ประตูม้วน มีกี่แบบ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

“ประตูม้วน” ที่เรากมัพบเห็นตามอาคาร ตึกแถว หรือโรงงานต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่า กำลังนิยมใช้กันแพร่หลาย เพราะเป็นประตูที่มีระบบที่ทันสมัย เช่น แบบดึงมือ และระบบอัตโนมัติ ที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้บ้านบางหลังยังเลือกใช้ประตูม้วนระบบไฟฟ้า เพื่อทำเป็นประตูของโรงจอดรถ ที่มีการออกแบบที่สวยงามให้เข้ากับตัวบ้าน ขณะเดียวกันระบบการเปิด-ปิดของประตู สามารถควบคุมได้ทั้งมือ และควบคุมด้วยไฟฟ้า โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบอยู่การใช้งาน ด้วยประสิทธิภาพ รูปแบบ และระบบมีการรักษาความปลอดภัย ทำให้การเลือกใช้งาน ประตูม้วนระบบไฟฟ้า จึงมีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

บทความนี้ KACHA ของพาไปรู้จักกับ ประตูม้วน ให้มากขึ้นกัน

ประตูม้วน มีกี่ระบบ?

ประตูม้วนรุ่นมาตรฐาน มีทั้งหมด 3 ระบบ คือ ระบบมือดึง ระบบรอกโซ่ และระบบมอเตอร์ สามารถทำประตูม้วนได้กว้างกว่า 13 เมตร มีสีให้เลือกมากมาย เพื่อให้เข้ากับสิ่งก่อสร้างของท่าน อีกทั้งรองรับอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น Air Sensor ประตูม้วนจะหยุดการทำงานทันที เมื่อสัมผัสสิ่งกีดขวาง  เครื่องสัญญาณเตือนภัย หากมีการโจรกรรม สัญญาณเตือนจะดังทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลายนั่นเอง

211029-Content-ประตูม้วนมีกี่แบบ-เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน03
  • ประตูม้วนระบบรอกโซ่

เป็นระบบที่แข็งแรง ทนทาน เหมาะสำหรับอาคาร โรงงาน ที่อยู่อาศัย ประตูม้วนระบบรอกโซ่ อาศัยการทำงานด้วยระบบทดกำลังคน จากการชักรอก หรือสาวโซ่เพื่อเปิด-ปิดประตู ซึ่งจะสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าประตูม้วนระบบมือดึง โดยประตูม้วนระบบรอกโซ่ เหมาะสำหรับประตูที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 7.00 เมตร และความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร น้ำหนักเฉลี่ยของบานประตู ไม่เกิน 500 กิโลกรัม ประตูเหล็กม้วนระบบรอกโซ่นี้ จะเปิด-ปิดได้เพียงจุดเดียว คือภายใน หรือภายนอกอาคาร ดังนั้นเมื่อปิดประตูแล้วต้องออกทางประตูอื่น จึงจำเป็นต้องมีประตู หรือทางเข้าออกอีกทางหนึ่ง หรืออาจแบ่งบานประตูม้วน เพื่อให้สามารถเข้าออก อีกทางแทนได้

สินค้าแนะนำ :

211029-Content-ประตูม้วนมีกี่แบบ-เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน04
  • ประตูม้วนระบบมือดึง

แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน เหมาะสำหรับโกดัง โรงงาน อาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย โดยระบบมือดึง จะอาศัยการทำงานของสปริงในการเปิด-ปิดประตู ควบคุมด้วยกำลังคน โดยมีสปริงช่วยในการผ่อนแรง หรือหากประตูมีขนาดความสูงค่อนข้างมาก อาจใช้อุปกรณ์เสริม อย่างขอเกี่ยวประตูม้วน ช่วยในการดึงเปิดปิด จะทำให้ผู้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น

สำหรับประตูเหล็กม้วนระบบมือดึง เหมาะสำหรับประตูที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 4.00 เมตร และความสูงไม่เกิน 4.00 เมตร น้ำหนักเฉลี่ยของบานประตูไม่เกิน 100 กิโลกรัม ถ้าหากมีขนาดมากกว่าตามที่กำหนดไว้ อาจเลือกใช้เป็นระบบรอกโซ่ หรือระบบมอเตอร์ หรือแบ่งบานประตู โดยเพิ่มเสากลาง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และความเหมาะสมของผู้ใช้งาน

211029-Content-ประตูม้วน-มีกี่แบบ-เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน05-edit
  • ประตูม้วนระบบมอเตอร์ หรือระบบไฟฟ้า

