“หลังคาเมทัลชีท” ข้อดี-ข้อเสีย เป็นอย่างไร ดีกว่า หลังคากระเบื้อง จริงหรือ?
ไม่มีใครไม่รู้จัก หลังคาเมทัลชีท อย่างแน่นอน เรียกได้ว่า ได้รับความนิยมในการใช้งานจากทั่วโลกมานานนับร้อยปี โดยเฉพาะในกลุ่มงานอุตสาหกรรม โรงงาน หรืออาคารสำเร็จรูปที่ต้องการความรวดเร็วในงานก่อสร้าง นิยมนำประโยชน์ของเมทัลชีทมาใช้ห่อหุ้ม ทั้งส่วนหลังคา และผนังอาคาร ได้รับความนิยมสูงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของวัสดุหลังคากระเบื้องก็ว่าได้
บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักหลังคาเมทัลชีท ให้มากขึ้นกัน ว่ามี ข้อดี-ข้อเสีย และการใช้งานอย่างไร?
รู้จัก หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet)
แผ่นโลหะที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ เช่น เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม ฯลฯ เอามารีดเป็นแผ่นลอน ๆ ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้ นิยมใช้เป็นหลังคา กั้นผนัง รวมถึงนำมาขึ้นรูปเป็นบานเกล็ดครอบมุมต่าง ๆ
แผ่นเมทัลชีท ก่อนเอามารีดลอน หรือขึ้นรูป จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- แผ่นเคลือบอลูซิงค์ (Aluzinc) เป็นการเอาเหล็ก มาเคลือบสาร ที่มีส่วนผสมหลักเป็น สังกะสี (Zinc) และอลูมิเนียม เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากการเป็นสนิม และแลดูสวย เงางามกว่าการเคลือบสังกะสีอย่างเดียวเหมือนแผ่นสังกะสีทั่ว ๆ ไป
- แผ่นเคลือบสี เป็นการเอาเหล็กมาเคลือบ อลูซิงค์ (Aluzinc) หรือเคลือบสังกะสี (Zinc) อย่างเดียว ก่อนที่จะเคลือบสีให้สวยงามทับไปอีกครั้งหนึ่ง
คุณสมบัติของหลังคาเมทัลชีท มีอะไรบ้าง?
คุณสมบัติเด่น ของหลังคาเมทัลชีท ที่หลังคากระเบื้องไม่สามารถทำได้ คือ
- เมทัลชีท มีความยาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืน
หลังคาเมทัลชีทนั้น เป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถผลิตให้มีความกว้างยาวได้ สามารถลดปัญหาจุดรอยต่อ จุดรั่วซึมไปได้อย่างมาก ดีกว่าหลังคากระเบื้อง ที่ออกแบบเป็นแผ่นเล็ก ๆ วางซ้อนทับกันตลอดทั้งผืนหลังคา ทำให้อาจเกิดข้อบกพร่องในงานก่อสร้าง ที่อาจเกิดรอยต่อรั่วซึมภายหลังได้
- เมทัลชีท สามารถคายความร้อนได้ดี
หากเปรียบเทียบในด้าน การระบายความร้อน วัสดุเมทัลชีท จะสามารถคายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง สามารถกันความร้อนได้ดีกว่าวัสดุประเภทโลหะ ที่มีคุณสมบัตินำความร้อน จะเห็นได้ว่า หลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ความร้อนที่สะสมภายในบ้าน จะถูกคายออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจาก หลังคากระเบื้องคอนกรีต ที่มีคุณสมบัติอมความร้อน บ้านที่ใช้หลังคากระเบื้อง จึงเย็นช้ากว่า หลังคาเมทัลชีทนั่นเอง
- เมทัลชีท สามารถออกแบบให้ยื่นยาวได้
การออกแบบหลังคารูปทรงไทย เช่น ปั้นหยา จั่ว โดยปกติจะออกแบบให้มีชายคา ยาวออกไปประมาณ 1 เมตร เพราะหากยาวเกินกว่านั้น โครงสร้างหลังคาจะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างเพิ่มเติม เพื่อมารองรับน้ำหนักหลังคาที่ยื่นยาวออกไป ซึ่งหลังคาเมทัลชีท มีน้ำหนักเบา สามารถทำชายคายื่นยาวได้แบบสบาย ๆ ได้
- เมทัลชีท สามารถรองรับองศาที่ต่ำได้
หลังคาเมทัลชีทนั้น สามารถออกแบบรูปทรงหลังคาต่ำได้ สามารถรองรับความชันเพียง 4-5 องศา สำหรับรุ่นธรรมดา และต่ำสุด 2 องศา สำหรับรุ่นที่ออกแบบมาพิเศษ เป็นแผ่นเดียวกันทั้งผืน จึงไม่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมเวลาฝนตก โดยที่ หลังคากระเบื้อง ไม่สามารถรองรับองศาต่ำได้ เพราะการติดตั้งที่ต้องซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ หากองศาต่ำมากเกินไป เมื่อฝนสาดลมแรง จะส่งผลให้น้ำไหลย้อนกลับ เป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน
- เมทัลชีท สามารถปรับโค้งได้ตามต้องการ
