วิธีป้องกันน้ำท่วม พร้อมเตรียมรับมือก่อนน้ำเข้าบ้าน ทำได้อย่างไร?

ปัญหาอุทกภัย ที่มักมีมาให้เห็นอยู่เสมอ ในช่วงหน้าฝน คือ “น้ำท่วม” โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่อาศัยอยู่ติดแม่น้ำ นอกจากภัยน้ำท่วมที่ต้องเฝ้าระวังกันแล้ว ยังมีเรื่องของฟ้าผ่า และพายุพัดรุนแรง ในช่วงหน้าฝนอีกด้วย วิธีป้องกันน้ำท่วม ที่ควรรู้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาได้ทันเหตุการณ์ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

วิธีเตรียมรับมือน้ำท่วม ฉบับพื้นฐาน

  1. ติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
  2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ให้พร้อมต่อการยังชีพได้อย่างน้อย 3-5 วัน
  3. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม จัดเตรียมอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น เช่น ไฟฉาย แบตเตอรี่สำรอง
  4. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เพื่อต้องการความช่วยเหลือ
    – โทร 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
    – โทร 1784 สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    – โทร 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค
    – โทร 1199 ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ
    – โทร 192 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
    – โทร 1182 กรมอุตุนิยมวิทยา
  5. หากเกิดน้ำท่วมให้ปิดวงจรไฟฟ้าทันที เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
    กรณีที่เป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ติดตั้งอยู่กับพื้น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น เครื่องปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ต้องรีบถอดปลั๊กออกทันที พร้อมยกระดับปลั๊กไฟให้สูงขึ้น ประมาณ 1-1.20 เมตร หากไม่สามารถยกระดับปลั๊กไฟให้ตัดวงจรไฟฟ้าเต้ารับที่น้ำท่วมถึง จะต้องให้ช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญมาตัดวงจรให้ ไม่ควรตัดเองเด็ดขาด รวมถึงปิดแก๊ส หากคาดว่าน้ำจะท่วมถึงด้วย
  6. ระมัดระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ต้องการความช่วยเหลือ จดจำเบอร์ติดต่อเหล่านี้ไว้ให้ดี

วิธีป้องกันน้ำท่วม ทำได้อย่างไร?

อย่างที่รู้กันว่า น้ำท่วม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิต และทรัพย์สิน จนอาจทำให้หลาย ๆ คน ตื่นตระหนกหลงลืมสิ่งจำเป็นหลายอย่าง ดังนั้น หากรู้วิธีรับมือ การป้องกันน้ำท่วม ล่วงหน้าคงจะดีไม่น้อย สามารถทำได้ดังนี้

1. ทำแนวกันน้ำด้วยกระสอบทราย

วิธีป้องกันน้ำท่วม กระสอบทราย

1. ทำแนวกันน้ำด้วยกระสอบทราย

กระสอบทรายมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ สำหรับการทำแนวป้องกันน้ำ เพราะหาได้ง่าย มีน้ำหนักมากพอที่จะต้านกระแสน้ำได้ดี การใช้กระสอบทรายทำแนวกันน้ำ ควรเรียงให้ถูกวิธีด้วย คือ

  • ขุดฐานตรงกลางให้ความลึกพอดีกับขนาดกระสอบ และความกว้างพอดีประมาณ 2 กระสอบ
  • เติมทรายแค่ครึ่งหนึ่งของกระสอบและมัดปากให้แน่น
  • วางเรียงแบบสลับกันแบบพีระมิดจนได้ความสูงที่เหนือกว่าแนวน้ำ และคลุมทับอีกชั้นด้วยพลาสติก

2. ทำแนวกันน้ำด้วยกำแพงกั้นน้ำท่วม

วิธีป้องกันน้ำท่วม กำแพงกันน้ำท่วม

2. ทำแนวกันน้ำด้วยกำแพงกั้นน้ำท่วม

กำแพงกั้นน้ำ อีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับป้องกันปัญหาอุทกภัย และจัดการน้ำท่วมเฉียบพลัน โครงสร้างรูปตัว L ที่ออกแบบมาให้วางเรียงต่อกันคล้ายกำแพง ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ใช้งานได้มีประสิทธิภาพกว่ากระสอบทราย 10 เท่า!

