“รถ AGV” ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ประโยชน์ และการใช้งานเป็นอย่างไร?

รถ AGV หรือ รถลำเลียงสินค้า ระบบอัตโนมัติ ตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายสินค้าในวงการอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับโรงงาน คลังสินค้า โกดัง และพื้นที่จัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่

รถ AGV มีการทำงานอย่างไร? มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน? คุ้มค่าแก่การครอบครองหรือไม่? ตาม KACHA ไปดูกันเลย!

รู้จัก รถ AGV คืออะไร?

รู้จัก รถ AGV คืออะไร?

AGV หรือ Automated Guided Vehicle คือ รถขนส่งอัตโนมัติที่ช่วยลำเลียงสินค้า ทำงานคล้ายกับหุ่นยนต์ ควบคุมการทำงานและกำหนดเส้นทางการขนส่งด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ สามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องใช้คนขับ ลักษณะเด่น คือ รองรับน้ำหนักได้มาก ลำเลียงสินค้าได้ถูกต้องและปลอดภัย สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางการลำเลียงได้ตามความเหมาะสม ทำงานได้แม้ไร้แสงสว่าง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ลดการใช้แรงงาน และเพิ่มความปลอดภัยในสถานประกอบการได้ ช่วยประหยัดต้นทุนทั้งแรงงานคนและเวลา ถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและมีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในยุคนี้

รถ AGV ทำงานอย่างไร?

รถ AGV ทำงานอย่างไร?

AGV มีระบบการนำทางหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การนำทางสะท้อนแสง และ การนำทางตามธรรมชาติ ดังนี้

การนำทางด้วยรีเฟลกเตอร์: วิธีการนำทางนี้ คือ การนำทางสะท้อนแสง รีเฟลกเตอร์จะถูกติดตั้งในสถานที่ และสแกนโดย AGV แต่ละคัน ทำให้กำหนดตำแหน่งตามระยะห่างจากรีเฟลกเตอร์ได้ การนำทางด้วยวิธีนี้ได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำและมีความทนทานสูง
การนำทางตามธรรมชาติ : การใช้การนำทางตามธรรมชาติ รถลำเลียงสินค้า อัตโนมัติ จะใช้จุดอ้างอิง เช่น กำแพง ชั้นวาง หรือวัตถุที่อยู่กับที่ในการคำนวณตำแหน่ง เป็นวิธีการนำทางสำหรับคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าที่มีการตั้งค่าภายในและมีจุดสังเกตที่แน่นิ่ง ชัดเจน ด้วยหน่วยตรวจจับสิ่งกีดขวาง เซ็นเซอร์รับน้ำหนัก กล้อง เพื่อป้องกันการชน เพื่อความแม่นยำและปลอดภัย

ประเภทและการทำงานของ AGV

ประเภทและการทำงานของ AGV รถลำเลียงสินค้า

รถลำเลียงสินค้า Automated Guided Vehicle  แบบไร้คนขับ ประกอบด้วย “ส่วนควบคุม” (ชุดวงจรควบคุม, ซอฟต์แวร์ และระบบรับสัญญาณ) และ “ส่วนขับเคลื่อน” (ส่วนสร้างพลังงาน, ระบบล้อ และระบบส่งกำลัง) ซึ่งแต่ระบบนั้นจะมีความแตกต่างกันตามเทคโนโลยีของแต่ละผู้ผลิต และประเภทของ AGV หรือ Automated Guided Vehicles ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ต่างกัน ดังนี้

  • AGV แบบบรรทุก (Unit Load Carriers)

AGV แบบบรรทุก หรือ Unit Load Carriers เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ออกแบบมาเพื่อบรรทุกสินค้าโดยเฉพาะ มีความสำคัญต่ออุตสากรรมการผลิต โกดัง หรือคลังสินค้า สำหรับใช้บรรทุกหรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง

  • AGV แบบค้ำยัน (Forklift AGVs)

AGV แบบค้ำยัน หรือ Forklift AGVs ออกแบบมาสำหรับใช้ยกสินค้าหรือวัสดุขึ้น-ลง จากราววางสินค้าหรือพื้นที่ทำงานที่มีความสูง เพื่อจัดระเบียบสินค้าในโกดัง โรงงาน และคลังสินค้าให้มีความเหมาะสม ง่ายต่อการตรวจสอบ ขนย้าย

