หน้าแรก > หมวดหมู่สินค้า > เครื่องรัดกล่อง เครื่องรัดสายพลาสติก
เครื่องรัดกล่อง เครื่องรัดสายพลาสติก
เครื่องรัดสายพลาสติก เครื่องแพ็คกล่อง จาก Kacha ช่วยการรัดของ แพ็คสินค้า เป็นเรื่องง่าย ความเร็วการผลิตมากถึง 500 กล่อง/ชั่วโมง การใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน พร้อมระบบรัดอัตโนมัติ ปรับเวลาในการรัด ปรับอุณหภูมิ รองรับน้ำหนักมากถึง 80 กิโลกรัม ล้อ 4 ล้อ ติดตั้งระบบล็อคล้อ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ง่ายต่อการแพ็ค มีให้คุณเลือกซื้อถึง 3 รุ่น
ตารางราคา เครื่องรัดสายพลาสติก
เครื่องรัดกล่อง กึ่งอัตโนมัติ |
คุณสมบัติ |
---|---|
|
|
…
1. เครื่องรัดกล่องมีกี่ประเภท?
เครื่องรัดกล่องมือโยก (Manual Strapping Machine) เป็นเครื่องรัดกล่องแบบแมนนวล สะดวกต่อการพกพา ปรับแรงดึงโดยการใช้มือโยก อัตราการรัดประมาณ 50 ครั้ง/ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้) ใช้รัดสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก พื้นที่การทำงานน้อย เช่น ลังพาเลท คอนกรีต เครื่องจักรขนาดใหญ่ ตอบโจทย์การใช้งานในครัวเรือน ธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่ไม่ต้องใช้ความเร็วในการผลิต
เครื่องรัดกล่องกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto Strapping Machine) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเครื่องจักร ช่วยทุ่นแรง เพิ่มความเร็วในการรัดสินค้าได้ดี มีให้เลือกสองแบบ คือ “ทรงสูง” เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา และ“ทรงเตี้ย” เหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ข้อดีของเครื่องรัดกล่องกึ่งอัตโนมัติ คือ รัดสินค้าได้ทุกขนาด ไม่จำกัดความสูง สามารถปรับแรงรัดได้ตามต้องการ อัตราการรัดประมาณ = 1 ครั้ง/3 วินาที กำลังผลิต 300 กล่อง/ชั่วโมง แพ็กสินค้าได้หลากหลายรูปทรง ทั้งกล่อง หีบห่อ ม้วน ท่อ แผ่นไม้ กระเบื้อง ฯลฯ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลาง
เครื่องรัดกล่องอัตโนมัติ (Automatic Strapping Machine) ทำงานโดยใช้ระบบเซ็นเซอร์ ปรับแรงรัดได้ตามต้องการ ตั้งแต่ 0-60 Kgf. มีหลายโหมดการทำงานให้เลือก ทั้งโหมดต่อเนื่อง โหมดแมนนวล และโหมดอัตโนมัติ อัตราการรัด 1 ครั้ง/1.5 วินาที กำลังผลิต 500 กล่อง/ชั่วโมง (เร็วกว่าระบบมือโยก 5-10 เท่า) รัดสินค้าแน่นกระชับ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องแพ็กสินค้าเป็นจำนวนมาก
2. “สายรัด” มีกี่ชนิด เหมาะกับการใช้งานแบบไหน?
