุนปรับระดับความแน่นของการยึดชิ้นงาน การใช้งานคล้ายกับสกรูหางปลา มีรูปร่างให้เลือกมากมาย นิยมใช้กับงานออกแบบที่ต้องมีการหมุนปรับระดับความสูง หรือความแน่นในการยึดของชิ้นงาน เช่น ขาตั้งกล้อง เป็นต้น
สกรูหัวท็อกซ์ (Torx Screw)
สกรูหัวท็อกซ์ (Torx Screw)
เป็นสกรูชนิดพิเศษ ตรงหัวสกรูมีลักษณะเป็นดาวหกแฉก นิยมใช้ในงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิส เป็นต้น วิธีการถอดสกรูหัวท็อกซ์ จะต้องใช้ไขควงชนิดพิเศษที่มีหัวลักษณะแบบเดียวกันเท่านั้น นอกจากนี้ สกรูหัวท็อกซ์ มีให้เลือกด้วยกัน 2 ชนิด คือ แบบมีพินกลมตรงกลาง และ แบบไม่มีพินกลมตรงกลางบริเวณดาว
หัวสกรู และ รอยบากหัวสกรู มีแบบไหนบ้าง?
เมื่อรู้จักกับประเภทของสกรูกันแล้ว ชนิดของ หัวสกรู และ รอบบากหัวสกรู ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจจะสงสัย และอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้
- สกรูหัวเตเปอร์ (Countersunk) หรือ หัว F (Flat Head) หรือ หัวเรียบ JF+
- สกรูหัว P (Pan Head) หรือ หัวกลมนูน JP+
- สกรูหัวกลม (Round Head)
- สกรูหัว T (Truss Head) หรือ หัวกะทะ JT+
- สกรูหัว O (Oval Head)
- สกรูหัวหกเหลี่ยม หรือ หัวเหลี่ยม (Hex Head)
- สกรูหัวหกเหลี่ยมติดแหวน (Hex Washer)
- สกรูหัวหกเหลี่ยมผ่า (Slotted Hex Washer)
- สกรูหัวจม (Socket Cap)
- สกรูหัวกระดุม (Button Head)
สำหรับรอยบากหัวสกรู ที่นิยมใช้ มีดังนี้
- หัวแฉก (Phillips)
- หัวผ่า (Slot)
- หัวคอมบี้ (Combination)
- หัวจมหกเหลี่ยม (Hex Socket)
- One Way
- Square
- หัวทอล์ค (Torx)
สกรู นิยมใช้ร่วมกับอะไร?
- นัท (Nut) หรือ น็อตตัวเมีย เป็นอุปกรณ์จับยึดที่ใช้งานคู่กับทั้งสกรูและโบลท์ มีลักษณะคล้ายวงแหวนรูปทรงหกเหลี่ยม ด้านในวงแหวนเป็นเกลียว มีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งานได้ตรงกับความต้องการ
- แหวนรอง (Washer) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับช่วยกระจายแรง เพิ่มพื้นที่ในการยึดเกาะ ทำให้น็อตยึดได้แน่นหนาขึ้น
- แหวนล็อก (Retaining Ring) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับล็อกตำแหน่งของชิ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดออกจากกัน
- พุก (Anchor) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยยึดสำหรับสกรู โบลท์ น็อต ตะปู เพื่อสามารถยึดเข้ากับพื้น ผนัง เพดาน หรือโครงสร้างต่าง ๆ ได้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ สกรู และประเภทของสกรู ก็มีความแตกต่างกันตามการใช้งาน ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม หากใครกำลังมองหาสินค้า สกรู เพื่อนำไปใช้งาน ที่ KACHA มีสกรูหลากหลายแบบจัดจำหน่าย สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพได้มาตรฐาน ตอบสนองอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ บริการที่ประทับใจอย่างแน่นอน