วิธีต่อปลั๊กไฟ และ สวิตช์ ด้วยตัวเองง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?
หากคุณต้องการปลั๊กรางที่มีคุณภาพ แต่ไม่ต้องการซื้อใหม่ วิธีต่อปลั๊กไฟ กับ สวิตช์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ สำหรับท่านที่ต้องการ DIY สายไฟภายในบ้าน เพื่อเพิ่มสวิตช์ในการใช้งาน บทความนี้ KACHA จึงได้รวบรวมเคล็ดลับ และข้อมูลของแต่ละประเภทมาฝากกัน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ประเภท วิธีต่อปลั๊กไฟ กับ สวิตช์
ถ้าหากจะพูดถึงประเภทของปลั๊กไฟ และสวิตช์ที่มีอยู่ในทั่วทุกมุมโลกนั้น แต่ละประเภทก็มีรูปร่างลักษณะ และการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ประเภทของปลั๊กไฟ
- Type A เป็นประเภทปลั๊กที่ได้รับความนิยมที่สุดในการใช้งานของประเทศไทย มีลักษณะหัวจับแบน มีสองขา หรือที่เรียกกันว่า “ปลั๊กสองตา” จัดเป็นขนาดปลั๊กมาตรฐาน ที่สามารถใช้เสียบกับรางปลั๊กแบบสองขาได้
- Type B เป็นปลั๊กประเภทสามขา หรือที่หลายท่านเรียกว่า “ปลั๊กสามตา” ปัจจุบันเป็นที่นิยมในการใช้งานเป็นอย่างมากในประเทศไทย มีลักษณะขากลมสามขา พร้อมขากราวด์ โดยปลั๊กชนิดนี้ ถูกใช้ในประเทศญี่ปุ่น และทวีปอเมริกา เช่นกัน
- Type C มีลักษณะหัวกลม มี 2 ขา ส่วนใหญ่จะพบปลั๊กชนิดนี้ได้ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในประเทศไทย เช่น พัดลม ไมโครเวฟ เครื่องปิ้งย่าง เป็นต้น ถือเป็นปลั๊กที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
- Type D จะไม่เห็นปลั๊กชนิดนี้ประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะประเภทนี้ จะใช้ทางแถบของประเทศอินเดีย เนปาล เหมาะสำหรับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีกำลังไฟสูง โดยมีลักษณะหัวกลม ขนาดใหญ่ มี 3 ขา
- Type E มีลักษณะกลม 2 ขา ขนาดใหญ่ พร้อมกราวด์ 1 ด้าน ถูกนำไปใช้ทางทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สโลวาเกีย เป็นต้น
- Type F จะพบเห็นปลั๊กประเภทนี้อยู่ในหมวดหมู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ เตารีด เป็นปลั๊กที่มีลักษณะหัวกลม 2 ขา มีขนาดใหญ่ แต่ให้ความแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้งานเป็นอย่างมาก
- Type G ข้อดีของปลั๊กประเภทนี้ คือ สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี แข็งแรงทนทาน ปลอดภัย แต่จะถูกนำไปใช้ในประเทศอังกฤษ ฮ่องกง เป็นต้น แต่ในประเทศไทย ยังไม่มีการยืนยันการใช้งาน เนื่องจากมีความยุ่งยากในการแปลงหัวปลั๊กนั่นเอง
- Type H ปลั๊กประเภทนี้ ถูกใช้เพียงประเทศอิสราเอลเท่านั้น เพราะเป็นการออกแบบพิเศษโดยเฉพาะ มีลักษณะหัวกลม 3 ขา
- Type I เป็นปลั๊กที่มี 3 ขาแบน โดยที่ 2 ขาจะเอียงเข้าหากัน เหมือนตัววีคว่ำ และมีขาสำหรับสายดินตั้งตรงอยู่ ระหว่างด้านในของตัววี ปลั๊กประเภทนี้ ใช้กันมากที่ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
- Type J หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ปลั๊กสวิตซ์ 3 ขา เพราะ ใช้กันมากที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่ทั้ง 3 ขาเป็นขาแบบกลม และตาที่เต้ารับก็จะรองรับ เฉพาะ ขากลมเท่านั้น ปลั๊กนี้คล้ายกับปลั๊ก Type C ต่างที่ Type J มีขาสำหรับสายดิน แต่ Type C ไม่มี
- Type K เป็นปลั๊กที่มีขากลม 3 ขา และตาที่เต้ารับก็จะรองรับ เฉพาะขากลม 3 ขาเท่านั้น ปลั๊ก Type K นี้คล้ายกับปลั๊ก Type F แต่ต่างกันตรงสายดิน ซึ่งสายดินของ Type K เป็นขากึ่งกลมอยู่ที่เต้าเสียบ ส่วน Type F เป็นเขี้ยวอยู่ที่เต้ารับ ปลั๊ก Type K นี้ใช้แพร่หลายในประเทศเดนมาร์ก กรีนแลนด์ มัลดีฟ เป็นต้น
- Type L เต้าเสียบของปลั๊กประเภทนี้มีขากลม 3 ขา ที่เรียงกัน เป็นแนวเดียว โดยที่สายดินจะอยู่ตรงกลาง ส่วนเต้ารับก็จะมี 3 ตาแบบกลมเช่นกัน ปลั๊กนี้ใช้กันมากในประเทศอิตาลี
ประเภทของสวิตซ์
อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญสำหรับการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าเข้าหากัน โดยการเปิด-ปิดสวิตช์ไฟแต่ละชนิด จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้
- สวิตช์แบบเลื่อน การทำงานของสวิตช์ประเภทนี้ จะใช้การต่อภายใต้ฐาน มีลักษณะการทำงานโดยการเลื่อนขึ้น-ลง หรือซ้าย-ขวา เพื่อเปิด-ปิด ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในไฟฉาย เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่น เป็นต้น