สะดวก ใช้งานง่าย ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัย บริษัท ห้างร้านฯ และประตูโรงงานขนาดใหญ่ โดยมีให้เลือกทั้งมอเตอร์ YH หรือมอเตอร์แท่น หรือมอเตอร์กระบอกตามความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้า ประตูเหล็กม้วนระบบมอเตอร์ ควบคุมการทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยจะมีสวิตช์ไฟสำหรับเป็นปุ่ม เปิด-ปิด ติดผนัง เพื่อความสะดวกแก่การใช้งาน นอกจากนี้ยังรองรับรีโมทคอนโทรล ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะห่างถึง 40 เมตร ในกรณีไฟฟ้าขัดข้อง สามารถใช้งานระบบโซ่ ซึ่งอยู่ในตัวมอเตอร์เปิดฉุกเฉินได้ อีกทั้งยังสามารถติดตั้ง อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ดีเทคชั่นเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย หากมีคน หรือสิ่งของ กีดขวางประตูม้วนจะหยุดการทำงาน

ประตูม้วนระบบมอเตอร์ เหมาะสำหรับประตูเหล็กม้วนแบบบานเดี่ยวทุกขนาด ใช้ได้กับประตูที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 10.00 เมตร และความสูงไม่เกิน 6.00 เมตร

ประตูม้วน แบบใหนเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ประตู เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคาร บ้านเรือน ปราศจากประตูที่แข็งแรงแล้ว การอยู่อาศัยย่อมไม่มีความปลอดภัย โดยหลักสถาปัตยกรรมแล้ว ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ความสะดวกในการใช้งานเป็นอันดับรอง และความสวยงามเป็นอันดับสุดท้าย

  • ประตูม้วน ที่ติดตั้ง ออกแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ ตอบโจทย์ทั้งด้าน ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน และให้ความสวยงาม
  • ด้านความปลอดภัย (Safety & Security) วัสดุที่ใช้ทำประตูม้วนหลัก ๆ ประกอบไปด้วย ใบลอนเหล็ก หรือใบลอนสแตนเลส เมื่อเลือกใช้ขนาดใบลอน และความหนาที่เหมาะสมตามขนาดของประตูแล้ว ประตูม้วนจะมีความแข็งแรง ปลอดภัย อีกทั้งมีความทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน ที่สำคัญ คือ บำรุงดูแลรักษาง่าย แต่ทั้งนี้ ต้องเลือกใช้ชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น ระบบล็อค แม่กุญแจ รวมไปถึงการติดตั้งที่ได้มาตรฐานโดยช่างผู้ชำนาญงาน
  • ด้านความสะดวกในการใช้งาน (Function) ประตูม้วนมีด้วยกัน 3 ระบบ คือ ระบบมือดึง ที่พบเห็นตามอาคารพาณิชย์ทั่วไป ระบบรอกโซ่ พบได้ตามโกดัง อาคาร โรงงานที่มีบานประตูขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และสุดท้าย คือ ระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและรีโมท อุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ประตูม้วนสามารถเก็บม้วนขึ้นไปในกล่องด้านบนได้ จึงไม่เปลืองพื้นที่เหมือนประตูแบบอื่น ๆ ที่ต้องเก็บม้วนไว้ด้านข้าง ทำให้มีพื้นที่หลังการติดตั้งมากกว่าการใช้ประตูแบบอื่น
  • ด้านความสวยงาม (Beauty) ประตูม้วนที่ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีความสวยงามได้ไม่ต่างจากประตูแบบอื่น ๆ ตัวอย่างภาพแสดงการประยุกต์ใช้ประตูม้วนกับบ้านพักอาศัย ในส่วนโรงจอดรถ การเลือกใช้ใบลอนสีขาวตัดกับอิฐแดงของตัวอาคาร ทำให้เกิดความโดดเด่นของตัวประตู และผสมผสานกันเป็นอย่างดี ความคิดที่ว่าประตูม้วนใช้กับอาคารพาณิชย์เท่านั้นย่อมเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ประตูม้วน ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ เพื่อให้ได้ระบบประตูม้วนที่สอดคล้องกับการใช้งานประจำวัน และตรงตามความต้องการของท่านด้วย

ขั้นตอนการติดตั้งประตูม้วน

ก่อนทำการติดตั้งประตูม้วน ท่านควรปรึกษาทีมช่างผู้ชำนาญงานก่อน เพราะการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือผิดขั้นตอนจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ทั้งยังมีผลในด้านความปลอดภัย ความแข็งแรง และอายุการใช้งานของประตูม้วนที่ลดลงด้วย ขั้นตอนแรกที่ควรพิจารณา คือ เลือกหาทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น โดยท่านควรทำการตรวจสอบและตั้งคำถามกับทีมช่าง ดังต่อไปนี้

