“เชือกโรยตัว” สำหรับการทำงานบนที่สูง คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร?
อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เรามักจะเคยเห็นกัน สำหรับงานทำความสะอาดบนที่สูง อาคารสูง นั่นก็คือ “เชือกโรยตัว” เป็นอุปกรณ์สำหรับทำงานบนที่สูง เพื่อช่วยชีวิต หรือป้องกันการตกเวลาทำงานบนที่สูง บทความนี้ KACHA จะพาไปทำความรู้จักกับ เชือกโรยตัว พร้อมคุณสมบัติต่าง ๆ ก่อนเลือกไปใช้งาน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดู
ประเภทของเชือกโรยตัว
เชือกโรยตัวในการกู้ภัยปัจจุบัน ถูกออกแบบมาในลักษณะ เคินเมนเทิล (Kern Mantel) ประกอบด้วย เส้นใยที่ถูกบิดเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นแกนในที่แข็งแกร่ง เรียกว่า เคิน จะถูกหุ้มด้วยปลอกรอบนอก เรียกว่า เมนเทิล ทำหน้าที่ป้องกัน และเพิ่มความทนทานให้กับเชือก และเชือกที่ผลิตในอเมริกา ปลอกเชือก จะมีความหนา มากกว่าเชือกที่ผลิตในยุโรป จะช่วยเพิ่มความทนทาน ต่อการเสียดสีได้ดีกว่านั่นเอง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- แบบยืดตัว (Dynamic rope) มักจะนิยมใช้สำหรับนักปีนเขา มีคุณสมบัติในการขยายตัว และชะลอแรงตก เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันนักปีนเขาจากการหล่นร่วง
- เชือกแบบคงตัว (Static rope) มีคุณสมบัติแตกต่างจากเชือกยืดตัวอย่างสิ้นเชิง เพราะตัวเชือก จะไม่ยืดตัวเลย หรือยืดได้ไม่เกิน 10% เพื่อให้เกิดการทรงตัวที่ดีที่สุด เมื่อนำไปยกของหนัก เชือกจะไม่ยืดตัวขณะยก ทำให้ยกวัตถุได้ทันที ดังนั้น ห้ามนำ เชือกแบบยืดตัว ไปใช้ในงานโรยตัว หรือกู้ภัยเด็ดขาด
เชือกโรยตัวที่ดี ต้องเป็นอย่างไร?
- ต้องมีมาตรฐานเช่น มาตรฐาน CE EN1891 และมาตรฐาน ISO 9002
- ต้องผลิตจากวัสดุอย่างดี เช่น ผลิตด้วยเชือก Static จากเส้นใย Polyamide
- ต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบเฉพาะ พร้อมทั้งมีการจดสิทธิบัตร โดย Singing Rock
- ต้องสามารถรับแรงดึงได้มาก เช่น รับแรงดึงได้ถึง 2500 กก.
- ต้องทนทานต่อแรงฉีกขาด ทนต่อความร้อน และทนต่อรังสียูวีได้
- ต้องไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า และไม่ลามไฟ ไม่เปื่อย หรือขึ้นราง่าย
ประเภทเงื่อน ที่ใช้สำหรับโรยตัว
งานโรยตัว เป็นงานเสี่ยงอันตราย ตามกฎหมายพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การใช้เงื่อน เพื่อการโรยตัวที่ถูกวิธี มีอยู่ 2 ชนิด คือ
-
เงื่อน Munter Hitch
บางคนอาจจะเรียก Italian Hitch เป็นวิธีการผูกเงื่อนที่นิยมใช้ทั่วไปในงานโรยตัว สามารถใช้ควบคุม หรือผ่อนน้ำหนักผ่านแรงเสียดทานภายในของตัวเงื่อน ชะลอการโรยตัวลงให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้โรยตัว จะสามารถคุมเชือก ดึงเชือก ผ่อนเชือกได้ด้วยตนเอง และสลับฝั่งในการดึงได้ แต่มีข้อระวัง คือ เชือกจะบิด หรือตีเกลียวได้ง่าย ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
-
เงื่อน Super Munter Hitch
มีความคล้ายกับเงื่อน Munter Hitch จะมีลักษณะเหมือนการผูก Munter Hitch แต่เป็นการผูกเชือกกลับบนตัวเงื่อนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดทานได้มากกว่าเงื่อน Munter Hitch แบบชั้นเดียว สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า และเมื่อเชือกวิ่งผ่านตัวมันเองในทิศทางย้อนกลับครั้งที่ 2 จะส่งผลให้เกิดการคลายการบิดเกลียวของเชือกโดยอัตโนมัติอีกด้วย
การโรยตัว VS ใช้รถลิฟท์กระเช้า หรือรถเครน ต่างกันอย่างไร?