- สายรัดโพลีโพรพีลีน (PP) เป็นสายรัดพลาสติกที่ได้ความนิยมมาก เนื่องจากมีราคาถูก เนื้อเหนียว น้ำหนักเบา ทนทาน ยืดหยุ่น ไม่แตกหักง่าย ช่วยคงรูปผลิตภัณฑ์ไม่ทำให้เกิดรอย สายรัดประเภทนี้จะเสียแรงดึงที่ประมาณ 50% (เมื่อดึงให้ตึง) ความกว้างจะอยู่ที่ 9, 12, 15 มม. ความหนาประมาณ 0.65 มม. สามารถพิมพ์ข้อความและโลโก้ทับได้ นิยมใช้รัดลังกระดาษ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สินค้าบริโภคเช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ สินค้าเกษตรกรรม หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่น้ำหนักไม่เกิน 350 กิโลกรัม ใช้งานร่วมกับเครื่องรัดกล่องกึ่งอัตโนมัติ และเครื่องรัดกล่องรุ่นอัตโนมัติ
- สายรัดโพลีเอสเตอร์ (PET) เป็นสายรัดพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงดึง ทนสภาพอากาศ และราคาสูงกว่าโพลีโพรพีลีน ความกว้างของสายจะอยู่ที่ประมาณ 9-25 มม. เหมาะสำหรับงานรัดพาเลท สิ่งของขนาดใหญ่ และสิ่งของที่น้ำหนักมาก เช่น แพ็กท่อน้ำ ไม้ ภาชนะ กล่องลูกฟูก อิฐ หรือสิ่งของน้ำหนักประมาณ 550-1,000 กก. เหมาะกับงานก่อสร้าง ขนส่ง จัดเก็บสินค้าในระยะยาว นิยมใช้งานร่วมกับเครื่องรัดกล่องแบบมือโยก (บางรุ่น) เครื่องรัดสายพลาสติกระบบแบตเตอรี่ และเครื่องรัดสายพลาสติกระบบลม
- สายรัดไฮเดน (HIDEN) สายรัดสีดำหนา ผลิตจากเม็ดพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) มีความเหนียวเป็นพิเศษ ไม่เปราะแตกง่าย เหมาะสำหรับใช้รัดสินค้าบนพาเลทที่ต้องการความยืดหยุ่น นิยมใช้งานร่วมกับเครื่องรัดกล่องมือโยก
- สายรัดไนลอน (NILON) สายรัดไนลอนเป็นสายรัดที่ทนทานและราคาแพงที่สุด นิยมใช้งานในห้องอุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับรัดสินค้าบนพาเลท ทำรางเลื่อน การอัดแท่ง การยกรถ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ไม้แปรรูป ประตูเหล็ก กรอบ อุตสาหกรรมโรงงานตัดเย็บ ฯลฯ
3. วิธีเลือก “สายรัดพลาสติก” ควรพิจารณาจากอะไร?
การเลือกสายรัดพลาสติกให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับ“ขนาด” และ “น้ำหนัก” ของสิ่งของที่ต้องการแพ็ก หากสินค้ามีขนาดใหญ่ ควรเลือกสายพลาสติกที่มีความกว้าง และความหนามากเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนต่อแรงดึง รับน้ำหนักได้มาก ในทางตรงกันข้ามกัน หากสินค้ามีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ควรเลือกสายพลาสติกที่มีความกว้างและหนาน้อยลงมา อย่างไรก็ตาม ควรเลือกสายรัดพลาสติกที่แข็งแรง กำลังแน่นพอที่จะรัดสินค้าในระหว่างการขนส่ง หากต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น ก็อาจจะเพิ่มจำนวนสายรัดต่อกล่องให้มากกว่าปกติ
4. เครื่องรัดกล่องสายรัดด้านในและสายรัดด้านนอก แตกต่างกันยังไง?
ประสิทธิภาพการใช้งาน “ไม่แตกต่างกัน” เครื่องรัดกล่องสายรัดด้านนอก โรลสายรัดอยู่ด้านข้างตัวเครื่อง สามารถถอดเปลี่ยน ร้อยสาย หรือซ่อมแซมได้สะดวกกว่า ส่วนเครื่องรัดกล่องสายรัดด้านใน แม้จะมีความยุ่งยากในการเปลี่ยนสายนิดหน่อย แต่ใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่ามาก ผู้ใช้งานสามารถเลือกตามชอบหรือความเหมาะสมได้เลย
5. “ค่าแรงตึง” ที่เหมาะสม ควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่?
ค่าแรงตึงที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับสินค้าและความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ควรปรับให้หย่อนหรือตึงจนเกินไป สายหย่อนจะทำให้รัดสินค้าไม่แน่นหนา หลุดระหว่างการขนส่ง แต่หากรัดแน่นจนเกินไป อาจทำให้สินค้าเป็นรอย ฉีกขาด บุบ หรือเสียหายได้ ซึ่งเครื่องรัดกล่องที่ดีต้องสามารถปรับค่าแรงตึงได้อย่างอิสระ
- รุ่นกึ่งอัตโนมัติ ปรับแรงตึงได้ ตั้งแต่ 0-45 กิโลกรัมแรง (Kgf.)
- รุ่นอัตโนมัติ ปรับแรงตึงได้ ตั้งแต่ 0-60 กิโลกรัมแรง (Kgf.)
6. ขั้นตอนการเปลี่ยนโรลสายรัด และการร้อยสาย
ค่าแรงตึงที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับสินค้าและความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ควรปรับให้หย่อนหรือตึงจนเกินไป สายหย่อนจะทำให้รัดสินค้าไม่แน่นหนา หลุดระหว่างการขนส่ง แต่หากรัดแน่นจนเกินไป อาจทำให้สินค้าเป็นรอย ฉีกขาด บุบ หรือเสียหายได้ ซึ่งเครื่องรัดกล่องที่ดีต้องสามารถปรับค่าแรงตึงได้อย่างอิสระ
- รุ่นกึ่งอัตโนมัติ ปรับแรงตึงได้ ตั้งแต่ 0-45 กิโลกรัมแรง (Kgf.)
- รุ่นอัตโนมัติ ปรับแรงตึงได้ ตั้งแต่ 0-60 กิโลกรัมแรง (Kgf.)
7. เครื่องรัดกล่องระบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ คุ้มค่าอย่างไร?
- เพิ่มความรวดเร็วในการผลิต : เครื่องรัดกล่องรุ่นกึ่งอัตโนมัติ ให้กำลังผลิต 300 กล่อง/ชม. ส่วนรุ่นอัตโนมัติ ให้กำลังผลิตมากถึง 500 กล่อง/ชม. ระบบการทำงานเสถียร ปรับแรงตึงสายได้อิสระ แพ็กสินค้าไวในเวลาที่สั้นลง ให้กำลังผลิตเร็วกว่าการรัดด้วยมือ 5-10 เท่า
- สินค้าแน่นหนา ปลอดภัยขึ้น: สินค้าด้านในมีความปลอดภัย เคลื่อนย้ายและขนส่งง่ายขึ้น ลูกค้าที่ได้รับของเกิดความพึงพอใจ รักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ได้
- ลดต้นทุนในระยะยาว : ลงทุนครั้งเดียว แต่ลดค่าแรงงานได้ในระยะยาว ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การใช้เครื่องรัดกล่องที่มีคุณภาพ ทนทาน ยังช่วยลดค่าซ่อมบำรุง และค่าเปลี่ยนอะไหล่ได้
8. วิธีดูแลรักษาเครื่องรัดกล่อง ให้ใช้งานได้นาน
- ทำความสะอาดเครื่องรัดกล่องเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ด้วยวิธีการเป่าฝุ่นหรือเช็ดทำความสะอาด เพื่อขจัดสิ่งสกปรก เศษพลาสติกที่สะสมในลูกกลิ้ง ชุดใบมีด และชิ้นส่วนอื่น ๆ ทั้งภายในภายนอก
- ทำความสะอาดหัวฮีตเตอร์ด้วยแปรงทองเหลืองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเชื่อมติดที่สมบูรณ์ รอยซีลสวยงาม
- ควรหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่ใบมีด และบริเวณข้างฝาสไลด์ เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ป้องกันสนิม ลดการสึกหรอ
- เลือกสายรัดพลาสติกที่มีคุณภาพ ไม่ควรใช้เกรดต่ำ หรือไม่ได้มาตรฐาน เพราะนอกจากจะทำให้เครื่องสึกหรอเร็วกว่าปกติแล้ว ยังลดคุณภาของการรัด ทำให้รัดไม่แน่น และไม่คงทนอีกด้วย
- ตรวจเช็กสายพานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่หย่อนหรือตึงจนเกินไป ถ้าพบว่าสายพานเสียหาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันที
- ปิดสวิตซ์ทุกครั้งหลังใช้งาน ไม่ควรเปิดเครื่องรัดกล่องทิ้งไว้ เพื่อประหยัดพลังงาน และยืดอายุฮีตเตอร์
ทำไมต้องเลือก เครื่องรัดสายพลาสติก KACHA
- เครื่องรัดสายพลาสติก มีทั้งรุ่น กึ่งอัตโนมัติ (สายรัดด้านนอก, สายรัดด้านใน) และ รุ่นอัตโนมัติ เลือกได้ตามต้องการ
- ตัวเครื่องจากสแตนเลส และ เหล็กคุณภาพเยี่ยม ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง คงทน อายุการใช้งานยาวนาน
- แพ็กได้ทั้ง กล่องเล็ก กล่องใหญ่ ให้แรงรัด 45 และ 60 kgf. ปรับอุณหภูมิได้อิสระ เลือกสายรัดได้หลายขนาด
- ฟังก์ชันการใช้งานครบ เหมาะสำหรับใช้ แพ็กสินค้า บรรจุลงกล่อง รัดกล่อง รัดสินค้า ให้แน่นหนา
- รุ่นอัตโนมัติ มีลูกกลิ้งทดแรง รัดของหนักให้ง่ายกว่า ช่วยแพ็กของไว ปิดงานเร็ว ไม่ต้องออกแรงเยอะ
- ออกแบบให้ใช้งานง่าย ปุ่มควบคุมต่าง ๆ แยกไว้อย่างชัดเจน มีสัญลักษณ์กำกับ ราคาคุ้มค่า คุ้มราคา
- ความเร็วของการรัด มีความเหมาะสม ไม่เร็วเกินไป มีความแม่นยำ มั่นใจตลอดการใช้งาน
- เสียงรบกวนไม่ดังมาก อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สร้างความรำคาญให้พื้นที่ใกล้เคียง
- กำลังไฟฟ้า พอดีกับตัวเครื่อง ประหยัดพลังงาน บำรุงรักษา และ ทำความสะอาดง่าย
- สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายด้วยล้อ พร้อมระบบล็อคล้อ ตัวเครื่องไม่เคลื่อนที่ขณะทำงาน ปลอดภัยมากขึ้น
- สินค้าได้มาตรฐาน สั่งตรงจากโรงงาน ส่งเคลมได้หากเกิดปัญหา
- ตรวจสอบสินค้าก่อนการจัดส่ง 100% การันตีคุณภาพก่อนถึงมือลูกค้า
- ลูกค้าสามารถตรวจสอบสินค้าได้ด้วยตัวเองก่อนการจัดส่ง
- รับประกันสินค้านาน 1 ปี มีทีมช่าง อะไหล่สำรอง พร้อมบริการ
Review (ลูกค้าใช้งานจริง)
การรับประกัน / บริการหลังการขาย
ประกันศูนย์ไทย 1 ปี โดยทีมช่างผู้เชียวชาญ
ประกันศูนย์ไทย 1 ปี โดยทีมช่างผู้เชียวชาญ
อะไหล่สินค้าพร้อม ไร้กังวลเรื่องอะไหล่หายาก
บริการหลังการขาย ดูแลลูกค้าหากเกิดปัญหา
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ Kacha
เราเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ชั้นวางสินค้า ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม ชั้นเก็บสินค้า อาทิเช่น ชั้นเหล็กฉาก (Standerd) , ชั้นวางของหนัก (Heavy Dety) และชั้นตะแกรงเหล็ก เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบ้าน อาคารพาณิชย์ โกดัง คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า พร้อมบริการหลังการขายครบวงจร