  1. สอบถามถึงว้สดุที่ใช้ในการทำประตู ว่ามีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานตามหลักอุตสาหกรรม
  2. สอบถามถึงส่วนประกอบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เพลาประตู ล็อคพื้น แม่กุญแจ ที่ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรง ทนทาน
  3. สอบถามถึงประสบการณ์ในการติดตั้ง ว่ามีความเข้าใจในการเลือกวัสดุ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วนที่เหมาะสม
  4. สอบถามถึงลูกค้าที่เคยใช้งานบริการว่ามีมากเท่าใดและลูกค้าเหล่านั้น ได้รับความพึงพอใจหรือไม่
  5. สอบถามถึงบริการหลังการขาย มีบริการการดูแล บำรุงรักษาประตูม้วน ให้กับลูกค้าอย่างไร
211029-Content-ประตูม้วนมีกี่แบบ-เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน02

การดูแลบำรุงรักษาประตูม้วน

แยกตามระบบได้ดังต่อไปนี้

วิธีการดูแลรักษาประตุม้วนระบบมือดึง

  1. ปัดฝุ่น ทำความสะอาดใบประตู และใบฐานล่างเป็นประจำ
  2. ระวังอย่าให้ใบฐานล่างถูกความชื้น หรือแช่น้ำฝนนาน
  3. ระวังอย่าให้น้ำสาด หรือรั่วซึมเข้าไปภายในช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  4. ระวังอย่าให้สัตว์รบกวนจำพวกหนู นกเข้าไปอยู่หรือนำเศษวัสดุเข้าไปกองสุมภายในช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  5. หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามสปริงในเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน และเสาข้าง
  6. อย่าให้มีเศษวัสดุเข้าไปอุดตันภายในกล่องที่ฝังพื้นที่ใช้คล้องกุญแจ

วิธีการดูแลรักษาประตุม้วนระบบรอกโซ่

  1. ปัดฝุ่น ทำความสะอาดใบประตู และใบฐานล่างเป็นประจำ
  2. ระวังอย่าให้ใบฐานล่างถูกความชื้น หรือแช่น้ำฝนนาน
  3. ระวังอย่าให้น้ำสาด หรือรั่วซึมเข้าไปภายในกล่องใส่รอกโซ่ และช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  4. ระวังอย่าให้สัตว์รบกวนจำพวกหนู นกเข้าไปอยู่ หรือนำเศษวัสดุเข้าไปกองสุมภายในกล่องใส่รอกโซ่ ช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  5. หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามรอกโซ่ สปริงในเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน และเสาข้าง
  6. อย่าให้มีเศษวัสดุเข้าไปอุดตันภายในกล่องที่ฝังพื้นที่ใช้คล้องกุญแจ

วิธีการดูแลรักษาประตุม้วนระบบมอเตอร์สวิทช์ และระบบรีโมท

  1. ปัดฝุ่น ทำความสะอาดใบประตู และใบฐานล่างเป็นประจำ
  2. ระวังอย่าให้ใบฐานล่างถูกความชื้น หรือแช่น้ำฝนนาน
  3. ระวังอย่าให้น้ำสาด หรือรั่วซึมเข้าไปภายในกล่องใส่มอเตอร์ กล่องสวิทช์ กล่องตัวส่งสัญญาณรีโมท และช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  4. ระวังอย่าให้สัตว์รบกวนจำพวกหนู นกเข้าไปอยู่หรือนำเศษวัสดุเข้าไปกองสุมภายในกล่องใส่มอเตอร์ ตัวส่งสัญญาณรีโมท และช่องเก็บเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน
  5. หยอดน้ำมันหล่อลื่น ตามสปริงในเพลาขับเคลื่อนดึงใบประตูม้วน และเสาข้าง
  6. ตรวจสอบสายไฟที่ใช้เดินระบบเข้าไปในมอเตอร์ขับเคลื่อนเพลาเสมอ ป้องกันการเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร
  7. ระวัง อย่าให้รีโมทควบคุมการขับเคลื่อนประตูม้วนถูกความชื้น อยู่ในที่มีความร้อนสูง หรืออยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณแม่เหล็กสูง เพราะทำให้การทำงานของสัญญาณควบคุมคลาดเคลื่อนได้

ทั้งนี้ ควรมีการตรวจสอบ ดูแลรักษา ประตูม้วนของท่านโดยช่างผู้ชำนาญงานเป็นระยะ ๆ ทุก ๆ 6-12 เดือน

❝ เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่องประตูม้วน ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน เวลาใช้งานควรศึกษาให้ดีก่อนทุกครั้ง เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยนั่นเอง ❞

บทความดี ๆ น่าอ่าน: