ข้อควรรู้ ก่อนเจาะ น้ำบาดาล ขั้นตอนและการขออนุญาตเป็นอย่างไร?

น้ำบาดาล แหล่งสำรองน้ำที่มีความสำคัญ ยิ่งในประเทศของเราที่มีสภาพภูมิอากาศผันแปร ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ขาดแคลนน้ำใช้ หลายคนจึงหันมาเจาะน้ำบาดาลกันมากขึ้น

บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับน้ำบาล รวมถึงการขออนุญาติก่อนเจาะว่ามีขั้นตอนยังไงบ้าง ตามไปดูกันเลย!

รู้จักกับ น้ำบาดาล

น้ำบาดาล คืออะไร

น้ำบาดาล คืออะไร?

น้ำบาดาล (Groundwater) คือ น้ำใต้ดินที่ถูกกักเก็บอยู่ภายในช่องว่างและรอยแตกของเม็ดหิน ชั้นหิน หินกรวด และชั้นดินตะกอนที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน เกิดจากการหมุนเวียนของน้ำในบรรยากาศที่ตกลงพื้นดินจนกลายเป็นน้ำผิวดิน กำเนิดเป็นมหาสมุทร แม่น้ำ ลำคลองต่าง ๆ ซึ่งบางส่วนจะไหลลงสู่ใต้ดิน เรียกว่า “น้ำในดิน” (soil water) ขณะที่น้ำที่เหลืออยู่จะไหลซึมลึก แล้วถูกกักเก็บไว้ตามช่องว่างตามรอยแตกของชั้นหินจนกลายเป็น “น้ำใต้ดิน”(subsurface water) หรือ น้ำบาดาลนั่นเอง

ชั้นหินที่มีน้ำบาดาลกักเก็บอยู่ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ชั้นหินอุ้มน้ำแบบเปิด (Unconfined Aquifer) คือ ชั้นของน้ำบาดาลที่ไม่ถูกปิดทับด้วยชั้นหิน ทำให้ปนเปื้อนสารเคมีและมลพิษได้ง่าย เนื่องจากสารเคมีที่ตกค้างบนผิวดินสามารถถูกชะล้างและซึมผ่านลงพร้อมกับน้ำฝนและน้ำผิวดินก่อนไหลลงสู่ชั้นหิน
  • ชั้นหินอุ้มน้ำแบบปิด (Confine Aquifer) คือ ชั้นน้ำบาดาลที่มีชั้นหินปิดทับโดยรอบ มักมีคุณภาพดี เนื่องจากมีการปนเปื้อนจากมลพิษต่าง ๆ ได้ยาก แต่น้ำอาจมีการเจือปนของแร่ธาตุบางชนิดจากชั้นหินโดยรอบในปริมาณมาก

อยากดื่มน้ำบาดาลต้องทำอย่างไร?

  1. การต้ม : ช่วยลดความกระด้างชั่วคราวของน้ำ และฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำได้
  2. การเติมอากาศ : ช่วยเร่งให้สนิมเหล็กตกตะกอน มี 2 วิธี คือ การกรองแบบกรองช้า เหมาะสำหรับน้ำบาดาลที่มีปริมาณเหล็กสูง และการกรองแบบใช้แรงดัน (แบบกรองเร็ว) เหมาะกับน้ำบาดาลที่มีสนิมเหล็กไม่สูงมาก
  3. การเติมสารเคมี : เติมคลอรีน ด่างทับทิม ช่วยเร่งให้สนิมเหล็กตกตะกอน
  4. วิธีการออสโมซิสย้อนกลับ (RO) : สามารถกำจัดปริมาณเกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ำได้มากกว่า 95% ใช้ในการกำจัดฟลูออไรด์ ความกระด้าง ความกร่อยเค็ม โลหะหนัก ไนเทรต  และเชื้อแบคทีเรีย

ข้อควรรู้ก่อนเจาะน้ำบาดาล

น้ำบาดาล ใน อุตสาหกรรม

กฎหมายกำหนดให้ กรุงเทพมหานครและทุกจังหวัดในไทยเป็นเขตน้ำบาดาล และกำหนดให้น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกจากผิวดิน เกินกว่า 15 เมตร เป็นน้ำบาดาล ดังนั้น ผู้ใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาลในทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีความลึกจากผิวดิน เกินกว่า 15 เมตร ต้องไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้อง หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย

ทำไมต้องขออนุญาตก่อนเจาะ?

  • การเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ไม่ได้มาตรฐาน และการใช้น้ำบาดาลที่มากเกินความสมดุล
  • การใช้น้ำบาดาลอย่างฟุ่มเฟือย อาจทำให้คุณภาพน้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลงไป
  • ภาครัฐมีความจำเป็นต้องกำกับดูแลเพื่อสร้างความมั่นคงด้านการบริหารจัดการอย่างอนุรักษ์และยั่งยืน

1) หลักฐานที่ต้องเตรียม

  1.  หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
  2. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาประจำตัวบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ
  3. หนังสือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กรณีโรงงานอุตสาหกรรม)
  4. หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตฯ เป็นนิติบุคคล)

2) ขั้นตอนในการขออนุญาต

  1. ติดต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำพื้นที่
  2. พนักงานออกใบรับคำขอ และดำเนินการตรวจสอบเอกสาร
  3. เสนอผู้มีอำนาจในการพิจารณาใบอนุญาต (ใช้เวลาการพิจารณา 2-17วัน แล้วแต่ขนาดและความลึกของบ่อ)
  4. แจ้งผลการพิจารณา

-กรณีได้รับอนุญาต แจ้งผู้ขอรับใบอนุญาตให้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียม

-กรณีไม่ได้รับอนุญาต แจ้งเหตุผลพร้อมทั้งสิทธิอุทธรณ์ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ

สถานที่ยื่นคำขอ

  • กรุงเทพมหานคร : สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล
  • เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา : เทศบาล หรืออบต. ในเขตพื้นที่นั้น
  • จังหวัดอื่น ๆ : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

วิธีดูแลรักษาบ่อน้ำบาดาล

บ่อน้ำบาดาล
  1. ตัดหญ้ารอบบ่อ น้ำบาดาล ปรับพื้นที่ ถมดินและจัดทำทางระบายน้ำ ไม่ให้น้ำท่วมขังบริเวณรอบบ่อ
  2. กรณีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมบ่อ ให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์อยู่ในสภาพดี สามารถป้องกันของเหลวไหลลงบ่อน้ำบาดาล
  3. กรณีมีช่องว่างด้านข้างท่อกรุบ่อน้ำบาดาลเนื่องจากดินทรุดตัว ให้นำดินเหนียวมาถมรอบบ่อ ปรับพื้นที่ และเทชานบ่อน้ำบาดาล
  4. อุดรูวัดระดับน้ำ หรือผนึกรูสำหรับร้อยสายไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ เพื่อป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกไหลลงสู่บ่อน้ำบาดาล
  5. จัดหากระสอบทรายวางรอบตัวบ่อน้ำบาดาล เพื่อป้องกันวัสดุที่ไหลมากับน้ำกระแทกกับตัวบ่อ และป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกไหลลงสู่บ่อน้ำบาดาล
  6. เตรียมจัดทำอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมบ่อน้ำบาดาลแบบถาวรตามกรมทรัพยากรน้ำบาดาลแนะนำ
  7. กรณีมีบ่อน้ำบาดาลข้างเคียงที่เลิกใช้งานแล้ว ให้ดำเนินการเช่นเดียวกันกับบ่อที่ใช้งาน จากนั้นจึงวางแผนอุดกลบบ่อน้ำบาดาลที่เลิกใช้งานตามหลักวิชาการน้ำบาดาล

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

สำหรับใครที่ต้องการเจาะน้ำบาดาล อย่าลืมศึกษาข้อดี-ข้อเสียของบ่อน้ำบาดาล ว่ามีความคุ้มค่าในการติดตั้งหรือไม่ เพราะนอกจากจะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ ค่าเจาะ และค่าอื่น ๆ อีกมากมายตามมา และที่สำคัญควรศึกษาสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ปะปนมากับน้ำ พร้อมทั้งหาวิธีปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้สะอาดที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการอุปโภคและบริโภคนะคะ

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????