การใช้ลิฟท์กระเช้า หรือรถเครน เป็นหนึ่งในวิธีการทำงาน ทำความสะอาด ซ่อมบำรุงอาคารสูง พื้นที่สูง เป็นการประยุกต์ใช้ลิฟท์กระเช้าของรถเครนยกขึ้นในมุมสูง แล้วทำความสะอาดไล่ระดับลงมา
เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการโรยตัวแล้ว การโรยตัวเช็ดกระจก ทาสีอาคาร หรือซ่อมรอยร้าว เป็นวิธีที่มีความรวดเร็ว ยืดหยุ่นกว่า ไม่ต้องใช้พื้นที่มากเหมือนการใช้ลิฟท์กระเช้า หรือรถเครน สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และพื้นที่แคบได้ดีกว่า คล่องตัวกว่า ไม่มีข้อจำกัดด้านความสูง และสภาพอากาศ จึงกล่าวได้ว่า การใช้ เชือกโรยตัว โรยตัวเช็ดกระจก ทาสี ซ่อมรอยร้าว จึงมีความรวดเร็ว ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการใช้ลิฟท์กระเช้า หรือรถเครนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูง ควรได้รับการอบรมการโรยตัว เรียนโรยตัวทำงาน ด้วยหลักสูตรมาตรฐานทำงานด้วยระบบเชือกโรยตัวตามมาตรฐานสากลด้วย เพื่อความปลอดภัย และการป้องการตัวในกาปฏิบัติงาน
ข้อควรระวังในการใช้เชือกโรยตัว
- ผู้ปฏิบัติงานต้องมีทักษะการทำงานตามมาตรฐานผ่านการอบรมโรยตัว
- มีค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน
- ผู้ควบคุมงานด้วยระบบเชือก จะต้องมีประสบการณ์ ในการวางแผนการทำงาน และแผนฉุกเฉิน เป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติงาน
การเก็บรักษาเชือกโรยตัว
- ควรเก็บไว้ในที่เย็น และแห้ง ปราศจากน้ำ หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ทำอันตรายต่อเชือกได้กัดกร่อนเชือก
- เก็บเชือกไว้ในถุงเก็บเชือก ไม่ต้องขดเป็นเกลียว เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของเชือกสั้นลง
- หากไม่มีถุงเก็บ สามารถขดเชือกเป็นวง เรียกว่า Mountaineering-style และนำไปแขวนไว้กับเสา วิธีนี้ลมจะพัดผ่านรอบ ๆ เชือก เป็นการป้องกันความอับชื้น และเชื้อรา
- หากแขวนเชือกที่เสา เสาที่แขวนเชือกควรทำด้วยพลาสติก เสาไม้ หรือโลหะ
- ไม่ควรวางเชือกให้สัมผัสโดยตรงกับคอนกรีต เพราะคอนกรีตมีสภาพเป็นกรด ทำ ให้เชือกสกปรก และเสื่อมสภาพได้ง่าย
จบไปแล้วความรู้เรื่อง เชือกโรยตัว พอจะเป็นสาระดี ๆ ให้แ่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยใช่ไหม อย่างไรก็ตามก่อนเลือกไปใช้งาน อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล และวิธีการใช้งานให้ดีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รอก คืออะไร แยกได้กี่ประเภท?
- ประเภทของ “เครน” เลือกใช้งานให้เหมาะสม!
- รูปแบบและการใช้งาน “ลวดสลิง”
- รถกระเช้า มีกี่ประเภท? การเลือกใช้งานเป็นอย่างไร?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th