สปริงเกอร์ คืออะไร? ข้อดี-ข้อเสีย ก่อนติดตั้งต้องรู้อะไรบ้าง?
ในปัจจุบันมี สปริงเกอร์ หลายแบบให้เลือกสรร แต่จะเลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน
แล้วระบบสปริงเกอร์ มีข้อดี ข้อเสียยังไง? คุ้มค่าหรือไม่ในการติดตั้ง ตาม KACHA ไปดูกันเลย!
สปริงเกอร์ คืออะไร?
สปริงเกอร์ คือ ระบบรดน้ำที่ทำงานด้วยการบีบอัดน้ำ แล้วฉีดให้แตกเป็นสายกระจายเป็นวงกว้าง หมุนเหวี่ยงไปบริเวณพื้นที่โดยรอบ ส่วนมากนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร เช่น รดน้ำพืชผักผลไม้ หรือฉีดเพื่อลดอุณหภูมิของพื้นที่ให้เย็นลง สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำ พื้นที่ และรัศมีใกล้ไกลของบริเวณเพาะปลูก
ประเภทและการใช้งาน
แบ่งตามจ่ายน้ำ
- หัวมินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler) หัวชนิดนี้จะจ่ายน้ำในอัตราที่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 500 ลิตร/ชม.) มีให้เลือกทั้งแบบน้ำหยด และแบบหัวเหวี่ยงที่กระจายน้ำเป็นละอองขนาดเล็ก โดยสามารถจ่ายน้ำได้ในรัศมี 0.5 – 4 เมตร เหมาะสำหรับรดน้ำในพื้นที่แคบ ๆ หรือไม้พุ่ม
- หัวสเปรย์ (Spray) หรือ หัวพ่นฝอย มีลักษณะการจ่ายน้ำเป็นรูปพัดหรือครึ่งวงกลม รัศมีการจ่ายน้ำไม่เกิน 1-2.5 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่กว้างมากนัก เช่น แปลงผัก พุ่มไม้เล็กในบ้าน ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นที่ทรงพุ่มไม่ใหญ่ ฯลฯ
- หัวโรเตเตอร์ (Rotor) ลักษณะการจ่ายน้ำของหัวฉีดประเภทนี้ คือ ฉีดออกจากหัวจ่ายและหมุนรอบตัวหรือองศาที่กำหนดไว้ ในรัศมี 6 -20 เมตร เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สนามหญ้า สวนสาธารณะ เป็นต้น
แบ่งตามการติดตั้ง
- หัวฝังอยู่ใต้ดิน (Underground) หรือ หัวป๊อบอัพ (Pop Up) การติดตั้งรูปแบบนี้ ตัวสปริงเกอร์จะถูกฝังอยู่ใต้ดินและจะโผล่ออกมาเฉพาะเวลาทำงาน เหมาะสำหรับงานจัดสวน สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ หรือสนามที่จัดกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ ติดตั้งด้วยการซ่อนไว้บริเวณสนามหญ้า หรือพื้นที่โล่ง เพื่อความแนบเนียน สวยงาม และไม่กีดขวางพื้นที่
- หัวอยู่เหนือดิน (Aboveground) วิธีนี้จะติดตั้งง่ายกว่าแบบแรก คือ สามารถสวมต่อกับท่อพีอี (PE) หรือ พีวีซี (PVC) โดยตรงได้เลย นิยมใช้ในการเกษตร เหมาะกับการรดน้ำพืชผัก
สิ่งที่ควรรู้ก่อนติดตั้ง
องค์ประกอบหลักของสปริงเกอร์
- หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดิน และพืช
- คอนโทรลเลอร์ (Controller) อุปกรณ์ควบคุมวาล์วไฟฟ้าให้เปิด-ปิดตามเวลาที่กำหนด
- วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ ประมาณ 24 โวลต์ ในการสั่งการให้วาล์วเปิดหรือปิด
- เครื่องสูบน้ำ (Pump) ใช้กับระบบสปริงเกอร์ที่ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูง ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
วิธีวางแผนการติดตั้ง
- ศึกษาธรรมชาติของพืชผักว่าต้องการปริมาณน้ำเยอะเพียงใด
- คำนวณพื้นที่ที่จะติดตั้งสปริงเกอร์ให้แม่นยำที่สุด
- เลือกประเภทหรือหัวสปริงให้เหมาะกับพื้นที่
- เลือกปั๊มที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำและระบบสปริงเกอร์
- เลือกขนาดของท่อลำเลียงน้ำ ถ้าพื้นที่กว้างมากควรใช้ท่อที่ทนแรงดันน้ำสูง
ข้อดีและข้อเสียของ สปริงเกอร์
ข้อดี
- ตั้งเวลารดน้ำได้ สะดวกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา
- ช่วยประหยัดน้ำ เนื่องจากควบคุมเวลาและปริมาณน้ำได้
- รดน้ำได้ทั่วถึง ใช้ได้ทั้งพื้นที่ที่มีพืชผักเบาบางและหนาแน่น
- กระจายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและแรงกาย
- เพิ่มความชื้นในอากาศได้ดี ช่วยให้อุณหภูมิเย็นขึ้น
- มีหัวฉีดหลายประเภท เลือกให้เหมาะกับการใช้งานง่าย
ข้อเสีย
- งบประมาณในการติดตั้งสูงกว่าระบบรดน้ำด้วยสายยางแบบปกติ
- อาศัยแรงดันน้ำในการใช้งาน อาจต้องมีการติดตั้งปั๊มน้ำ เพื่อสร้างแรงดันให้ระบบสปริงเกอร์
- ถ้าติดตั้งสปริงเกอร์แบบหัวอยู่เหนือพื้นดิน จะกีดขวางและรบกวนพื้นที่ในการทำสวน
- มีระบบการติดตั้ง การกำหนดพื้นที่ รัศมี และการเคลื่อนย้ายที่ยุ่งยาก
หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสปริงเกอร์มากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม หากท่านใดสนใจที่จะติดตั้ง อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้งานด้วยน้าา..
ขอบคุณข้อมูลจาก : สปริงเกลอร์ไทยแลนด์
บทความดี ๆ น่าอ่าน :
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!