3. ทำแนวกันน้ำด้วยแผ่นเหล็ก

วิธีป้องกันน้ำท่วม แผ่นเหล็กกันน้ำท่วม

3. ทำแนวกันน้ำด้วยแผ่นเหล็ก

อีกหนึ่งวิธีป้องกันน้ำท่วมที่ทำได้ไม่ยาก สามารถป้องกันน้ำได้ด้วยแผ่นบานเหล็ก โดยขึ้นโครงเหล็กพับแล้วติดตั้งกับช้องประตู และอุดรอยต่อด้วยดินน้ำมัน หรือยิงยิงซิลิโคนยาแนว พร้อมกับใช้ผ้าใบ หรือแผ่นพลาสติกคลุมอีกชั้นป้องกันน้ำซึม

4. ทำแนวกันน้ำด้วยการก่ออิฐ

วิธีป้องกันน้ำท่วม ก่ออิฐกันน้ำท่วม

4. ทำแนวกันน้ำด้วยการก่ออิฐ

วิธีนี้จะช่วยป้องกันน้ำเข้าบ้านได้ในเบื้องต้น โดยการวางอิฐบล็อกแนวสลับคล้าย ๆ การวางกระสอบทราย และนำแผ่นพลาสติก หรือผ้าใบ มาคลุมด้านหน้าของกำแพง ปิดเทปกาว วางก้อนอิฐที่เหลือทับชายด้านบน แล้วนำกระสอบทรายวางทับชายด้านล่างเอาไว้อีกที ควรสร้างห่างจากตัวบ้าน ไม่ควรก่ออิฐบล็อกเกิน 30 ซม. เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกินกับตัวบ้านได้

5. ทำแนวกันน้ำด้วยถุงทรายกันน้ำท่วม

วิธีป้องกันน้ำท่วม ถุงทรายกันน้ำท่วม

5. ทำแนวกันน้ำด้วยถุงทรายกันน้ำท่วม

ถุงทรายกันน้ำท่วม ที่ไม่ต้องใช้ทราย แต่ใช้น้ำแทน โดยถุงนี้จะใช้น้ำท่วมมาบรรจุแทนทราย เมื่อบรรจุเต็มแล้ว ก็จะสามารถใช้งานแทนกระสอบทรายได้ทันที เมื่อใช้งานเสร็จ ก็เทน้ำด้านในทิ้ง ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง สามารถนำไปใช้ในครั้งหน้า ๆ ได้อีก

กลับสู่ด้านบน

หลังน้ำท่วม ควรฟื้นฟูดูแลอย่างไร?

หลังจากที่เหตุน้ำท่วมจบลง ย่อมตามมาด้วยความเสียหาย ทั้งร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการจัดการดูแล ฟื้นฟู แบ่งได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้

1) ฟื้นฟูร่างกาย และจิตใจ หลังเหตุการณ์น้ำท่วม เช่น

  • พูดคุย ใช้เวลากับครอบครัว เพื่อเยียวยาจิตใจ แบ่งปันความกังวล ความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามโภชนาการ เพราะช่วงน้ำท่วม มีการอดอาหาร กินอาหารกระป๋องเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้
  • หากมีภาวะซึมเศร้า จนรับมือไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษา
  • เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคท้วงร่วง หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • เมื่อร่างกาย และจิตใจดีขึ้น ค่อยเริ่มวางแผนการจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

2) ฟื้นฟูดูแลบ้าน ตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย ดังนี้

  • เดินสำรวจในบ้านอย่างระมัดระวัง ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน เช็กสายไฟ ถังแก๊ส
  • ถ่ายรูปความเสียหายภายในบ้าน เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่ต้องเรียกค่าชดเชยจากประกันภัย
  • หากยังมีน้ำท่วมขัง ให้ระบายน้ำออกช้า ๆ เพราะแรงดันน้ำ อาจทำให้เกิดรอยแตกของผนัง ราอยร้าวได้
  • ตรวจสอบความเสียหายของตัวบ้านให้แน่ใจว่าทุกอย่างปลอดภัย มีอะไรต้องซ่อมแซมหรือไม่
  • เก็บกู้สิ่งของ ทำความสะอาดบ้าน โดยเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายความชื้น และฝุ่น
  • ตรวจสอบท่อน้ำว่ามีรอยแตก รอยรั่วไหม ถ้าพบให้ปิดวาล์วทันที และงดใช้น้ำในการประกอบอาหาร จนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาดปลอดภัย
กลับสู่ด้านบน

เป็นอย่างไรกันบ้าง การป้องกันน้ำท่วม วิธีป้องกันน้ำท่วม ที่เรานำมาแนะนำกัน เพื่อเตรียมรับมือได้ทันเวลา และในช่วงฤดูฝนนี้ ควรระวังภัยจากน้ำท่วมเป็นพิเศษ จำเป็นต้องหมั่นติดตามข่าวสารภัยพิบัติอยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น จะสามารถเตรียมตัวได้ทัน และลดความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด