หากพูดถึงสิ่งที่จะยึดติดกับวัสดุต่าง ๆ นั้น เรามักจะนึกถึง กาว ซึ่งเป็นสิ่งที่ยึดติดกับวัสดุที่เราต้องการได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่แล้วเราจะคิดว่ากาวจะใช้กับงานเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วกาวนั้นค่อนข้างมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับการใช้งานหากเราเลือกใช้งานไม่ถูกอาจจะทำให้คุณภาพของกาวนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่ วันนี้เราจะมาแนะนำกาวแต่ละชนิดกันว่ามีการใช้งานอย่างไรและเหมาะกับวัสดุแบบไหน ????


โดย กาว ส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมหลัก คือ โพลีเมอร์ (Polymer) ซึ่งจะประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า โมโนเมอร์ (Monomer) มาเรียงต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาว คล้ายกับนำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบต่อกัน การที่กาวเหนียวได้นั้น ก็เนื่องมาจากโมเลกุลสายยาว ๆ ที่ว่านี้พันกันไปมานั่นเอง

210105-Content-ประเภทของ-“กาว”-ที่ใช้ในงานต่างๆเป็นแบบไหนกัน-02

???? กาว ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษราวปี ค.ศ.1750 โดยในครั้งนั้นได้ใช้ปลามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกาวขึ้นและต่อมาจึงได้มีการพัฒนาโดยการนำเอายางจากธรรมชาติ, กระดูกสัตว์, แป้ง, และโปรตีนจากนม เป็นต้น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกาวชนิดต่าง ๆ ด้วยวิวัฒนาการที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น


???? ชนิดของกาว มีอะไรบ้าง?

210105-Content-ประเภทของ-“กาว”-ที่ใช้ในงานต่างๆเป็นแบบไหนกัน-03


1) กาวติดผ้า (Fabric Glue)

ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับวัสดุที่เป็นผ้า โดยกาวชนิดนี้ขณะใช้จะไม่ทำอันตรายต่อผิวหนัง และใช้เวลาในการแห้งน้อย

2) กาวซูเปอร์กลู (Super Glue)

บางทีเราก็เรียกกาวชนิดนี้ว่า “กาว CA” ผลิตจากสารเคมีที่มีชื่อว่าไซยาโนอะคริเลต เป็นกาวที่มีคุณวมบัติติดยึดวัตถุได้ค่อนข้างแน่นและแห้งเร็ว ภายใน 10-30 วินาที โดยกาวเพียง 1 ตารางนิ้ว สามารถยึดติดวัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน ได้อย่างสบาย ๆ ลักษณะของกาวจะมีลักษณะเป็นของเหลวหรือเจล สามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยถ้าเป็นชนิดเหลวจะใช้กับวัสดุจำพวกพลาสติก โลหะ ไวนิล ยาง และกระเบื้องเซรามิก ส่วนกาวชนิดที่เป็นเจล จะใช้กับวัสดุจำพวกไม้และวัสดุที่มีรูพรุนต่าง ๆ การนำไปใช้งานก็เพียงแต่หยดกาวลงพื้นผิวที่ต้องการจะยึดติดเท่านั้น ปัจจุบันมีให้เลือกมากหมายหลายยี่ห้อ เรียกกาวประเภทนี้ว่ากาวร้อน

3) กาวขาว (White Glue)

หรือเรียกว่า โพลีไวนิล อะซีเทต (Polyvinyl acetate, PVA) เนื้อของกาวมีลักษณะเป็นของเหลว ซึ่งสามาราถนำไปใช้งานได้ทันที เหมาะสำหรับงานกระดาษและงานไม้ งานซ่อมแซมภายในบ้าน งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายในและเซรามิก เนื่องจากเป็นกาวที่ไม่มีสารเป็นอัตรายมาก จึงสามารถให้เด็กใช้งานได้ เมื่อแห้งแล้วเนื้อกาวจะแข็งพอประมาณ เนื่องจากกาวชนิดนี้ละลายน้ำได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กับงานที่ต้องสัมผัสน้ำ

210105-Content-ประเภทของ-“กาว”-ที่ใช้ในงานต่างๆเป็นแบบไหนกัน-04


4) กาวอีพ็อกซี่ (Epoxy Glue)

กาวชนิดนี้มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตัวกาวจะมี 2 ส่วนด้วยกัน โดยลักษณะของเนื้อกาวทั้งสองส่วนนี้จะมีลักษณะเหลวข้น บรรจุอยู่ในหลอดหรือกระบอกฉีดแบบคู่ เหมาะสำหรับนำไปใช้กับวัสดุจำพวกไม้ โลหะ กระเบื้อง แก้ว และวัสดุอื่น ๆ แถมยังสามารถยึดติดได้ดีกับวัสดุต่างชนิดกัน เช่น เหล็กกับแก้ว เป็นต้น ในการนำไปใช้งานจะต้องนำกาวทั้งสองส่วนมาผสมในอัตราส่วนที่เท่ากันเสียก่อน แล้วผสมหรือขยำให้เข้ากัน แล้วจึงนำไม้หรือเกียงโป๊สีปาดลงบริเวณที่ต้องการยึดติด โดยกาวจะแห้งภายใน 5 นาที ที่อุณหภูมิปกติ จนถึงข้ามคืนก็ขึ้นอยู่กับวัสดุ แต่เมื่อเนื้อกาวแห้งสนิทแล้วจะมีความแข็งแรงมาก บางชนิดแห้งช้า แต่จะมีแรงยึดสูงมากตัวกาวไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับพลาสติกจำพวกโพลีเอทีลีนหรือโพลีโพรพีลีน

5) กาวอะครีลิค (Acrylic Glue)

ตัวกาวจะมีอยู่ 2  ส่วนเหมือนกับกาวอีพ็อกซี่ แต่ส่วนหนึ่งเป็นของเหลวและอีกส่วนจะเป็นผง แต่ก็มีบางยี่ห้อได้ทำการผสมกันไว้ให้แล้ว จึงสะดวกมากในการใช้งาน กาวชนิดนี้เหมาะที่จะนำมาใช้ติดไม้ เหล็ก กระจกและเฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร คุณสมบัติของกาวคือ แห้งเร็วและยึดติดแน่น สำหรับการใช้งานนั้นจะต้องผสมตัวกาวทั้งสองส่วนให้เข้ากันเสียก่อน จากนั้น จึงนำไปทาที่ชิ้นงานทั้งสองชิ้นแล้วจึงนำมาประกบกันรอกาวแห้งประมาณ 5 นาที แต่ควรจะทิ้งไว้สักหนึ่งคืนเพื่อให้กาวเซ็ตตัว เมื่อกาวแห้งสนิทดีแล้วเนื้อกาวจะสามารถกันน้ำได้และติดแน่นมาก ๆ

6) กาวอะลิฟาติก (กาวเหลืองหรือที่บางคนเรียกว่ากาวยาง)

เป็นกาวสารพัดประโยชน์ เหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์และงานซ่อมแซมต่างๆ ลักษณะของเนื้อกาวเป็นของเหลวหนืด สามารถใช้งานได้ทันที ในการใช้งานเมื่อนำไปทากับชิ้นงานที่ต้องการแล้วกาวจะแห้งภายใน 1 ชั่วโมง แต่ควรจะทิ้งไว้ข้ามคืน เพื่อให้กาวยึดติดได้แน่นยิ่งขึ้น เนื่องจากกาวสามารถละลายน้ำได้ จึงไม่ควรนำไปใช้กับชิ้นงานกลางแจ้ง

210105-Content-ประเภทของ-“กาว”-ที่ใช้ในงานต่างๆเป็นแบบไหนกัน-05


7) กาวคอนแท็กซีเมนต์ (Contact Cement Glue)

เหมาะสำหรับงานที่ต้องการติดวัสดุที่มีลักษณะเป็นซีเมนต์หรืออาจจะนำไปใช้กับวัสดุอื่นก็ได้ เช่น การติดกระเบื้องกับผนัง การติดพลาสติกกับไม้อย่างถาวร เป็นต้น สำหรับการใช้งานจะต้องทากาวกับพื้นผิวหรือวัสดุที่ต้องการติดยึดทั้งสองชิ้น ด้วยแปรงหรือลูกกลิ้งก่อนที่จะนำชิ้นงานทั้งสองมาประกบกัน เมื่อประกบกันปุ๊บก็จะติดกันปั๊บ

8) กาวหลอมร้อน (Glue Guns)

มีลักษณะเป็นแท่งกลมใสหรือขาว ขุ่นยาวและแข็ง ทำมาจากสารเคมีชนิดต่างๆ เช่น โพลิเอไมด์ (Polyamide), โพลิเอทิลีนไวนิลอะซิเทต (Polyethylene vinyl acetate) เป็นต้น กาวชนิดนี้จะต้องอาศัยปืนยิงกาวไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการละลายกาวจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตัวกาวเหมาะที่จะนำไปใช้ในงานที่ต้องการยึดติดอย่างรวดเร็วและไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก เช่น งานเฟอร์พิเจอร์ ของเล่น รองเท้า พรมเป็นต้น

????ในการใช้งานกาวหลอมร้อนนั้น เราจะต้องใส่กาวลงไปในปืนยิงกาวเสียก่อน จากนั้นเสียบปลั๊กของปืนยิงกาวรอประมาณ 3-5 นาที ให้ปืนยิงกาวร้อน แล้วนำปลายของปืนยิงกาวไปจ่อบริเวณที่ต้องการ จากนั้นกดไกปืนกาวจะค่อย ๆ ไหลออกมาจากปลาย ในการทากาวชนิดนี้ต้องใช้ความรวดเร็วก่อนที่กาวจะแข็งตัว สำหรับเทคนิคในการยึดติดชิ้นงานที่เป็นแนวยาวนั้น ให้ใช้ปืนยิงกาว ยิงกาวในลักษณะเป็นลูกคลื่นอย่างรวดเร็ว แล้วจึงนำชิ้นงานมาประกบ แต่ถ้ายึดชิ้นงานที่เป็นแผ่นกาวก็ควรจะยิงให้เป็นแนวซิกแซก แล้วจึงรีบยึดชิ้นงานและกดไว้ประมาณ 30 วินาทีหรือจนกว่าจะแน่ใจว่ากาวได้แข็งตัวแล้ว

210105-Content-ประเภทของ-“กาว”-ที่ใช้ในงานต่างๆเป็นแบบไหนกัน-06


9) แถบกาวพันท่อ

เป็นแถบกาวที่ทำมาจากเทปล่อน บนแถบจะไม่มีกาวติดอยู่ ลักษณะของแถบกาวชนิดนี้จะเป็นแถบบางสีขาว ใช้สำหรับพันเกลียวท่อน้ำหรือท่อลมในระบบนิวเมตริก เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำและลม ใช้ได้ทั้งท่อโลหะและท่อพลาสติก PVC

10) กระดาษกาว

เป็นกระดาษสีน้ำตาลหรือสีขาว มีเนื้อเหนียวแน่นและเคลือบกาวไว้ด้านใน ใช้สำหรับงานชั่วคราวต่าง ๆ

11) แถบกาวชนิดโฟม 2 หน้า (Foam Mounting Tape)

ทำมาจากแผ่นโฟมที่สามารถยืดหยุ่นได้ โดยแผ่นโฟมนี้จะถูกเคลือบกาวเอาไว้ทั้งด้านในและด้านนอก ใช้สำหรับยึดชิ้นงานที่มีน้ำหนักไม่มากนัก

12) แถบกาวพันสายไฟ

ทำจากไวนิลบาง ทนความร้อนและยืดตัวได้เพื่อเป็นฉนวนป้องกันไฟรั่วหรือต่อสายไฟในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่ควรนำไปใช้เป็นการถาวร เพราะเมื่อใช้ไปนาน ๆ เนื้อกาวที่เคลือบไว้ก็จะเสื่อมสภาพลง จนทำให้แถบกาวหลุดออกจากสายทองแดง อาจทำให้เกิดอันตรายจากไฟดูดหรือลัดวงจรได้


ข้อดีและข้อเสียของการใช้กาว
????

