แม่แรง เครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับทุกอย่าง ตั้งแต่การยกรถไปจนถึงการยกบ้าน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อให้ในการซ่อมแซมรถเป็นของตัวเอง หรือมีติดรถไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉิน โดยแม่แรงมีหลายรูปแบบ บางรุ่นออกแบบมาเพื่อให้รับน้ำหนักได้เยอะ บางรุ่นออกแบบให้มีขนาดเล็ก เพื่อสะดวกในการพกพา ไปทำความรู้จักกับ “แม่แรง” ว่ามีกี่ประเภท และเหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง ตามไปดูกันเลย
แม่แรง คืออะไร?
แม่แรงยกรถ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อยกรถขึ้นจากพื้น มีแม่แรงรถหลายแบบให้เลือก แม่แรงบางตัวเป็นแบบระบบกลไก ในขณะที่บางตัว เป็นระบบไฮดรอลิก แม่แรงระบบกลไก ส่วนใหญ่ใช้สกรู หรือคันโยก ที่ต้องหมุนเพื่อใช้งาน แม่แรงระบบไฮดรอลิก ใช้กระบอกไฮดรอลิกที่เต็มไปด้วยแรงดัน เพื่อสร้างแรงเพียงพอที่จะยกของหนัก ในขณะที่แม่แรงทำหน้าที่ยกรถจะยกรถขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำเพื่อรับน้ำหนักไว้ จะต้องมีขาตั้งแม่แรงคู่หนึ่งเป็นทำหน้าที่เป็นตัวค้ำ และรับน้ำหนักด้วย
ขาตั้ง เป็นแม่แรงไหม? ขาตั้ง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมา เพื่อรองรับน้ำหนักรถเมื่อยกขึ้นแล้ว แม้ว่าแม่แรงจะช่วยยกของหนักได้ แต่ก็ยังต้องวางขาตั้งให้มั่นคงหากต้องเข้าไปข้างใต้รถ ไม่ควรคลานเข้าไปใต้รถในขณะที่มีแม่แรงเพียงอย่างเดียวชุดยกรถบางรุ่นจะมีทั้งแม่แรงและขาตั้ง หรือซื้อแยกก็ได้ ขาตั้งยกรถ จะแตกต่างกันไปตามความจุน้ำหนักและความสูง ความสูงมักอยู่ระหว่าง 13-25 นิ้วซึ่งรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 2-25 ตัน
ประเภทของแม่แรง
แม่แรงยกรถถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ในการซ่อมแซมรถเป็นของตัวเอง หรือมีไว้ติดรถเผื่อในกรณีฉุกเฉิน แต่แม่แรงถูกสร้างออกมาในหลายรูปแบบ บางรุ่นออกแบบมาเพื่อให้รับน้ำหนักได้เยอะ ในขณะที่บางรุ่นออกแบบให้มีขนาดเล็ก เพื่อสะดวกในการพกพา เราสามารถแบ่ง แม่แรง ได้ 2 ประเภท คือ
-
แม่แรงระบบไฮดรอลิก
เป็นระบบที่ใช้น้ำมันไฮดรอลิกเป็นตัวกลางในการช่วยขับแรงดันไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบไฮดรอลิค เช่น กระบอกสูบ และมอเตอร์ไฮดรอลิก ข้อดี คือ สามารถยกงานที่มีน้ำหนักเยอะได้ดี ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องออกแรงมากนัก
-
แม่แรงระบบกลไกล
จะใช้ระบบเพลาขับเฟือง หรือสายพานของเครื่องมือเป็นตัวกลางในการส่งผ่านกำลัง โดยอาศัยการทำงานโดยตรงระหว่างแรงคนและแรงกล ข้อเสีย คือ รับน้ำหนักได้น้อย ต้องออกแรงมากขึ้นในการยกน้ำหนัก ข้อดี คือ ดูแลรักษาง่ายพกพาสะดวก
แม่แรงที่เราเห็นทั่วไป มีกี่แบบกันนะ?
แม่แรงยกรถ แบบกรรไกร (Scissor Jack)
แม่แรงยกรถแบบกรรไกร เป็นตัวเลือกที่มีราคาประหยัด และมีน้ำหนักเบาที่สุด แม่แรงชนิดนี้ ใช้มือหมุนเพื่อยกรถขึ้นในระยะเล็ก ๆ ตั้งแต่ 15-30 นิ้ว คุณต้องวางตำแหน่งแม่แรงไว้ใต้จุดที่ใช้ยกและหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อยกรถขึ้น หากต้องการลดลงให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา เมื่อเทียบกับแม่แรงไฮลิฟต์แล้วแม่แรงแบบกรรไกรจะมีขนาดเล็กกว่ามาก
เหมาะสำหรับงานแบบไหน?