ด้วยกระบวนการผลิตเมทัลชีท ซึ่งเป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถรองรับกับการบิดงอได้ แตกต่างจากงาน กระเบื้องคอนกรีต ที่ไม่สามารถดัดโค้งได้ จึงทำให้คุณสมบัติเด่นข้อนี้ เกิดวิวัฒนาการด้านดีไซน์ เกิดงานสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ๆ มากมายแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน
- โครงสร้างหลังคาเมทัลชีท เบากว่า หลังคากระเบื้อง
ในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง หลังคาเมทัลชีทจะช่วยลดภาระการแบกรับน้ำหนัก ทำให้งบประมาณในงานก่อสร้างถูกกว่า หลังคากระเบื้อง เพราะน้ำหนักของกระเบื้อง ที่ผลิตจากคอนกรีต ทำให้โครงสร้างหลังคา และโครงสร้างอาคาร ต้องแบกรับน้ำหนักมากกว่าหลังคาเมทัลชีทนั่นเอง
- เมทัลชีท ช่วยประหยัดเวลาก่อสร้าง จบงานไว
เพราะด้วย หลังคาเมทัลชีทมีขนาดใหญ่ เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั้งผืน เพียงแค่วาง และติดตั้ง ก็สามารถก่อสร้างเสร็จ ในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าเปรียบเทียบกับการปูกระเบื้องหลังคา แผ่นหลังคากระเบื้องมีขนาดเล็ก ต้องมีความปราณีต ชำนาญในการเรียงกระเบื้องทีละแผ่นซ้อนทับกันจนจบงาน ไม่อย่างนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลังได้
วิธีติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท
- การยึดติดแผ่นหลังคาเหล็กติดกับแป โดยการยึดด้วยสกรู แต่มีข้อควรระวัง คือ การรั่วซึมจากรอยเจาะของสกรู
- การยึดติดแผ่นหลังคาเหล็กติดกับโครงหลังคาคลิปล็อก จะใช้การยิงสกรูยึดขา Connector กับแป จากนั้นจึงกดแผ่นหลังคาเมทัลชีทลงกับขา Connector ทุกสันลอน หากมองจากด้านบนหลังคา ก็จะไม่สามารถเห็นสกรู มีส่วนช่วยลดในการรั่วซึม
- การยึดติดแผ่นหลังคาเหล็กติดกับโครงหลังคา โดยวิธีซีมล็อก หรือระบบรีดตะเข็บ การยึดแผ่นหลังคาแบบหนีบเข้าล็อกกับขา Connector โดยยิงสกรูยึดขา Connector กับแป จากนั้น กดแผ่นเมทัลชีทให้ลงล็อกกับหัว Connector แล้วใช้ เครื่องซีมเมอร์ หนีบแผ่นเมทัลชีทให้แน่นอีกที ซึ่งจะมีความแข็งแรงกว่าระบบคลิปล็อก
สำหรับหลังคาเมทัลชีทระบบซีมล็อก มีลักษณะลอนเป็นหลังคาลอนสูง จะระบายน้ำฝนได้ดีเยี่ยม หมดปัญหาเรื่องการรั่วซึม เนื่องจากสกรูจะซ่อนอยู่ด้านล่างแผ่น ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาระบบแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท จึงช่วยเพิ่มความสวยงามให้เพิ่มมากขึ้นจากรูปแบบเดิม ๆ บ้านที่ใช้แผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท จึงทันสมัย และไม่รั่วซึม
หลังคาเมทัลชีท กับ หลังคากระเบื้อง ต่างกันอย่างไร?
อย่างที่รู้กันว่า หลังคาเมทัลชีทและหลังคากระเบื้อง จะมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้
จบไปแล้วกับ หลังคา เมทัลชีท ที่เรานำมาฝากกัน มีคุณสมบัติเด่น ๆ มากมายเลยใช่ไหม อย่างไรก็ตามหลังคาเมทัลชีท ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้ง หลังคากระเบื้อง ก็มีข้อดีต่าง ๆ ที่หลังคาเมทัลชีทไม่มีเช่นกัน การเลือกใช้วัสดุหลังคา จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์หาข้อมูลความต้องการอย่างละเอียด เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบ้าน หรือก่อสร้างโกดัง โรงงาน คลังสินค้าต่าง ๆ ด้วย
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- วัสดุมุงหลังคา เลือกแบบไหนให้เหมาะสม?
- ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท
- โครงหลังคา องค์ประกอบสำคัญในการสร้างบ้านที่ต้องรู้!
- หลังคาไวนิล และ หลังคาสแตนเลส ข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
- รู้จักกับ หลังคาโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดจริงไหม? เหมาะกับบ้านแบบไหน?
- How to เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ประหยัดงบค่าแรงช่าง
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th