???? ข้อดีของการใช้กาวในการยึดติด

  • สามารถในการเชื่อมติดยึดติดกับวัสดุได้หลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างกัน ทั้งองค์ประกอบของวัสดุ ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความหนาของวัสดุ เช่น แผ่นเหล็กบาง และแผ่นฟอยด์ ที่ไม่สามารถใช้วิธีการยึดติดด้วยวิธีอื่นได้เลย ก็จำเป็นจะต้องใช้กาวเข้ามาช่วย
  • ใช้ได้กับพื้นผิวงานที่ไม่เรียบ ขรุขระ ที่ไม่สามารถใช้การยึดติดกันด้วยสกรูหรือรีเวท สามารถทำให้ยึดติดกันและดูสวยงามได้ด้วยการใช้กาว
  • ใช้ได้กับพื้นผิวงานหรือวัสดุที่มีรูปร่าง รูปทรงสลับซับซ้อน ไม่สามารถยึดติดกันได้ด้วยวิธีอื่น สามารถใช้กาวในการยึดติดได้
  • การกระจายแรงบนพื้นที่ที่ทากาวมีความสม่ำเสมอกันมากกว่าการใช้โบ๊ลท์ หรือการยิงรีเวทที่กระจายแรงเป็นจุด โดยเฉพาะกับวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ จะทำให้ไม่เสียความแข็งแรงและยังทำให้ชิ้นงานมีน้ำหนักเบาและราคาประหยัดขึ้นด้วย รวมทั้งยังทำแผ่นรังผึ้งหรือแผ่นโฟม เป็นโครงสร้างภายในของผิวแผ่นเหล็กบาง เช่น ในโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก (Honeycomb Sandwich Panel) ได้อีกด้วย
  • การใช้กาวในการยึดติด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทก และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับชิ้นงาน
  • การใช้กาวทำให้น้ำหนักของชิ้นงานลดลงและยังไม่มีรูอีกด้วย ทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
  • วัสดุที่ไม่ทนทานกับความร้อน ก็สามารถยึดติดได้ด้วยกาว
  • กาวมีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นฉนวน และเคลือบผิวป้องกันความชื้นและสารเคมีอื่น ๆ ชั้นกาวสามารถเป็นฉนวนกันกระแสไฟฟ้า ความร้อน และเสียงอย่างดี ทั้งยังช่วยลดหรือป้องกันการเกิดสนิมกับวัสดุประเภทเหล็กได้อีกด้วย
  • การใช้กาวทำให้ชิ้นงานมีความประหยัด ทั้งในการผลิตกระบวนการในการติดตั้ง ลดค่าใช้จ่ายในวัสดุอื่น ๆ ลดขั้นตอนการทำงานอื่น ๆ ทั้งยังมีน้ำหนักน้อยและมีความสม่ำเสมอกันอีกด้วย


???? ข้อเสียของการใช้กาวในการยึดติด

  • การยึดติดด้วยกาวโดยการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง ๆ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างกันของการขยายตัวระหว่างตัวกาวเองกับพื้นผิวของส่วนที่ยึดติด ซึ่งก่อให้เกิดแรงดัน อาจทำให้รอยต่อแนวกาวมีปัญหาได้
  • ความแข็งแรงของการยึดติดด้วยกาว อาจจะไม่สมบูรณ์หรือไม่ดีเหมือนกับการเชื่อมหรือการยึดติดโดยใช้เครื่องกล
  • กาวต่างประเภทกัน จะมีคุณสมบัติในการรับแรงต่าง ๆ แตกต่างกัน บางประเภทมีคุณสมบัติในการรับแรงดึง เช่น กาวประเภทยาง ส่วนบางประเภทสามารถ รับแรงกดได้ เช่น กาวประเภทที่ใช้ความร้อนในการแข็งตัว
  • ผลในระยะยาวของการใช้กาว อาจมีผลเสียต่าง ๆ ได้ เช่น จากความร้อน ความเย็น ความชื้น สารเคมี รังสีแสงอาทิตย์ และการเสื่อมสภาพทางชีววิทยา นอกจากนี้ การใช้กาวที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับผิวงาน ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน
  • กาวที่ใช้น้ำยาทำละลายเป็นตัวประสานหลายชนิด สามารถติดไฟและยังเป็นสารพิษได้
  • การรื้อโครงสร้างที่ติดด้วยกาวไปแล้ว ทำไม่ง่ายนัก ดังนั้น การซ่อมแซมจึงเป็นไปได้ยาก
  • การควบคุมกระบวนการติดตั้งและการทำชิ้นงานตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
  • ต้องมีความชำนาญพิเศษในการติดตั้งด้วยกาว เช่น การเตรียมพื้นผิว การเลือกชนิดของกาว การคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของชิ้นงานในระยะยาว รวมทั้งการทำรายละเอียดต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากพอสมควร


❝ สำหรับใครที่กำลังมองหา “กาว” สำหรับงานต่าง ๆ นั้น สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตามความเหมาะสมตามการใช้งานด้วย เพื่องานที่ราบรื่นและมีคุณภาพ ติดตามบทความดี ๆ อีกมากมายได้ที่นี่เลยจ้า ❞ ????

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ 

ปรึกษาหรือพูดคุยกับพวกเรา KACHA ได้ มีสินค้าเกี่ยวกับบ้านและอาคารมากมายให้เลือกซื้อ รวมถึงงานบริการต่าง ๆ ที่เดียวที่จะให้คุณได้ครบทุกความต้องการ ติดตามได้ที่ ???? https://www.kachathailand.com/ ???? 092-262-6250 หรือ ???? Facebook : Kacha Thailand