- การเปลี่ยนยาง
- การบำรุงรักษา และซ่อมแซมยานพาหนะเล็กน้อย
แม่แรงตั้งพื้น (Floor Jack)
แม่แรงแบบตั้งพื้น เป็นแม่แรงทั่วไปที่คนส่วนใหญ่พบเห็น เป็นแม่แรงไฮดรอลิก ที่ใช้กระบอกสูบแนวนอน และคันโยกในการทำงาน เมื่อเทียบกับแม่แรงแบบกรรไกรแล้ว แม่แรงตะเข้ เป็นตัวเลือกที่รวดเร็วและปลอดภัยกว่า เป็นที่นิยมในหมู่ช่างและผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับรถยนต์ แม่แรงตะเข้สามารถยกรถได้ตั้งแต่ 2-4 ตัน แม่แรงตะเข้จะนอนอยู่ในระนาบเดียวกับพื้นและมีล้อที่สามารถเข็นเข้าในจุดแคบ ๆ ได้อย่างง่ายดาย และเนื่องจากการออกแบบที่มีช่วงตัวยาวนี้ จึงทำให้พกพา หรือจัดเก็บค่อยข้างยุ่งยาก บางรุ่นจะมีเบรคล็อกอัตโนมัติ โดยจะล็อคเมื่อแม่แรงถูกใช้งาน หรือจะปรับล็อคด้วยตนเองก็ทำได้ เหมาะใช้กับดิน หรือพื้นที่ลื่นโดยไม่ต้องกังวลว่าแม่แรงจะลื่นไถล
เหมาะสำหรับงานแบบไหน?
- เหมาะสำหรับยานพาหนะที่มีพื้นที่สูง
- การบำรุงรักษา และซ่อมแซมยานพาหนะ และอุปกรณ์
แม่แรงแบบกระปุก (ฺBottle Jack)
เป็นแม่แรงไฮดรอลิกอีกตัวหนึ่ง แม่แรงแบบกระปุก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันทั่วไปในงานยานยนต์ อาจมีที่จับปั๊ม หรือที่ยึดเครื่องอัดอากาศ เป็นแม่แรงขนาดเล็กที่ใช้ในงานช่าง และซ่อมบำรุงรถยนต์ต่าง ๆ ที่ไม่หนักเกินไป สามารถทำการยกหรือดันก็ได้ มีให้เลือกหลายขนาดตามลักษณะของงานที่จะซ่อม สามารถยกได้ระหว่าง 4-50 ตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น
เหมาะสำหรับงานแบบไหน?
- ซ่อมยานยนต์
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่มีระยะห่างสูง
- งานการก่อสร้างขนาดกลางถึงหนัก
สินค้า แม่แรงกระปุก จากแบรนด์ kacha ยกรถตั้งแต่ 1-100 ตัน แข็งแรง ใช้งานง่าย ปลอดภัย ได้มาตรฐาน รับประกันสินค้าทุกชิ้น
แม่แรงยกพาเลท (Forklift Jack)
แม่แรงยก หรือที่เรียกว่าแม่แรงพาเลทลักษณะนี้ จะทำงานในความสามารถใกล้เคียงกับแม่แรงตั้งพื้น และแม่แรงขวดถ้ารวมกัน มีด้ามจับเหล็กออกแบบให้สูงขึ้น และก้านกดค่อนข้างยาวกว่าแม่แรงขวดมาตรฐานเล็กน้อย สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 8800 ปอนด์ ได้อย่างง่ายดาย
เหมาะสำหรับงานแบบไหน?
- คลังสินค้า
- การจัดส่ง และรับสินค้า
ข้อควรระวังในการใช้แม่แรง
เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน มีดังนี้
- ถ้าจะใช้ฐานรองแม่แรง ควรคำนึงถึงน้ำหนักของที่จะยกเป็นสำคัญ ไม่ควรเป็นอุปกรณ์ที่แตกหักง่าย เช่น อิฐแดง หินปูน หรือไม้อัด เป็นต้น
- ระวังแม่แรงล้ม หรือเคลื่อนที่ขณะยกรถขึ้นด้วยแม่แรง ให้เลื่อนเกียร์รถมาอยู่ในตำแหน่ง P พร้อมดึงเบรกมือไว้ และหาที่กั้นล้อ เพื่อป้องกันรถไหล หรือรถหล่นจากแม่แรง
- ไม่ควรขึ้นแม่แรงค้างไว้นาน ๆ ควรหาสามขาค้ำยันมารองอีกขั้น เพื่อป้องกันการไหลของแม่แรง
- ควรใช้แม่แรงให้ถูกประเภทกับลักษณะงาน ไม่ใช้แม่แรงยกขนาดเล็กยกของที่มีน้ำหนักมาก เพราะจะทำให้แม่แรงชำรุด และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้แม่แรงที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าหลาย ๆ คนคงจะเข้าใจ และเลือกใช้ได้อย่างปลอดภัย จำไว้ว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บทความหน้าเราจะมีสาระดี ๆ อะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติม :