“สิ่ว” คือ เครื่องมือช่าง ใช้สำหรับงานไม้ ทำด้วยโลหะ มีลักษณะรูปร่างหลากหลายแบบ เช่น สิ่วปากบาง สิ่วปากหนา เป็นเครื่องมือในงานไม้ ที่ใช้งานร่วมกับค้อน ใช้ขุดเซาะร่อง ตกแต่งไม้ในการเข้าเดือย ติดบานพับ สายยู ลิ้นชักตู้ หรือโต๊ะ ซึ่งสิ่วที่เรารู้จักนั้นก็มีหลากหลายแบบ แต่ละแบบใช้งานอย่างไร? ตาม KACHA ไปดูกันเลยดีกว่า . . .
สิ่ว จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ตัวสิ่วที่เป็นโลหะ ซึ่งส่วนปลายจะแบน คม คล้ายลิ่ม และมีด้ามจับที่เป็นไม้ หรือพลาสติก โดยทั่วไป สิ่วจะใช้ในงานประติมากรรม, แกะสลักไม้, หิน หรือใช้โดยช่างไม้ เพื่อแต่งขอบ และมุมของไม้แต่ละชิ้น ให้ประกอบรวมกันเป็นชิ้นงานได้พอดี
ประเภทของสิ่ว (CHISELS) มีอะไรบ้าง?
สิ่วเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะไม้ แต่งปากไม้ มีหลายชนิด แบ่งได้ตามประเภท ดังนี้
-
สิ่วปากบาง (Parting Chisel)
สิ่วปากบาง เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่งที่ออกแบบใบสิ่ว ให้มีความคมมากกว่าสิ่วเจาะ มุมของใบสิ่ว 25-30 องศา เหมาะสำหรับเจาะ เฉือน แต่งระดับผิวไม้ให้เรียบ
-
สิ่วเจาะ (Mortise Chisel)
สิ่วเจาะ เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งออกแบบใบสิ่ว ไว้ใช้เจาะแต่งไม้ให้เป็นรู มีความคม และแข็งแรง
-
สิ่วเล็บมือ (Gouge Chisel)
สิ่วเล็บมือ เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งออกแบบ ให้ใบสิ่วคล้ายเล็บมือ จึงเรียกว่า สิ่วเล็บมือ ใช้สำหรับเจาะ, เฉือน, แชะ ตกแต่งผิวไม้ให้เป็นร่องโค้งมน หรือกลม สิ่วเล็บมือ มี 2 แบบ คือ แบบมุมโค้งภายนอก และ แบบมุมโค้งภายใน
วิธีการใช้สิ่ว เพื่อความปลอดภัย
- การใช้สิ่วทุกชนิดในการทำงาน จะต้องจับด้ามสิ่วให้กระชับ และตรงกับรอยที่ต้องการเจาะ หรือตกแต่ง
- การตอกสิ่ว เพื่อเจาะชิ้นงาน ควรให้สิ่วกินเนื้อไม้ แต่เพียงเล็กน้อย จนครอบคลุมร่องที่จะเจาะแล้ว จึงทำการเจาะ ทั้งนี้ การเจาะแต่ละครั้ง ไม่ควรเจาะให้ลึกทีเดียว เพราะจะทำเกิดอันตรายได้
- การใช้สิ่วปากบาง ตกแต่งชิ้นงานต้องแน่ใจว่าชิ้นงานที่จะปฏิบัติปราศจากเศษโลหะ หรือตะปู ซึ่งจะทำให้ปากสิ่วบิ่น หรือหักได้ และอาจทำให้เกิดอันตราย
- ไม่ควรนำสิ่ว ไปใช้งานผิดประเภท เพราะอาจทำให้สิ่วเสียหายได้
ข้อปฏิบัติในการใช้งานสิ่ว
- เลือกสิ่วที่ใช้ ให้มีขนาดตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
- สิ่วที่ใช้ ต้องมีความคม
- ก่อนใช้สิ่วสกัด ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีนอต, ห่วง, ตะปู, สกรู หรือสิ่งอื่น ๆ ก่อนการใช้สิ่ว
- ควรให้เศษของชิ้นงาน จำพวกเศษไม้ ให้กระเด็นออกจากตัวขณะสกัด
- ไม่ควรใช้ค้อนเหล็ก ตอกสิ่วในการสกัด ควรใช้ตะลุมพุก หรือค้อนไม้ หรือพลาสติกแทน
- เลือกใช้สิ่วที่มีด้ามเป็นเหลี่ยมเรียบ ไม่มีเสี้ยน และยึดติดแน่นกับแกนของสิ่ว
- เมื่อสิ่วมีการชำรุด หรือหัก,งอ, บิ่น ควรเปลี่ยนทันที ไม่ควรนำมาใช้
การรักษาสิ่ว
- อย่าใช้สิ่วตัด หรือสกัดสิ่งอื่นใดนอกจากไม้
- อย่าใช้สิ่วในการอื่น เช่น งัดหรือตอก ใช้แทนไขควง ใช้ขูดสี ใช้งัดเปิดกระป๋องสี
- อย่าใช้สิ่วที่มีด้ามบาน ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วควรทำการแก้ไขอุปกรณ์ช่าง โดยขัดด้วยตะไบหรือลับ
- อย่าเจียรสิ่วเพื่อปรับแต่ง ให้เปลี่ยนมาใช้หินลับแทน
- เก็บปลายสิ่วด้วยปลอกพลาสติก หรือ ม้วนใส่กับผ้า แล้วเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย
- ลับคมสิ่วให้คมอยู่เสมอ ตามมุมคมของใบสิ่ว 20 – 30 องศา การลับคมสิ่ว ให้ล้บด้วยหินที่ใช้กับสิ่วโดยเฉพาะ
- ทำความสะอาดสิ่ว ให้ชโลมน้ำมันเครื่องชนิดใส ก่อนนำไปจัดเก็บในแผงเครื่องมือ
❝ สิ่วนั้นมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป เพียงแค่เรา เลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การใช้งานให้ถูกต้อง รู้จักเก็บรักษาสิ่ว และข้อปฏิบัติการใช้งาน เครื่องมือช่างต่าง ๆ ก็จะสามารถใช้งานไปได้อีกนาน หวังงว่า บทความนี้จะทำให้หลาย ๆ คนรู้จัก และเข้าใจสิ่วแต่ละชนิดไม่มากก็น้อย ???? ❞