ไม้อัด มีกี่ประเภท? นำไปใช้ตกแต่งบ้านอย่างไร
เมื่อพูดถึง ไม้อัด (Plywood) ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก คือวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่น ที่เกิดจากนำเศษไม้ที่เหลือจากการแปรรูปซึ่งอาจต้องนำไปทิ้ง มาผสมกับวัสดุประสาน และอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแรงดันสูง ให้มีขนาดและความแข็งแรงเพื่อที่จะสามารถนำกลับมาใช้งานต่อได้ และไม้อัดนั้นมีกี่ประเภทกันนะ? ควรเลือกใช้งานแบบไหนดี? ในบทความนี้ KACHA จะขอพาไปทำความรู้จักกับไม้อัดกันดีกว่า ????
ไม้อัด (Plywood) คืออะไร?
ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้บางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรง ดันนั้นนอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย
ไม้อัด คือแผ่นไม้บางที่ประกอบกันตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไปเท่านั้น หรือ มีขนาดมาตรฐาน กว้าง 4 ฟุต (1220 มม.) ยาว 8 ฟุต (2440 มม.) และมีความหนาให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 3, 4, 6, 10, 15 และ 20 มม. แต่ความหนาของไม้อัดนั้น จะไม่ตรงกับขนาดที่ระบุเสมอไป เช่น ไม้อัดหนา 20 มม. อาจจะมีความหนาจริงแค่ 17 มม. เท่านั้น ดังนั้นการใช้ไม้อัดควรคำนึงถึงความหนาจริงของไม้ด้วย
ประเภทของ ไม้อัด (Plywood) มีอะไรบ้าง?
1. ไม้อัดแบบแบ่งตามกาวที่ใช้
ประเภทภายนอก ใช้กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ เช่น ทนต่อน้ำ, น้ำทะเล, ละอองน้ำร้อน, ละอองน้ำเย็น ทนต่อความชื้นอากาศ เช่น น้ำเดือด, ไอน้ำ และความร้อน-แห้งได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ นิยมใช้ในงานก่อสร้าง งานป้ายโฆษณากลางแจ้ง, งานแแบบก่อสร้าง, งานพื้นเวทีการแสดง, งานก่อสร้างริมทะเล, งานเฟอร์นิเจอร์, ผนังกันห้อง ใช้งานในเรือเดินทะเล ประโยชน์ใช้งานหลากหลาย จึงเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะงานแบบหล่อคอนกรีตและต่อเรือ
2.ไม้อัดกันน้ำ
ไม้อัดกันน้ำ คือแผ่นไม้สน (pine wood) และไม้ยาง (rubber wood) แผ่นบาง นำมาอัดสลับชั้น ประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว ลักษณะสำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรง ของไม้อัด มีความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน แรงดัดตัว คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร และลดการขยายตัว-หดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด
3.ไม้อัดฟิล์ม
ไม้อัดฟิล์ม ผลิตจากแผ่นไม้สน (pine wood) และไม้ยาง (rubber wood) แผ่นบาง นำมาอัดสลับชั้น ยึดติดกันด้วยกาว แล้วปิดผิวไม้ด้วยฟิล์ม Phenolic หรือ Melamine สีน้ำตาล หรือสีดำ ฟิล์มชนิดนี้กันน้ำ ละอองน้ำร้อน ละอองน้ำเย็น น้ำทะเล และกันความชื้นสูงได้ดี เป็นฟิล์มลื่นเงา ไม่เกาะปูน คอนกรีต ผิวของไม้อัดเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มบาง ๆ อัดด้วยความร้อนสูง มีความลื่น จึงสามารถนำมาใช้ในงานหล่อแบบได้จำนวนหลายครั้งต่อหนึ่งหน้า
ไม้อัดเคลือบฟิล์มน้ำตาล-ดำ จึงได้รับความนิยม ใช้ในงานแบบก่อสร้าง งานต่อเรือ ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรงของไม้อัด ความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน (Shear force) แรงดัดตัว (Bending force) คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร ลดการขยายตัวและหดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด
กรรมวิธีการผลิตไม้อัด เป็นแบบไหนกัน?
จะแบ่งเป็นเกรด A (ไม้อัดบางนา), B (ไม้อัดโรงใหม่) และ C (ไม้แบบ) ดังนี้
1. | เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม |
2. | ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บาง ๆ เรียกว่าวีเนียร์ ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 มม. |
3. | นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไป |
4. | ขั้นตอนนี้จะนำวีเนียร์ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1240 มม. ความยาวประมาณ 2450 มม. และหน้ากว้างประมาณ 2450 มม. ความยาวประมาณ 1240 มม. **โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำ ๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้ |
5. | นำวีเนียร์ที่ได้ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้น ๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน **การวางสลับลายระหว่างชั้นนั้น เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ |
6. | นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ไปขึ้นเครื่องอัดแรงดันสูง (Hot Press) เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาวนั่นเอง |
เครื่องอัดแรงดันสูง (Hot Press) เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป)
การอัดทับลงไป ทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อวีเนียร์ ซึ่งคำนวนเป็นค่ายุบตัวมาตรฐานค่อนข้างยาก สำหรับวัตถุดิบทางธรรมชาติ ทำให้แผ่นไม้อัดที่ผลิตออกมา ค่าความหนาไม่ค่อยคงที่
การนำไปใช้งานของไม้อัด (Plywood)
ไม้อัดในปัจจุบันนี้ได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ได้ถูกนำไปใช้สารพัดวัตถุประสงค์ ทั้งยังสะดวกในการใช้งาน และให้ความสวยงามตามลวดลายไม้ที่แผ่นลายไม้นั้น ๆ ซึ่งไม้อัดได้จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood)
- ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood)
- ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood)
วิธีการดูแลรักษาไม้อัด หรือเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้
- ควรจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในจุดที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ปราศจากแมลง เช่น มด ปลวก มอด
- เมื่อเฟอร์นิเจอร์เปียกน้ำควรเช็ดให้แห้งทันที
- ทำความสะอาดด้วยแปรงปัดฝุ่น ผ้านุ่มแห้งเช็ดเบาๆ หากเกิดคราบสกปรกให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำพอหมาด เช็ดทำความสะอาดแล้วตามด้วยผ้านุ่มแห้งเช็ดให้แห้งอีกครั้ง
⚠ ข้อควรระวัง
- ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่แสงแดดแรง ความชื้นสูง ใกล้ห้องน้ำ หรือใต้แอร์
- ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ไว้ในห้องที่ไม่มีอากาศถายเท หรือ อับชื้นเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
- ไม่ควรนำวัสดุร้อนหรือเย็นจัด วางลงบนเฟอร์นิเจอร์ โดยไม่มีวัสดุรองรับ และหลีกเลี่ยงการขูดขีดจากปากกา และของมีคม
- ไม่ควรนำวัสดุที่แข็งหรือหยาบ, ผ้าเปียก, น้ำยาหรือสารเคมีมาเช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์
- ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไปลงบนเฟอร์นิเจอร์
- เมื่อต้องการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ไม่ควรใช้วิธีการลากหรือผลัก
▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾
จะเห็นได้ว่าหากเลือกใช้งานไม้อัดแต่ละชนิดให้ถูกประเภท ถูกวิธี ก็จะช่วยให้การทำงานง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกผลิตภัณฑ์ไม้อัดจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐานรับรองก็เป็นสิ่งจำเป็นด้วยเช่นกัน หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลายคนได้เข้าใจถึงประเภทและคุณสมบัติต่าง ๆ ของไม้อัดกันมากขึ้น ????