  • AGV แบบขนย้ายแนวราบ (Tugger AGVs)

AGV แบบขนย้ายแนวราบ หรือ Tugger AGVs เป็น รถลำเลียงสินค้า ที่เน้นการทำงานในแนวราบ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในการดึงหรือฉีกสินค้าหรือวัสดุที่อยู่บนรถเข็น พาเลท มีลักษณะคล้ายรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งสินค้าหรือวัสดุในโรงงานหรือคลังสินค้า

  • AGV แบบเฉพาะงาน (Custom AGVs)

AGV แบบเฉพาะงาน หรือ Custom AGVs เป็นประเภทของ AGV ที่ถูกออกแบบเพื่อรองรับภารกิจงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น การขนส่งผู้ป่วยในโรงพยาบาล, การสำรวจในสภาพแวดล้อมที่อันตราย เป็นต้น

ประโยชน์ของ รถ AGV

ในปัจจุบันมีหลากหลายอุตสาหกรรมมีการนำ AGV ไปใช้ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการลำเลียงสินค้า ประหยัดเวลา ลดแรงงานมนุษย์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 24 ชั่วโมง ช่วยลดความผิดพลาดการบริหารคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งสินค้า ตรวจรับสินค้า แยกประเภท การจัดเก็บและดูแลสินค้า สามารถเช็กสินค้าว่ามีปริมาณคงเหลือเท่าไร และที่สำคัญคือ เพิ่มความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทำงานได้ 24 ชั่วโมง

อุตสาหกรรมที่นำ AGV มาใช้งาน

ประโยชน์ของ AGV รถลำเลียงสินค้า ในอุตสาหกรรม

1. อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) รถ AGV ช่วยเรื่องการจัดส่งชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีน้ำหนักมาก การขนย้ายสินค้าคงคลังระหว่างการผลิต (WIP) การลำเลียงรถยนต์ที่ผลิตเสร็จสิ้นแล้ว
2. อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก (Chemicals / Plastics) เช่น การขนย้ายวัตถุดิบ ชิ้นส่วนพลาสติกในการผลิต การขนย้ายสินค้าที่ผลิตเสร็จสิ้นแล้ว การขนย้ายบรรจุภัณฑ์ ช่วยลดโอกาสเกิดความเสียหายต่อวัตถุดิบและสารเคมีที่เป็นอันตรายได้
3. อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม (Food / Beverage) เช่น การจัดการและจัดเก็บวัตถุดิบในคลังสินค้า การขนส่งวัตถุดิบระหว่างสายผลิตภัณฑ์ การบรรทุกอุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาด การใช้งานร่วมกับเครื่องจักรอัตโนมัติ
4. คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า (Warehouse / Distribution Center) เช่น การเคลื่อนย้ายพาเลทสินค้า การเลือกสินค้าในคลัง การเติมสินค้าให้เต็มพาเลทก่อนเคลื่อนย้าย การขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์
5. อุตสาหกรรมการพิมพ์ (Printing) เช่น การขนย้ายม้วนกระดาษจากคลังไปยังส่วนงานพิมพ์ การขนย้ายอุปกรณ์การพิมพ์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นแม่พิมพ์ การขนย้ายขยะที่เกิดจากงานพิมพ์ การขนย้ายสินค้าสำเร็จรูปไปยังคลังสินค้า
6. อุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical) รถ AGV ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของตัวยาได้ ทั้งการขนย้ายพาเลทวัตถุดิบสำหรับใช้ทำยา ทั้งประเภทของเหลวและผง การขนย้ายยาที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้ว การขนย้ายบรรจุภัณฑ์

จะเห็นว่า AGV หรือ รถลำเลียงสินค้า ระบบอัตโนมัติ มีการทำงานที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ช่วยลดแรงคน และต้นทุนในการผลิตได้มาก เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ โกดัง และคลังสินค้าที่มีการบรรทุกเคลื่อนย้ายวัสดุเป็นประจำ หรือพื้นที่ที่มีการขนถ่ายสินค้าที่มีเส้นทางเดินสินค้าที่แน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : ForX , QuickQRP, Creform

KACHA ผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้าง รับสร้างโกดังสำเร็จรูป พร้อมสต็อกสินค้ารองรับทุกการสั่งซื้อ บริการหลังการขายที่ประทับใจ ในราคาที่เป็นมิตร!