- สวิตช์แบบกด เป็นประเภทที่ทำงานกับระบบไฟฟ้าภายในตัวเครื่องใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เช่น รีโมท คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หม้อหุงข้าว ต่างก็เป็นสวิตช์แบบสัมผัส การกดหนึ่งครั้ง หรือ On-Off จะทำให้ทำงานทันที
- สวิตช์แบบกระดก ส่วนใหญ่จะใช้งานโดยการนำไปต่อกับปลั๊กราง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการทำงานเป็นสวิตช์แบบกด On-Off เป็นรูปแบบที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุดในแต่ละวัน
- สวิตช์แบบก้านยาว หลายท่านอาจจะไม่เคยพบเห็นสวิตช์ประเภทนี้ เพราะไม่ค่อยนิยมนำมาใช้งานสักเท่าไหร่ โดยมีลักษณะเป็นก้านยาว ยื่นออกมานอกตัวของสวิตช์ ให้คุณได้ยกขึ้น-ลง เพื่อเปิด-ปิด การทำงาน
- สวิตช์แบบหมุน เป็นสวิตช์แบบหมุน เพื่อเลือกระดับ และการเปิด-ปิด ส่วนใหญ่จะพบสวิตช์ประเภทนี้ได้จาก พัดลมเพดาน ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เตารีด เป็นต้น
- สวิตช์แบบไมโคร สำหรับชนิดนี้ หากต้องการใช้งานจะต้องใช้นิ้วกดอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากเอานิ้วออก สวิตช์ก็จะปิดลงทันที ใช้สำหรับการใช้งานเพียงเล็กน้อย ไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ภายในบ้าน
วิธีต่อปลั๊กไฟและสวิตช์ด้วยตนเอง
สำหรับวิธีการต่อปลั๊กไฟ และสวิตช์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่คุณเองก็ทำได้ ด้วยวัสดุเพียงไม่กี่ชนิด และใช้เวลาเพียงไม่นาน คุณก็จะได้ปลั๊กไฟที่สมบูรณ์ไปใช้งานในบ้านอย่างแน่นอน โดยมีวิธีการ ดังนี้
อุปกรณ์
วิธีต่อปลั๊กไฟและสวิตช์
- ตัดไฟ ก่อนที่จะซ่อมแซมหรือ ตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่เกี่ยวกับระบบไฟ จะต้องมีการตัดไฟเสียก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน และไม่เกิดอันตรายจากไฟฟ้า โดยการยกเบรกเกอร์ลงก่อนการทำงานนั่นเอง
- ต่อปลั๊กไฟ นำปลั๊กไฟที่เตรียมไว้มาแกะชิ้นส่วนออกจากกัน โดยใช้ไขควง ไขน็อตออกจากตัวฐาน หลังจากนั้น ให้นำสายไฟที่เตรียมไว้มาต่อบริเวณฐาน โดยจะมีรูกำหนดให้ตามสีของสายไฟ หลังจากนั้นขันน็อตเข้าให้แน่น
- ต่อสายหลัก และสายไฟ ในขั้นตอนนี้ให้เช็คแต่ละสาย และต่อตามสี เช่น สายหลัก สายไฟ ควรต่อให้ครบทุกช่องตามที่กำหนด หลังจากต่อครบแล้ว ให้นำสายหลอดของฐานไฟ มาต่อเข้าบริเวณสายขั้ว
- ต่อเข้ากับผนัง หลังจากที่เตรียมปลั๊กไฟ และสวิตช์ไฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คุณนำสายไฟที่เตรียมไว้ ไปต่อกับสายไฟของผนังบ้านในบล็อกของปลั๊ก โดยการต่อเข้าให้สนิท โดยอาจจะใช้เทปพันสายไฟในการช่วยพัน และเก็บสาย หากเสร็จแล้วให้ปิดฝาครอบให้สนิท เพื่อเตรียมทดสอบการใช้งานแบบทั่วไป
ข้อควรระวังในการเดินสายไฟในรางพลาสติก
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้านไม่ควรละเลย สำหรับการเดินสายไฟในรางพลาสติก คือ สายไฟที่นำมาใช้ในการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจุดต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ และสายไฟที่เหมาะสมกับงาน เพื่อให้กระแสไฟสามารถไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการลัดวงจรของไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความเสียหาย
สำหรับท่านที่กำลังมองหา วิธีต่อปลั๊กไฟ กับ สวิตช์ แบบง่าย ๆ ฉบับรวดเร็ว ทางเราได้รวบรวมเคล็ดลับเหล่านี้มาให้ทุก ๆ ท่านได้ลองใช้เป็นแนวทางในการติดตั้งระบบไฟในห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน พร้อมทั้งเลือกชนิดต่าง ๆ ของปลั๊กไฟ และสวิตช์ที่เหมาะสำหรับการใช้ในบ้านของคุณ ดังนั้น ควรเลือกวัสดุที่ได้มาตรฐานจากร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยดี ๆ อย่างเช่น รอกไฟฟ้า รอกโซ่ยกของ เครนยกของ ชั้นวางของเหล็ก และสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง งานในบ้าน KACHA ของเราก็มีบริการ สินค้าทุกชนิดและทุกชิ้นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ พร้อมการรับประกันและบริการหลังการขาย สามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าได้ที่นี่ https://www.kachathailand.com/shop/